ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

 

ตามปกติแล้ว การเรอหรือการผายลมนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติของร่างกายคนเรา หลังจากเรากิน อาหารก็จะเดินทางเข้าสู่กระเพาะอาหารบางส่วนที่ไม่ถูกย่อยจะถูกส่งมายังลำไส้ใหญ่ เพื่อเป็นอาหารของแบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้จะย่อยอาหารดังกล่าว หลังการย่อยของแบคทีเรียจะก่อให้เกิดแก๊สบางส่วนขึ้นในลำไส้ใหญ่ ร่างกายก็จะขับแก๊สเหล่านี้ออกมาผ่านการเรอหรือการผายลมนั่นเอง หากไม่มีการเรอหรือผายลมออกมาจะทำให้แก๊สสะสมในระบบทางเดินอาหาร และทำให้รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง และเกิดอาการท้องอืดตามมาได้

สำหรับเด็กทารก ถึงแม้จะกินนมเพียงอย่างเดียวนั้น ก็สามารถมีแก๊สสะสมในกระเพาะอาหารได้เช่นกัน เด็กจึงต้องเรอหรือผายลมออกมา เพราะจะช่วยขับแก๊สในช่องท้องของลูกออกมา ถ้าไม่มีการระบายออกมาเลยจะทำให้เกิดลูกท้องอืด ลูกไม่สบายท้อง ไม่สบายตัว และเป็นสาเหตุทำให้ลูกร้องโยเย ร้องกวนได้ ดังนั้นการที่ลูกเรอหรือผายลมออกมาก็จะช่วยให้ลูกสบายท้องได้วิธีหนึ่ง แต่หากลูกเรอหรือผายลมบ่อยๆ แสดงว่าลูกมีลมหรือแก๊สในท้องมาก คุณแม่ต้องหาวิธีลดแก๊สในท้องให้ลูก

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

แก๊สที่ทำให้ลูกท้องอืด เรอ&ผายลมบ่อยมาจากไหน

แก๊สหรือลมที่สะสมในกระเพาะอาหารลูกจนทำให้ลูกท้องอืด ลูกไม่สบายท้องจนต้องเรอและผายลมออกมานั้น อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้

  • การกลืนลมเข้าไป

    การกลืนลมเข้าไปจะทำให้ลูกมีลมในท้องมากจนต้องเรอหรือผายลมออกมา ลูกอาจกลืนลมเข้าไปด้วยเหตุนี้ :

    • น้ำนมไหลเร็วเกินไป หากน้ำนมจากเต้านมแม่หรือจุกขวดนมไหลออกมามากเกินไปขณะที่ลูกดูด ลูกต้องรีบกลืนน้ำนมอย่างรวดเร็ว พร้อมกับกลืนอากาศเข้าไปด้วย ส่งผลให้เกิดลมในกระเพาะอาหาร

    • น้ำนมไหลช้า หากหัวนมแม่บอด หรือจุกขวดนมมีรูเล็ก จะทำให้น้ำนมไหลออกมาน้อยหรือไหลช้า ลูกก็ดูดนมช้าตามไปด้วย ทำให้ระหว่างดูดนมลูกต้องกลืนลมเข้ากระเพาะอาหารมากขึ้น

    • ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ในขณะดูดนม หากลูกกินนมแม่ก็ต้องให้ลูกอมหัวนมให้ลึกถึงลานนม เพื่อไม่ให้มีช่องอากาศผ่านเข้าข้างปากลูกจนลมเข้าไปในท้องลูกได้ หากลูกกินนมขวดต้องถือขวดให้น้ำนมท่วมจุกนม ไม่อย่างนั้นจุกนมจะแฟบ ลูกจะดูดเอาอากาศในขวดนมเข้าไปในท้อง ทำให้ท้องอืด

  • ระบบย่อยของลูกยังทำงานไม่สมบูรณ์

    ในเด็กเล็กนั้น ระบบการย่อยอาหารยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ จึงย่อยโปรตีนและน้ำตาลแลคโตส ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในนมได้ไม่ดี เมื่อลูกดื่มนมเข้าไป หากระบบทางเดินอาหารมีการทำงานที่สมบูรณ์ เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการย่อยโปรตีนและน้ำตาลแลคโตสจะทำงานได้ 100% ก็จะไม่ทำให้เด็กท้องเสียหรือเกิดอาการไม่สบายท้อง แต่ในเด็กช่วงวัยขวบปีแรกเอนไซม์แลคเตส ซึ่งทำหน้าที่ย่อยแลคโตสอาจทำงานได้เพียง 70% ส่วนเอนไซม์เอนเทอโรไคเนส ซึ่งทำหน้าที่ย่อยโปรตีนทำงานได้เพียง 25 % ด้วยเหตุนี้น้ำตาลแลคโตสและโปรตีนบางส่วนในนมจึงไม่ถูกย่อย และถูกส่งผ่านมาจากลำไส้เล็กไปสู่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีแบคทีเรียจำนวนมากอาศัยอยู่ และแบคทีเรียเหล่านี้จะย่อยน้ำตาลแลคโตสและโปรตีนที่ตกค้างอยู่นี้ ทำให้เกิดแก๊สในทางเดินอาหารจนลูกต้องเรอหรือผายลมเพื่อขับแก๊สออกมา เพื่อไม่ให้ตัวเองท้องอืด ไม่สบายท้องนั่นเอง

ลูกท้องอืด เรอ ผายลมบ่อย

ป้องกันการเกิดแก๊สลดอาการลูกท้องอืด ไม่สบายท้องได้อย่างไร

  • เลือกนมที่เหมาะกับระบบย่อยของลูก
    หากคุณแม่ไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ เพื่อป้องกันอาการลูกท้องอืด ลูกไม่สบายท้องจากการมีแก๊สในระบบทางเดินอาหาร คุณแม่อาจเลือกนมสูตรย่อยง่ายที่เหมาะสมกับระบบย่อยอาหารของลูก ซึ่งเป็นนมสูตรที่มีโปรตีนผ่านการย่อยบางส่วน (PHP-Partially Hydrolyzed Milk Protein) โปรตีนจะมีขนาดเล็ก ทำให้ร่างกายดูดซึมได้ดี ย่อยง่าย มีปริมาณน้ำตาลแลคโตสต่ำกว่านมสูตรปกติ จึงไม่มีโปรตีนและน้ำตาลแลคโตสเหลือเป็นอาหารของแบคทีเรีย จึงไม่มีการย่อยให้เกิดแก๊สในระบบทางเดินอาหารของลูก ลดอาการท้องอืด ไม่สบายท้องได้

  • ป้องกันลมเข้าท้องขณะกิน
    หากลูกกินนมขวด การป้อนนมควรเอาลูกเข้าอกเหมือนกับเวลาให้นมแม่ เพราะเมื่อให้นมด้วยท่านี้จะทำให้น้ำนมเต็มจุกนมอยู่เสมอ ทำให้ลดการดูดลมเข้าไปในท้องลูกได้ คุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนแล้วยกขวดป้อนนมลูก เพราะท่านี้มีโอกาสที่ลูกจะดูดลมเข้าท้องได้มาก ปัจจุบันมีขวดนมแบบที่สามารถกันลมเข้าได้ โดยจะเป็นขวดที่มีลักษณะโค้ง เมื่อลูกยกขวด น้ำนมในขวดจะไหลออกมากันอากาศเข้าได้

  • ไม่ปล่อยให้ลูกหิว
    เพราะเมื่อลูกหิว จะทำให้ลูกกลืนนมอย่างเร็ว ทำให้เสี่ยงที่จะกลืนลมเข้าไปด้วย และเสี่ยงที่ลูกจะแหวะหรืออาเจียนนมออกมาได้ง่าย

  • เลือกจุกนมคล้ายหัวนมแม่
    การเลือกจุกนมเสมือนหัวนมแม่หรือจุกนมที่มีฐานกว้างเป็นการเลียนแบบลักษณะของการดูดนมแม่ และควรเลือกจุกนมแบบที่มีการระบายอากาศออกจากจุกนม ทำให้จุกนมมีแต่น้ำนมแม้จะถือในแนวนอน ช่วยลดลูกกลืนอากาศขณะดูดนมได้

  • ไล่ลมให้ลูก
    หลังมื้อนมทุกมื้อ คุณแม่ไม่ควรลืมไล่ลมให้ลูก เพื่อให้ลูกเรอเอาลมที่อาจดูดเข้าไปพร้อมนมออกมา จะได้ช่วยคลายอาการลูกท้องอืด ไม่สบายท้องได้

อย่างที่กล่าวข้างต้นว่าการที่ลูกเรอหรือผายลมออกมาเป็นวิถีธรรมชาติที่ช่วยให้ลูกสบายท้องได้ แต่หากลูกเรอหรือผายลมบ่อยๆ แสดงว่าลูกมีลมหรือแก๊สในท้องมาก คุณแม่ต้องหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาลูกท้องอืด ไม่สบายท้องที่จะตามมาค่ะ

อึไม่ออก ต้องทำยังไง พบคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญได้ที่นี่