ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
วัคซีนโควิด-19 ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และให้นมบุตรหรือไม่?

วัคซีนโควิดปลอดภัยสำหรับแม่ท้อง - ให้นมบุตรหรือไม่

ปัจจุบันหลาย ๆ คนกำลังทยอยรับวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 กันอย่างต่อเนื่อง เราอาจจะมีคำถามกับวัคซีนตัวใหม่นี้ ว่าจะส่งผลข้างเคียงอะไรกับร่างกายของเราบ้าง ยิ่งในกลุ่มคุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว ก็คงจะกังวลไม่น้อย ว่าควรรับวัคซีนดีหรือไม่

สำหรับการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ สามารถรับวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้ เนื่องจากพบว่าในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดไวรัสโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการเกิดผลการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ เลือดแข็งตัวผิดปกติ ทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น ดังนั้น การรับวัคซีนในคุณแม่ตั้งครรภ์จึงเป็นประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดจากผลข้างเคียงของวัคซีน

แล้วคุณแม่ที่กำลังให้นมลูก จะสามารถรับวัคซีนได้หรือไม่?

เช่นเดียวกันกับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ที่กำลังให้นมบุตร สามารถเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ และไม่ได้มีข้อห้ามฉีดสำหรับคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตร นอกจากนี้ ส่วนประกอบในวัคซีน จะมีโอกาสที่ผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้น้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเลย

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อแนะนำสำหรับการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในคุณแม่ตั้งครรภ์ และให้นมบุตร ดังนี้

 

     1. คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ โดยช่วงเวลาที่ควรฉีดวัคซีน ควรอยู่หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เป็นต้นไป ยกเว้นในกรณีที่มีข้อห้าม เช่น มีอาการรุนแรงจากการฉีดครั้งแรก

     2. แนะนำการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีโอกาสในการติดติดเชื้อได้สูง ได้แก่
               - กลุ่มผู้ตั้งครรภ์ที่มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อได้สูง: บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ตั้งครรภ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูง
               - กลุ่มผู้ตั้งครรภ์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรค จะรุนแรงหากติดเชื้อ: คนอ้วน รวมทั้งคนที่มีโรคประจำตัวอย่าง เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ เป็นต้น

     3. คุณแม่ที่ให้นมบุตรสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ทุกประเภท และหลังการรับรับวัคซีนสามารถให้นมลูกต่อได้เลย โดยไม่ต้องงดนมแม่ หรือปั๊มนมทิ้ง

     4. ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่น ๆ ยกเว้นมีความจำเป็น ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนชนิดอื่น ๆ ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

     5. ผลข้างเคียงของวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์

นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ และให้นมบุตร จะต้องได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ ผลข้างเคียงของวัคซีน ความเสี่ยงที่จะติดโควิด-19 และความรุนแรงของโรคก่อนการตัดสินใจ โดยคุณแม่สามารถรับบริการฉีดวัคซีนได้ที่โรงพยาบาลที่ฝากครรภ์ ทั้งภาครัฐและเอกชน

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร มีความกังวลกับการรับวัคซีนโควิด-19 สามารถขอคำปรึกษา และรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประกอบการพิจารณาในการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 นี้

มาร่วมเป็นครอบครัวเดียวกันกับ Enfa Smart Club พร้อมรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และอ่านบทความดี ๆ สำหรับลูกน้อยแบบนี้ได้ที่นี่ 

อัปเดตข้อมูลเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564

Reference:

          - วัคซีน covid 19 คำถามที่ถามบ่อยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน สำหรับสุภาพสตรี: ยง ภู่วรวรรณ. https://bit.ly/2UdXFXY
          - กรมอนามัย เผยมติประชุมคณะกรรมการอนามัยแม่และเด็กแห่งชาติ “หญิงท้อง–หญิงให้นมลูก” ฉีดวัคซีนโควิดได้ พิจารณาตามความเสี่ยง มีโรคประจำตัว. https://bit.ly/3iW0yHc
          - ประกาศราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ 06/2564 เรื่อง การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในสตรีตั้งครรภ์หรือสตรีให้นมบุตร. https://bit.ly/3wJZieB
          - ข้อควรรู้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในสถานการณ์โรคโควิด 19. https://bit.ly/2SP7R96

บทความที่แนะนำ

7 ขั้นตอน! สอนลูกน้อยล้างมือ ให้ห่างไกลจากไวรัส
โภชนาการเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันลูกน้อย
ชวนคุณแม่เตรียมรับมือกับโรคหน้าร้อนในเด็ก
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner