ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
สุขภาพลูกน้อย วัย 6 ปี

สุขภาพลูกน้อย วัย 6 ปี

ระวังอุบัติเหตุทางสมอง

       พัฒนาการของเด็กเมื่อมีอายุ 6 ขวบเต็มแล้ว น้ำหนักเฉลี่ยของเด็กวัยนี้คือ 20 กิโลกรัม ส่วนสูงประมาณ 115 เซนติเมตร ถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสุดท้ายของการเป็นเด็กวัยต้น ที่ย่างเข้าสู่วัยที่จะเจริญเติบโตขั้นต่อไป

       เด็กวัยนี้เต็มไปด้วยพลังในการขับเคลื่อน แม้ดูเหมือนว่าจะพูดรู้เรื่อง และช่วยเหลือตัวเองได้มากก็จริง แต่เด็กยังไม่รู้จักป้องกันตัวเอง และยังไม่รู้จักอันตรายมากพอ เพราะบ่อยครั้งที่ลูกเล่นไม่ระมัดระวัง จนอาจเกิดเหตุร้ายแรงที่ไม่คาดคิด โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่มาเป็นอันดับหนึ่งและส่งผลกระทบต่อสมองเด็กคือ การพลัดตกจากที่สูงแล้วศีรษะกระแทกพื้น จึงต้องเป็นหน้าที่คุณแม่ที่ต้องคอยดูแลระมัดระวัง

 

  • ปลอดภัยในบ้าน : แม้ลูกจะโตแล้ว แต่คุณแม่ก็ยังจำเป็นต้องย้ำเตือนลูกเสมอๆ ถึงจุดต่างๆ ในบ้าน เช่น บันได ตู้เสื้อผ้า ตู้หนังสือ โต๊ะ เตียง เก้าอี้ ว่าเป็นที่ที่ห้ามเล่นผาดโผน ห้ามปีนแล้วกระโดดลงมา แม้ฮีโร่ที่ลูกเห็นในทีวีทำได้ แต่ในชีวิตจริงห้ามทำเด็ดขาด

  • ปลอดภัยนอกบ้าน : ย้ำกับลูกเช่นเดียวกับคำเตือน “ปลอดภัยในบ้าน” ข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ สนามเด็กเล่น บันไดเลื่อน หิ้งวางสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต หรือที่สูงต่างๆ ในขณะเดียวกันลูกก็ต้องอยู่ในสายตาพ่อแม่ด้วยค่ะ เมื่อต้องขึ้น-ลงบันไดเลื่อนควรให้เด็กอยู่ตรงกลางระหว่างพ่อกับแม่ เพื่อกันมือลูกไม่ให้เปะปะจับราวบันได แต่ถ้าไปกัน 2 คน ให้ลูกอยู่ชิดซ้ายด้านใน

  • ปลอดภัยในรถยนต์ : ให้ลูกนั่งที่เบาะหลังและคาดเข็มขัดนิรภัยช่วยลดความรุนแรงหากเกิดอุบัติเหตุ

  • ปลอดภัยเมื่อนั่งรถจักรยานยนต์ : ให้ลูกสวมหมวกนิรภัยขนาดที่เหมาะสมกับศีรษะ เพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะได้รับการกระแทก เพราะเด็กๆ ที่ได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง มักจะเสียชีวิตได้โดยง่าย หรืออาจจะพิการไปตลอดชีวิต

       หากเด็กได้รับบาดเจ็บศีรษะหรือหลังถูกกระแทก แล้วร้องไห้ทันทีและยังรู้สึกตัวดี แสดงว่าสมองไม่ได้รับอันตรายจากแรงกระแทก แต่ให้รีบพาไปโรงพยาบาลทันทีเมื่อเด็กมีอาการดังต่อไปนี้

  • หลังเกิดอุบัติเหตุ เด็กมีอาการซึม โยเยแบบนิ่งๆ หรือไม่รู้สึกตัว แล้วอาเจียน

  • มีบาดแผลเลือดออก ที่ไม่สามารถห้ามเลือดได้

  • แขนขาหัก หรือไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนขาได้

  • อาเจียน

  • แขนขามีความผิดปกติ หลังปฐมพยาบาลแล้ว แม้จะไม่รู้สึกเจ็บบริเวณนั้นก็ตาม

  • มีเลือดออกในตาขาว มีเลือดออกจากจมูก หรือหู เป็นอาการแสดงว่ากระดูกภายในอาจแตกหรือหัก

  • ร้องไห้นานหรือร้องกรี๊ด แสดงว่าอาจเกิดการบาดเจ็บภายในร่างกายได้

       ดูแลสมองลูกให้ปลอดภัย เพื่อจะได้พัฒนาสู่360ºอัจฉริยะรอบด้านอย่างไม่มีปัญหาค่ะ

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

บทความที่แนะนำ

การกระตุ้นพัฒนาการ วัย 6 ปี
โภชนาการลูกน้อย อาหารเด็ก 6 ขวบ
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner