ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เรียนรู้การเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์

เรียนรู้การเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์

ลูกน้อยของคุณแม่เริ่มดิ้นหรือยังนะ? ไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ลูกคนแรกหรือคนที่เท่าไหร่ก็ตาม การที่ลูกดิ้นก็ทำให้รู้สึกตื่นเต้นได้ทุกครั้ง และยังเป็นสิ่งยืนยันถึงเจ้าตัวเล็กที่กำลังเติบโตอยู่ในครรภ์ของคุณแม่อีกด้วย

ลูกเคลื่อนไหวในท้อง

สำหรับคุณแม่มือใหม่ป้ายแดงนั้น คงต้องใช้เวลาสักหน่อยกว่าจะรู้ว่าสิ่งที่ตนรู้สึกนั้นไม่ใช่ลมในท้อง แต่เป็นการเคลื่อนไหวของเจ้าตัวเล็กในครรภ์ แต่สำหรับคุณแม่ผู้มีประสบการณ์ การแยกแยะความรู้สึกนั้นจะทำได้ดีมากกว่า โดยที่มาของการเคลื่อนไหวนั้นมาได้จากหลายอย่าง ลูกน้อยของคุณแม่อาจจะกำลังยืดตัว พลิกจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง หรือกำลังตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระทบครรภ์ของคุณแม่

อะไรเป็นสาเหตุกันนะ?

โดยทั่วไปแล้วสิ่งที่กระตุ้นให้ลูกน้อยเคลื่อนไหวคือ เพลง แสง การสัมผัส หรืออาหารที่คุณแม่ทานเข้าไป คุณแม่อาจจะสังเกตได้ว่าเจ้าตัวเล็กตอบสนองเมื่อคุณแม่พูดคุยด้วย

  • เพลง มีผลอย่างยิ่งต่อพัฒนาการของลูก ถึงแม้เราจะไม่สามารถยืนยันได้ว่าลูกของคุณแม่จะชอบเพลงคลาสสิคเมื่อคลอดออกมา แต่คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของลูกเมื่อคุณแม่เพิ่มเสียงขณะฟังเพลง ไม่เพียงแต่เพลงจะมีผลในระยะยาวกับลูกเท่านั้น แต่จากการวิจัยของ National Academy of Sciences ระบุว่าลูกน้อยเริ่มมีการเรียนรู้ที่จะจดจำคำต่างๆ ได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

  • เมื่อเริ่มเข้าช่วงสัปดาห์ที่ 26 ของการตั้งครรภ์ ลูกน้อยของคุณแม่จะสามารถลืมตาดวงน้อยๆและกระพริบตาได้ ม่านตาของพวกเขาก็กำลังพัฒนาขึ้นเช่นกัน และลูกก็จะเริ่มทำการตอบสนองต่อแสงที่กระทบครรภ์ แม้ว่าภาพที่พวกเขามองเห็นนั้นจะยังไม่ชัดเจน แต่หากคุณแม่ต้องอยู่ในที่ที่มีแสงจ้ามากๆ มีโอกาสที่ลูกน้อยอาจจะออกท่าทางเพื่อตอบสนองต่อแสงนั้น

  • สัมผัสจากแม่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวของลูกในครรภ์ได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาการเคลื่อนไหวของเด็กในครรภ์นั้น พบว่าลูกจะขยับ แขน หัว หรือปากเมื่อคุณแม่สัมผัสบริเวณท้อง

ลูกดิ้นมากไปหรือว่าน้อยไปกันแน่นะ?

เป็นเรื่องดีที่คุณแม่จะเรียนรู้และสังเกตการณ์ดิ้นของลูกน้อยภายในครรภ์ เมื่อเริ่มเข้าสู่สัปดาห์ที่ 28 หรือช่วงไตรมาสที่ 3 คุณแม่ควรใช้เวลานับจำนวนครั้งการดิ้นของลูกในแต่ละวัน โดยปกติแล้วลูกน้อยในครรภ์จะขยับตัวออกท่าทางประมาณ 10 ครั้งในเวลา 2 ชั่วโมงเมื่อพวกเขาตื่น แต่หากว่าลูกน้อยของคุณแม่ดิ้นมากเกินไปจนผิดสังเกต หรือทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายใจและไม่สบายตัว คุณแม่ลองนั่งพักในที่เงียบๆ และตั้งความสนใจไปที่การดิ้นของลูก หากยังมีความรู้สึกไม่มั่นใจหรือกังวลควรเข้าพบแพทย์ทันที

ลูกเคลื่อนไหวในท้อง

ความเครียดเป็นอีกแรงกระตุ้นที่มีผลให้ลูกลดการเคลื่อนไหว จากการศึกษาภายใต้โครงการศึกษาพัฒนาการของเด็กทารกในครรภ์ของ John Hopkins พบว่า ความรู้สึกทางอารมณ์ของแม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาท การเคลื่อนไหว และการเติบโตของลูกน้อยในครรภ์

เพื่อเป็นการลดระดับความเครียดลง คุณแม่อาจลองการออกกำลังกายประเภทต่างๆ เช่น โยคะ แต่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนแล้ว โดยทำการออกกำลังกายร่วมกับการทำสมาธิให้ผ่อนคลาย ทั้ง 2 อย่างเมื่อทำควบคู่กันจะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพทั้งกายและใจที่สมบูรณ์พร้อม

หากคุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยกว่าที่ควรจะเป็น อย่าเพิ่งตกใจ เพราเวลาส่วนใหญ่ของลูกน้อยในครรภ์หมดไปกับการนอนเช่นเดียวกันกับเด็กทารกหลังคลอด การที่ลูกเคลื่อนไหวน้อยอาจมาจากการที่เค้ากำลังหลับพักผ่อนอยู่ก็ได้ แต่หากว่าระยะเวลานั้นมันนานจนน่าผิดสังเกต คุณแม่ควรเข้าปรึกษาแพทย์ทันที

หากเข้าสู่ช่วงสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่ยังคงไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูก คุณแม่ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจดูสุขภาพ และพัฒนาการของลูกน้อย

จากการวิจัยของวิทยาลัย Royal College สำหรับสูตินารีแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านโรคของสุภาพสตรี กล่าวว่า หากกระดูกสันหลังของคุณแม่มีการวางตัวโค้งไปด้านหน้า การรับรู้ความเคลื่อนไหวของลูกจะเป็นไปได้ยาก จะเห็นชัดเมื่ออัลตราซาวน์เท่านั้น และหากคุณแม่มีน้ำหนักตัวที่มาก (มากกว่า 80 กิโลกรัม) โอกาสที่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกก็เป็นไปได้น้อยตามไปด้วย

ลูกเคลื่อนไหวในท้อง

อย่าลืม เก็บเบอร์ของคุณหมอไว้ใกล้ตัวเพื่อสอบถามข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ หาข้อมูลมาศึกษาเพิ่มเติม ลงทุน และเลือกทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของคุณแม่และลูกน้อย และเตรียมพร้อมเพื่อช่วงเวลาที่คุณแม่จะได้อุ้มเจ้าตัวน้อยไว้เป็นครั้งแรกอีกด้วย

ดาวน์โหลดฟรี! แอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์

หากคุณแม่ต้องการข้อมูล เคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ คำแนะนำด้านโภชนาการ และรับสิทธิประโยชน์เพื่อลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์จนถึง 3 ปี คุณสามารถสมัครสมาชิก Enfa Smart Club ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์ฟรี ที่นี่ Enfa A+ Genius Baby

  • 1 Partanen, E., Kujala, T., Naatanen, R., Liitola, A., Sambeth, A., & Huotilainen, M. (2013). Learning-induced neural plasticity of speech processing before birth. Proceedings of the National Academy of Sciences,110(37), 15145-15150. doi:10.1073/pnas.1302159110

  • 2 You and your baby at 25-28 weeks pregnancy - Pregnancy and baby guide. (2017, February 28). Retrieved Aprl 10, 2017, from http://www.nhs.uk/Conditions/pregnancy-and-baby/pages/pregnancy-weeks-2…

  • 3 Marx, V., & Nagy, E. (2015). Fetal Behavioural Responses to Maternal Voice and Touch. Plos One,10(6). doi:10.1371/journal.pone.0129118

  • 4 Pregnancy—your baby's movements and what they mean. Retrieved 7 June 2017 from http://brochures.mater.org.au/home/brochures/mater-mothers-hospital/pre…

  • 5 Dipietro, J. A., Hilton, S. C., Hawkins, M., Costigan, K. A., & Pressman, E. K. (2002). Maternal stress and affect influence fetal neurobehavioral development. Developmental Psychology,38(5), 659-668. doi:10.1037//0012-1649.38.5.659

  • 6 Royal College of Obstetricians & Gynaecologists. (2011). Reduced Fetal Movements (Green-top Guideline No. 57). Retrieved from https://www.rcog.org.uk/globalassets/documents/guidelines/gtg_57.pdf

  • 7 Tuffnell, DJ, Cartmill, RS, & Lilford, RJ. (1991). Fetal movements; factors affecting their perception. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol., 10: 39(3): 165-7.

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

เรียนรู้การเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner