หลังครบ 3 เดือนของการลาคลอดเพื่อเลี้ยงลูก ในที่สุดก็ถึงวันที่คุณแม่ต้องจากลูกน้อยไปทำงาน คุณแม่จะพบกับปัญหาลูกร้องไห้งอแงในตอนเช้าก่อนคุณแม่ไปทำงาน ซึ่งทำเอาคุณแม่ใจแทบสลายแทบจะไม่อยากไปทำงาน เรามีจะมีวิธีจัดการกับปัญหาลูกร้องไห้งอแงก่อนคุณแม่ไปทำงานอย่างไรมาดูกันค่ะ

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

จัดการอย่างไรเมื่อลูกร้องไห้งอแงก่อนคุณแม่ไปทำงาน

  • ฝึกลูกอยู่กับคนเลี้ยงก่อนกลับไปทำงาน

    คุณแม่ควรฝึกให้ลูกอยู่กับคนที่จะเลี้ยงลูกก่อนจะกลับไปทำงาน เช่น หากลูกอยู่กับพี่เลี้ยงก็เผื่อเวลาให้ลูกได้ทำความคุ้นเคยกับพี่เลี้ยง โดยเริ่มจากให้พี่เลี้ยงมาช่วยเลี้ยงขณะที่คุณแม่อยู่กับลูก พอลูกคุ้น คุณแม่ก็ค่อยๆ ปล่อยให้ลูกอยู่กับพี่เลี้ยงตามลำพัง แล้วก็เพิ่มเวลาให้นานขึ้นๆ จนลูกพร้อมและคุ้นเคยกับการหายไปของคุณแม่

    คุณแม่ต้องบอกและสอนให้พี่เลี้ยงลูกรู้จักอุปนิสัยของลูก กิจวัตรประจำวันในแต่ละวันของลูก เช่น เวลานอน วิธีอุ้ม เพลงที่ร้องกล่อม สิ่งที่ลูกชอบ ไม่ชอบ ฯลฯ และต้องแน่ใจว่าคนที่มาช่วยดูแลลูกจะปฏิบัติต่อลูกเหมือนที่คุณแม่ทำ เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกกับคนเลี้ยง

    ที่สำคัญ คุณแม่ควรแสดงให้ลูกเห็นเป็นประจำว่าแม้คุณหายไปช่วงหนึ่ง แต่ไม่นานคุณก็จะกลับมาหาลูกใหม่ เล่นกับลูก และอยู่กับลูกตลอด ลูกจะได้คุ้นเคย และมั่นใจว่าคุณแม่ไม่ได้ทิ้งเขาไป

  • เล่นกับลูกก่อนออกจากบ้าน

    ก่อนออกจากบ้านในตอนเช้าคุณแม่ควรเล่นกับลูกก่อนเพื่อให้ลูกสบายใจ อาจจะให้คนที่ช่วยเลี้ยงเข้ามาหลอกเล่นด้วย เมื่อลูกเพลิดเพลินคุณแม่ก็ค่อยๆ ออกจากบ้านอย่างเงียบๆ ไม่ให้ลูกเห็น เพราะหากลูกเห็นเขาก็จะร้องไห้ คุณแม่เองก็จะไม่สบายใจเมื่อเห็นน้ำตาของลูก

ตอบสนองต่อเสียงร้องของลูกน้อย
  • เบี่ยงเบนความสนใจลูก

    เด็ก ๆ มักจะตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ ๆ คุณแม่อาจเบี่ยงเบนความสนใจลูกด้วยของเล่น จัดที่ให้เขาเล่นกับคนที่เลี้ยงเขา โดยให้ลูกนั่งหันหลังให้ประตู เมื่อลูกเพลิดเพลิน คุณแม่ก็รีบเอาข้าวของออกไปทำงานอย่างเงียบๆ ไม่ให้ลูกรู้สึกตัว

  • ใจแข็ง

    หากที่สุดแล้ว ลูกยังร้องไห้อยู่ ให้คุณแม่ใจแข็ง ตัดใจออกไปทำงานเลย เพราะเรื่องนี้ต้องใช้เวลาในการปรับตัว จึงต้องให้เวลาทั้งลูกและทั้งตัวคุณแม่เอง แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายในการทำใจกับเสียงร้องไห้ของลูก จึงต้องใจแข็ง อย่าโทษตัวเองที่ไม่ได้มีโอกาสดูแลลูก และขอให้ท่องไว้ในใจว่าสิ่งที่เราทำนั้นก็เพื่อลูก ท่องไว้เลยค่ะว่า “เราออกไปทำงานเพื่อลูกๆ” สะกดจิตตัวเอง ยิ้มสู้ และเดินหน้าต่อไปค่ะ

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM
  • กลับบ้านตรงเวลาและใช้เวลากับลูกให้มากที่สุด

    ลูกจะปรับตัวได้ง่ายขึ้นและหยุดร้องไห้งอแงได้ เมื่อเขาเห็นว่าตอนเย็นคุณแม่ก็กลับมาหาเขา ไม่ได้หายไปเลย คุณแม่จึงต้องกลับบ้านตรงเวลา และหลังจากที่กลับมาบ้านแล้วขอให้คุณแม่ใช้เวลาร่วมกันกับลูกให้มากที่สุดเช่น ป้อนข้าว อาบน้ำ แต่งตัว ให้นม เล่านิทาน อุ้มนอน กอดเขาไว้ในอ้อมแขนเพื่อชดเชยเวลาที่ห่างกันในช่วงกลางวัน

    ด้วยการจัดการและการเตรียมการที่ดีของคุณแม่ ลูกจะค่อยๆ ปรับตัวได้จนปัญหาลูกร้องไห้งอแงก่อนคุณแม่จะไปทำงานจะค่อยๆ ลดลงและลูกก็จะอยู่กับพี่เลี้ยงได้โดยไม่มีน้ำตาในที่สุด

จะทำอย่างไรเมื่อทารกร้องไห้

เลือกนมให้ลูกก่อนกลับไปทำงาน

นอกจากการเตรียมลูกในเรื่องการห่างคุณแม่ให้ได้แล้ว คุณแม่ยังต้องเตรียมเรื่องนมไว้ให้ลูกด้วย โดยคุณแม่ที่ให้ลูกกินนมแม่ ก็ต้องปั๊มนมเก็บไว้ทำสต็อกนม ส่วนคุณแม่ที่น้ำนมมีน้อย ไม่เพียงพอกับการกินของลูก ก็สามารถเลือกนมผงที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่ให้ลูกกินเสริมน้ำนมแม่ได้ เช่น สารอาหาร MFGM ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนมแม่ ซึ่งเยื่อหุ้มนี้ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม MFGM ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่พบในนมแม่ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ส่งผลดีต่อร่างกายและสมองเด็ก, ดีเอชเอ กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดสายโซ่ยาว ที่พบมากในเยื่อหุ้มสมองและจอประสาทตา ถือเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ของเด็ก

งานวิจัยทางคลินิกพบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับดีเอชเอ มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหาร MFGM ทำงานร่วมกับดีเอชเอ ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว*

 

*Reference: NeuroProof report for Mead Johnson Nutrition Veereman-Wauters G, Staelens S, Rombaut R, et al. Milk fat globule membrane (INPULSE) enriched formula milk decreases febrile episodes and may improve behavioral regulation in young children. Nutrition. 2012;28:749-752.
กลับไปทำงานหลังคลอดอย่างไร ให้มั่นใจ หายห่วง พบคำตอบได้ที่นี่