EF คืออะไร? รู้จัก Executive Function ทักษะสมองที่สำคัญของลูกน้อย

     • EF สำคัญอย่างไร
     • EF คืออะไร
     • รู้จัก Executive Function ให้ลึกกว่าเดิม
     • ลูกน้อยเริ่มพัฒนา EF ช่วงไหน
     • เช็กลิสต์ EF แต่ละช่วงวัย
     • รู้จักแบบประเมิน EF และการวัด EF
     • กิจกรรมส่งเสริม EF แต่ละช่วงวัย
     • เสริมทักษะ EF ด้วย MFGM ในนมแม่
     • ไขข้อข้องใจเรื่อง EF กับ Enfa Smart Club

หากคุณพ่อคุณแม่เสิร์ชหาวิธีเลือกโรงเรียนที่เหมาะสมกับลูก เชื่อว่าจะต้องพบคำแนะนำข้อหนึ่งที่ว่า ควรเลือกโรงเรียนที่มีการบูรณาการทั้งวิชาการและกิจกรรม ทำไมสิ่งนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ?

นั่นเป็นเพราะว่าในแง่ของการใช้ชีวิต คนเราจะเก่งแค่วิชาการไม่ได้ แต่จำเป็นจะต้องเรียนรู้ที่จะมีการควบคุมความคิด อารมณ์ ความรู้สึก รู้จักการใข้เหตุและผล เพื่อที่เด็กจะได้เติบโตมาเป็นคนที่มีคุณภาพ มีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิต

ซึ่งหนึ่งในทักษะสำคัญที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของลูกน้อยนั่นก็คือ ทักษะสมอง EF อันเป็นหนึ่งในทักษะจำเป็นที่จะต้องได้รับการปลูกฝังตั้งแต่ยังเด็ก ๆ แต่ทักษะ EF คืออะไร และจำเป็นต่อการใช้ชีวตอย่างไร บทความนี้จาก Enfa มีคำตอบรออยู่แล้วค่ะ


หากพูดถึงความฉลาด ส่วนมากเราก็จะมุ่งไปที่ความแตกฉานทางวิชาการแขนงใดแขนงหนึ่ง แต่ในเรื่องของความฉลาดนั้นสามารถที่จะแยกย่อยออกไปได้มากกว่าความฉลาดทางสติปัญญา ไม่ว่าจะเป็น

     • Intelligence Quotient หรือ IQ คือ ความฉลาดทางสติปัญญา การไตร่ตรอง การคิด ความมีเหตุมีผล

     • Emotional Quotient หรือ EQ คือ ความฉลาดทางอารมณ์ การรับรู้อารมณ์ความรู้สึกทั้งของตนเองและของผู้อื่น

     • Social Quotient หรือ SQ คือ ความฉลาดทางสังคม การเอาใจใส่ การเห็นอกเห้นใจผู้อื่น ทักษะในการโต้ตอบสื่อสารกับผู้อื่น การสร้างมิตรภาพ และการรักษามิตรภาพระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคน

     • Adversity Quotient หรือ AQ คือ ความแลาดในการแก้ปัญหา การรู้จักรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้า สามารถพิจารณาหาทางอกต่อปัญหาที่ก่อให้เกิดความท้าทายได้

ในชีวิตประจำวันของเราทุกคนจำเป็นจะต้องมีทั้ง IQ EQ SQ และ AQ ควบคู่กันไป เพื่อให้เราสามารถที่จะตัดสินใจต่อสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉลาดอย่างเดียว หรือมารยาทดีเพียงอย่างเดียว อาจทำให้จุดสำคัญของภาพรวมตรงหน้าขาดหายไป และนำไปสู่การตัดสินใจผิดพลาดได้ง่าย

นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเด็กทุกคนจึงควรได้รับการปลูกฝังให้มีทักษะ EF ตั้งแต่เด็ก ๆ เพราะทักษะสมองส่วนหน้านี้ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้เด็กสามารถควบคุมอารมณ์ รู้จักยับยั้งพฤติกรรมและแรงกระตุ้น สามารถวางแผน แก้ไขปัญหา และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ซึ่งแน่นอนว่าทักษะการพัฒนาด้านสมองนั้นสามารถที่จะฝึกฝนผ่านการทำกิจกรรมตามวัยต่าง ๆ ตั้งแต่การเล่น การอ่านนิทาน การพูดคุย การสื่อสาร และการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในแต่ละวัน สิ่งเหล่านี้จะช่วยหล่อหลอมให้เด็กมีทักษะการคิด การจดจำ การรับรู้ การสังเกต และเรียนรู้ถึงความเป็นไปรอบตัว

โดยหนึ่งในพื้นฐานสำคัญคือการเริ่มต้นจากโภชนาการที่สำคัญ เด็กที่ได้กินนมแม่ที่มีสาร MFGM อย่างน้อย 6 เดือน หรือต่อเนื่อง 1 - 2 ปี เด็กจะได้รับส่วนประกอบของไขมันเชิงซ้อนที่อยู่ใน MFGM อย่างสฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซด์ ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างปลอกหุ้มเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) เพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณของประสาท และช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง สมองก็จะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาทางสมองและสติปัญญา


หรือ EF คือ ทักษะสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมความคิด ความรู้สึก และการกระทำ ซึ่งจะส่งผลต่อวางแผน การจัดระเบียบ การริเริ่ม การควบคุม ไปจนถึงการประเมินความคิด อารมณ์ และการกระทำของตนเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้

หรืออาจจะกล่าวง่าย ๆ ก็คือ  EF เท่ากับทักษะสมองที่ช่วยให้ชีวิตประสบความสำเร็จ เพราะคนเราจะทำอะไรก็จะต้องผ่านกระบวนการคิด การตัดสินใจ การวางแผน การควบคุมอารมณ์ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

ดังนั้น หากเด็กได้รับการส่งเสริมและกระตุ้นการใช้งานสมองส่วนหน้า ก็จะช่วยปูพื้นฐานให้เด็กโตมาเป็นเด็กที่มีความคิดและการใช้ชีวิตที่เป็นระบบมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต

ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ Harvard Center on the Developing Child ที่พบว่าความสามารถของสมองส่วนหน้านี้จะมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น

แต่หนึ่งในช่วงที่สำคัญที่สุดคือช่วง 2 - 3 ปีแรกของชีวิต ซึ่งจะเป็นก้าวแรกของการพัฒนาสมองลูกน้อยให้พร้อมต่อกระบวนการคิด การลงมือทำ และการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ก้าวแรกที่สำคัญในการปูพื้นฐานให้ลูกมีทักษะด้านสมองที่สมวัยนั้น ต้องเริ่มจากการเอาใจใส่กับโภชนาการและอาหารการกินของเด็กเสียก่อน โดยหนึ่งในสารอาหารสำคัญต่อสมองของลูกน้อยก็คือ Milk Fat Globule Membrane (MFGM) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมที่สามารถพบในน้ำนมแม่

MFGM อุดมไปด้วยไขมันและโปรตีนหลายชนิด เช่น แลคโตเฟอริน แกงกลิโอไซด์ และฟอสโฟลิปิด เป็นต้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมพัฒนาการรับรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะด้านสติปัญญาและความจำ

จากงานวิจัยทางคลินิก พบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับ DHA ทั้งจากนมแม่และนมสูตรที่มี MFGM พบว่าเด็กกลุ่มนี้มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับ DHA เพียงอย่างเดียว

นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหารใน MFGM ทำงานร่วมกับ DHA ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ DHA เพียงอย่างเดียว เมื่อเซลล์สมองมีการเชื่อมต่อมาก ก็จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็ก


EF หรือทักษะ EF ที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ่อย ๆ นั้น จริง ๆ แล้วย่อมาจาก Executive Function แต่ Executive Function คืออะไรกันแน่? ทักษะ ef คืออะไรกันนะ? 

ก่อนอื่นต้องเล่ากันก่อนว่าสมองคนเรานั้นมีอยู่ด้วยกันหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็น

     • สมองส่วนหน้า (Frontal Lope) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิด การวางแผน ตัดสินใจ การมีเหตุมีผล รวมถึงทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวด้วย

     • สมองพาไรเอทัล (Parietal Lope) ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบประสาทสัมผัส การรับความรู้สึก การสัมผัส การรับรู้ตำแหน่งของร่างกายส่วนต่าง ๆ

     • สมองส่วนหลัง (Occipital Lope) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น การรับส่งภาพมาทางสายตา ซึ่งหากสมองส่วนนี้เสียหาย จะทำให้สูญเสียการมองเห็น

     • สมองส่วนขมับ (Temporal Lope) ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ การรับรู้เสียง  การรับรู้วัตถุ รวมไปถึงการแปลภาษาจากเสียงที่ได้ยินด้วย

ซึ่ง EF หรือ executive function จะหมายถึงทักษะและพัฒนาการของสมองส่วนหน้า หรือก็คือการพูดถึงทักษะในการคิด การวางแผน การตัดใจ การควบคุมอารมณ์และความรู้สึก ไปจนถึงการลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงอย่างมีแบบแผนนั่นเองค่ะ


ทักษะ EF นั้น เริ่มเข้าสู่กระบวนการพัฒนาหลังจากที่ทารกคลอดออกมาได้ไม่นานค่ะ ซึ่งช่วง 3 - 5 ปีแรกของชีวิตนี้ ถือว่าเป็นช่วงนาทีทองที่ห้ามมองข้ามเด็ดขาด เพราะเป็นห้วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่จะสามารถส่งเสริม กระตุ้น ช่วยเหลือ และชี้แนะให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางสมองได้มากขึ้น

ซึ่งการปูพื้นฐานตั้งแต่เยาว์วัยนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะทักษะทางสมองของเด็กจะพัฒนาต่อเนื่องไปยังช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ดังนั้น หากเริ่มสร้างพื้นฐานที่ดี เด็กก็จะเติบโตมาพร้อมกับทักษะทางสมองที่สมวัย

แต่เด็กจะเติบโตมาพร้อมทักษะสมองที่ดีได้ ต้องไม่ลืมที่จะเลือกโภชนาการที่เหมาะสมตั้งแต่ 1,000 วันแรกด้วยนมแม่ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในอาวุธลับสำหรับบำรุงสมอง เพราะมีสาร MFGM ที่มีประโยชน์ต่อการสร้างเซลล์สมองให้สมบูรณ์ พร้อมสำหรับการเรียนรู้และการพัฒนาในอนาคต


ทักษะ EF นั้นจะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 9 ด้าน ซึ่งแต่ละด้านล้วนแล้วแต่เป็นทักษะสำคัญที่จำเป็นจะต้องได้รับการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยทักษะสมองทั้ง 9 ด้านนั้น จะถูกนำมาจำแนกออกเป็นกลุ่ม ได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

ทักษะ EF นั้น จะประกอบไปด้วยกลุ่มทักษะพื้นฐาน 3 กลุ่ม คือ

     • กลุ่มทักษะพื้นฐาน
     • กลุ่มทักษะด้านการควบคุมตนเอง
     • กลุ่มทักษะด้านการลงมือปฏิบัติ

ซึ่งทักษะ EF ทั้ง 3 กลุ่มนั้น จะจำแนกออกเป็นทักษะ EF 9 ด้าน สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

     • Working Memory ทักษะการจดจำและนำไปใช้ คือการรับรู้ การเก็บข้อมูลจากสิ่งต่าง ๆ ที่พบในสภาพแวดล้อมของตนเองและผู้อื่น และนำข้อมูลที่ได้นั้นมาประยุกต์ใช้ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ทักษะนี้จะไม่ปรากฎเด่นชัดนักในเด็กเล็ก เพราะเด็กเกินกว่าที่จะจดจำเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงที่เรายังเล็กมาก ๆ ได้นั่นเอง

     • Impulse Control หรือ Inhibitory Control ทักษะในการควบคุมตนเอง การยับยั้งชั่งใจ การรู้จักไตร่ตรอง รู้จักที่จะควบคุมพฤติกรรมของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการทำร้ายตนเองและผู้อื่น

     • Flexibility ทักษะในการปรับตัว การรู้จักหยืดหยุ่น ซึ่งทุกช่วงวัยนั้นจะต้องพบเจอกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทักษะนี้จะยังไม่พบในเด็กทารก เนื่องจากในวัยทารก การปรับตัวจะค่อนข้างจำกัด เพราะเด็กสามารถสื่อสารได้แค่เพียงการร้องไห้ การยิ้ม การหัวเราะเท่านั้น

     • Attentional Control ทักษะในด้านการจดจ่อ ความสนใจ คือการเรียนรู้ที่จะพุ่งความสนใจไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง และทำสิ่งนั้นจนกว่าจะสำเร็จโดยไม่วอกแวกไปทางใดทางหนึ่งโดยง่าย

     • Emotional Control ทักษะในการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก สิ่งนี้ไม่ใช่แค่การควบคุมอารมณ์โกรธหรือโมโห แต่ยังรวมถึงการรู้ว่าอารมณ์ขณะนั้นเกิดขึ้นจากอะไร เกิดขึ้นเพราะอะไร และจะจัดการได้อย่างไร

     • Self-Monitoring ทักษะในการประเมินตนเอง คือการรู้จักสังเกตตนเอง การรับรู้ขอบเขตความสามารถตนเองว่าทำสิ่งใดได้และสิ่งใดที่เกินกำลัง รู้ว่าจะสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างไร เรียนรู้ที่จะปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น

     • Planning ทักษะด้านการวางแผน มีความสามารถในการกำหนดเป้าหมาย และวางแผนเพื่อดำเนินการให้เสร็จสิ้น  สามารถวิเคราะห์ขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงก่อนเวลาได้

     • Task Initiation ทักษะในการริเริ่มลงมือทำ การรู้จักริเริ่ม การระดมความคิดอย่างเสรี กล้าที่จะคิด กล้าที่จะลงมือทำและลงมือปฏิบัติทันที

     • Organization ทักษะด้านการบริหารจัดการ การรู้จักลำดับความสำคัญของสิ่งที่ได้รับมอบหมาย การวางแผน การลงมือดำเนินการจนสำเร็จ และประเมินผลลัพธ์


ทักษะ EF สามารถวัดผลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินพฤติกรรม โดยจะมีการอ้างอิงจากตัวอย่างพฤติกรรม และผู้ทำแบบทดสอบจะเป็นฝ่ายให้คะแนนตนเองว่าเคยทำพฤติกรรมดังกล่าวบ่อยแค่ไหน หรือไม่เคยทำเลย ซึ่งจะต้องตอบให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อจะได้สามารถนำไปรวมคะแนน และทราบผลว่าเด็กควรจะต้องปรับปรุงพฤติกรรมและทักษะกลุ่มใดเป็นพิเศษ หรือทักษะกลุ่มใดที่ทำได้ดีอยู่แล้ว

โดยในแบบประเมินนั้น จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 9 กลุ่ม ตามทักษะ EF ทั้ง 9 ด้าน ดังนี้

     1. ทักษะการจำเพื่อใช้งาน (Working Memory)
     2. ทักษะการยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control)
     3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift/Cognitive Flexibility)
     4. ทักษะการจดจ่อใส่ใจ (Focus/Attention)
     5. ทักษะการควบคุมอารมณ์(Emotional Control)
     6. ทักษะการติดตาม ประเมินตนเอง (Self-Monitoring)
     7. ทักษะการริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)
     8. ทักษะการวางแผน จัดระบบดำเนินการ (Planning/Organizing)
     9. ทักษะการมุ่งเป้าหมาย(Goal-Directed Persistence)

พฤติกรรม

ไม่เคย

บางครั้ง

บ่อยครั้ง

ไม่เคยเลย

คิดก่อนพูด คิดก่อนทำ

0

1

2

3

ยับยั้งอารมณ์ของตนเองได้ แม้จะรู้สึกโกรธมาก

0

2

2

3

 


ทักษะสมอง EF เป็นเรื่องที่สามารถฝึกฝนกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 - 5 ปีแรก คุณพ่อคุณแม่ควรจะพาลูกทำกิจกรรมเสริมทักษะสมอง เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานการพัฒนาของสมอง กระตุ้นการใช้ความจำ ฝึกการควบคุมตนเอง การวางแผน การแก้ไขปัญหา ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ตามช่วงวัย ดังนี้

กิจกรรมที่เหมาะสำหรับเด็กในวัยนี้ สามารถทำได้ผ่านกิจกรรมง่าย ๆ ที่แทบไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ เลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการอุ้มลูกนั่งตัก แล้วพากันร้องเพลง พากันพูดคุยเรื่องต่าง ๆ การเล่นจ๊ะเอ๋ การเล่นซ่อนแอบ การฝึกนับนิ้วด้วยกัน หรือการเลียนแบบท่าทางต่าง ๆ เช่น ร้องไห้ หัวเราะ เสียใจ การเลียนแบบเสียงสัตว์ต่าง ๆ

กิจกรรมเหล่านี้จะเน้นช่วยกระตุ้นให้ทารกฝึกสมาธิ มีการจดจ่อ การใช้ความจำ และฝึกทักษะการควบคุมตนเองขั้นพื้นฐาน ทั้งยังช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์และความใกล้ชิดให้เพิ่มขึ้นด้วย

ในช่วงพัฒนาการเด็กวัย 18 - 36 เดือนนี้ ถือเป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการทักษะทางภาษาอย่างรวดเร็ว ซึ่งภาษาและการสื่อสารนั้นจะช่วยให้เด็กเข้าใจภาษาและมีส่วนร่วมในบทสนทนาและการเล่าเรื่องได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริมทักษะผ่านกิจกรรมง่าย ๆ เช่น การวาดรูป การเขียน หรือการอ่านนิทานร่วมกัน จะช่วยให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น จดจ่อมากขึ้น และเสริมทักษะความจำด้วย

มากไปกว่านั้น เด็กในช่วงวัยเตาะแตะนี้ ยังเหมาะสำหรับกิจกรรมจำพวกการใช้แรงกาย ที่แฝงความท้าทายเอาไว้ด้วย เช่น การขว้างปาและจับลูกบอล การเดินบนคานทรงตัว เกมเลียนแบบ เกมเพลง เกมเต้นแบบมีสัญญาณให้เริ่มและหยุด เกมเหล่านี้จะกระตุ้นความสนใจของเด็ก เสริมความจำ และการควบคุมการยับยั้งชั่งใจ ไม่ให้เล่นนอกกติกา

เด็กเล็กในวัยนี้ เหมาะอย่างยิง่ที่จะเสริมทักษะด้านการควบคุมตนเอง เนื่องจากเด็กเริ่มโตขึ้น เริ่มมีสังคมเพื่อร่วมชั้นอนุบาล การฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมตนเอง รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมใหม่ ๆ และเสริมสร้างจินตนาการตั้งแต่วัยเยาว์ จึงถือเป็นเรื่องที่จำเป็นผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เกมที่ต้องเล่นเป็นกลุ่มหรือเป็นคู่ กิจกรรมที่ต้องให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์ อย่างเช่น การทำอุปกรณ์ประกอบฉาก การประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุง่าย ๆ เป็นต้น

เด็กอายุ 5 ถึง 7 ปี เป็นช่วงวัยที่เหมาะสำหรับการส่งเสริมทักษะด้านความจำ ความยืดหยุ่นทางความคิด การปรับตัว การยับยั้งชั่งใจ และเสริมสมาธิ ผ่านเกมต่าง ๆ เช่น เกมไพ่ เกมกระดาน หรือกิจกรรมที่ต้องมีการวางแผนกลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมาย เกมไขปริศนาต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม เด็กในวัยนี้แม้จะเข้าใจความซับซ้อนของเกมได้ แต่เกมนั้นก็ไม่ควรจะยากเกินไปจนทำให้เด็กเล่นเกมไม่สนุกเพราะไม่เข้าใจกติกาที่ยุ่งยากก

เด็กวัย 7-12 ปี ถือว่าเป็นช่วงวัยที่สามารถเข้าใจความซับซ้อนต่าง ๆ ของกิจกรรมได้เป็นอย่างดี และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเสริมทักษะสมอง EF เช่น เกมปริศนาอักษรไขว้ เกมซูโดกุ รูบิก เกมคอมพิวเตอร์

มากไปกว่านั้น เด็กในวัยนี้ยังเป็นวัยที่เริ่มมีความสนใจในสิ่งต่าง ๆ ตามความต้องการและทักษะของตนเอง เช่น เด็กบางคนอยากเรียนว่ายน้ำ เด็กบางคนสนใจเรียนดนตรี ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะมีส่วนช่วยเสริมทั้งทักษะความสามารถ และการใช้งานสมองได้เป็นอย่างดี

หรือถ้าหากเด็กยังไม่มีท่าทีว่าจะสนใจสิ่งใดเป็นพิเศษ คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตและให้คำแนะนำ เพื่อช่วยส่งเสริมให้ลูกได้แสดงความสามารถออกมาได้อย่างเหมาะสมม


เด็กจะมีพัฒนาการทักษะทางสมองที่สมบูรณ์และสมวัยได้ จำเป็นจะต้องเริ่มจากการสร้างพื้นฐานสมองให้พร้อมเสียกก่อน ดังนั้น โภชนาการที่สำคัญหลังคลอดจึงถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยเตรียมพร้อมให้ลูกมีพัฒนาการทางสมองที่มีประสิทธิภาพ

ใช่ค่ะ เรากำลังพูดถึงการให้เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน หรือต่อเนื่องได้ 1 - 2 ปี เพราะนมแม่เป็นสารแหล่งของสารอาหารสำคัญที่เหมาะสำหรับทารกวัย 6 เดือนแรก และเป็นอาหารเพียงอย่างเดียวที่เด็กควรได้รับ

ซึ่งนอกจากสารอาหารและสารภูมิคุ้มกันที่จะช่วยให้เด็กเติบโตได้อย่างแข็งแรงแล้ว ในนมแม่ยังมี MFGM ที่พิสูจน์แล้วว่าช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการทางสมองทั้ง IQ และ EF ที่ก้าวล้ำอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ก้าวแรกของทักษะสมอง จึงอยู่ที่การเลือกโภชนาการที่มี MFGM ให้ลูกน้อยเพื่อความได้เปรียบในอนาคต


 เด็กที่ IQ สูงจะมี EF สูงด้วยหรือเปล่า?

เด็กที่ไอคิวสูง ตามความเข้าใจพื้นฐานก็คือเด็กที่เก่ง ฉลาด รอบรู้ แต่... การเป็นคนเก่ง ไม่ได้หมายความว่าจะมาพร้อมกับการรู้จักควบคุมตนเอง รู้จักการวางแผนและจัดการกับชีวิตได้ดี ไอคิวก็ส่วนไอคิว ทักษะในการบริหารจัดการชีวิตก็เป็นอีกทักษะหนึ่งที่จำเป็นจะต้องได้รับการฝึกฝน ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพราะเกิดมามีไอคิวสูง

ดังนั้น เด็กที่ไอคิวสูงจึงไม่ได้หมายความว่าจะมีทักษะ EF สูงตามไปด้วย หากไม่ได้รับการฝึกฝนและส่งเสริมทักษะทั้งสองด้านไปพร้อม ๆ กัน

 เมื่อเด็กอายุมากขึ้น ทักษะ EF จะพัฒนายิ่งขึ้นด้วยหรือเปล่า?

เด็กอายุที่มากขึ้น ทักษะ EF ก็จะพัฒนาได้มากขึ้นไปตามความซับซ้อนของกิจกรรม การเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ตราบเท่าที่การพัฒนานั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เด็กก็มีแนวโน้มที่จะมีทักษะ EF ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เมื่ออายุมากขึ้น หรือเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ทักษะ EF มีแนวโน้มที่จะลดลงไปตามปัจจัยด้านสภาพร่างกายและสภาพแวดล้อม เช่น มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับสมอง ก็อาจจะส่งผลต่อทักษะความจำที่ลดลง หรือมีผลต่อคว่ามสามารถในการตัดสินใจได้

 สมองส่วนใดที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับทักษะ Executive Functions มากที่สุด?

สมองส่วนหน้า เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิด การวางแผน ตัดสินใจ การมีเหตุมีผล รวมถึงทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ซึ่งสอดคล้องกับ Executive Function หรือ EF ที่พูดถึงทักษะด้านการบริหารจัดการชีวิต หรือก็คือทักษะที่ว่าด้วยความสามารถของสมองส่วนหน้านี่เองค่ะ

 ทักษะ EF ของลูกจะพัฒนาเต็มที่เมื่อไหร่?

ทักษะ EF ของเด็กจะพัฒนาได้อย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 3 - 5 ปี ส่วนจะพัฒนาเต็มที่ในช่วงอายุเท่าไหร่นั้น เป็นเรื่องที่เจาะจงได้ยากค่ะ อย่าลืมว่าเด็กแต่ละคนได้รับการปูพื้นทักษะไม่เหมือนกัน ความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรในการใช้ชีวิตก็ต่างกัน ดังนั้น ทักษะ EF ของเด็กแต่ละคนจึงมีจุดสูงสุดของพัฒนาการที่แตกต่างกันค่ะ

 EF เป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ผ่านการสอนจากพ่อแม่ได้หรือไม่?

ทักษะ EF เป็นทักษะที่สามารถส่งทอดผ่านพันธุกรรมได้จริง แต่...จำเป็นจะต้องได้รับการส่งเสริม การกระตุ้น การเรียนรู้ ผ่านกิจกรรม ประสบการณ์ ระยะเวลา และสภาพแวดล้อมร่วมด้วย ปัจจัยด้านพันธุกรรมอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะหล่อหลอมหรือส่งเสริมให้เด็กมีทักษะ EF ที่มีประสิทธิภาพได้เสมอไปค่ะ

 ผู้ใหญ่ยังสามารถพัฒนาทักษะ EF ได้อยู่ไหม?

แม้วัยผู้ใหญ่อาจจะมีปัญหาเรื่องของสุขภาพที่อาจส่งผลต่อทักษะ EF ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทักษะ EF จะหยุดนิ่งไปเมื่อเราโตขึ้นนะคะ ทักษะ EF สามารถพัฒนาได้ตลอดและต่อเนื่อง ยิ่งฝึกฝนและเสริมทักษะอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยให้ทักษะสมอง EF พัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าอายุจะมากขึ้นแล้วก็ตาม

 แบบไหนที่เรียกว่า EF ต่ำ?

ทักษะสมอง EF เป็นทักษะที่ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง หากไม่ได้รับการฝึกฝน หรือไม่ได้รับการส่งเสริมที่เพียงพอ อาจมีผลทำให้กลายเป็นคนมีทักษะ EF ต่ำได้ ซึ่งอาการแบบนี้จะแสดงออกผ่านพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันในแง่ของการบริหารจัดการชีวิต เช่น

      มีอาการวอกแวก ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน ๆ

      มีอาการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากจนเกินไป

      หลุดสมาธิเมื่อยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องจดจ่อและใช้สมาธิ เช่น เสียสมาธิในระหว่างการประชุมหรือสัมนา หรือเสียสมาธิในขณะเรียน

      ปัญหาในการวางแผนหรือดำเนินงาน เพราะไม่สามารถมองเห็นเป้าหมายหรือผลลัพธ์ของการทำงานนั้นได้

      มีอาการอิดออด เอื่อยเฉื่อย ผัดวันประกันพรุ่ง ใชะเวลานานกว่าจะตัดสินใจลงมือทำงานที่ไ้ดรับมอบหมายให้ลุล่วง

      มีอาการหลง ๆ ลืม ๆ เช่น ลืมว่าวางหน้ากากอนามัยไว้ตรงไหน ทั้ง ๆ ที่ถืออยู่ในมือ หรือลืมกุญแจบ้านไว้ในตู้เย็น เป็นต้น

      ไม่สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของตนเองได้

      พูดโดยไม่คิดก่อน โดยไม่สนใจว่าคำพูดนั้นจะทำให้อีกฝ่ายสะเทือนใจหรือไม่

      มีปัญหาในการสื่อสาร คือตนเองเข้าใจในเรื่องที่จะพูด แต่เมื่อพูดแล้วผู้ฟังไม่สามารถเข้าใจได้ เนื่องจากขาดทักษะในการอธิบาย หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นคนพูดไม่รู้เรื่อง ใช้คำแบบผิด ๆ หรือพูดผิดความหมาย

 หากลูกมี EF ต่ำ พ่อแม่สามารถช่วยลูกให้พัฒนาทักษะ EF ให้ดีขึ้นได้หรือไม่?

ทักษะ EF ที่มีประสิทธิภาพนั้น เป็นทักษะที่จำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาและฝึกฝนอย่างต่อเนื่องค่ะ ดังน้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมช่วงที่ลูกยังเล็กคุณพ่อคุณแม่ต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ และพัฒนาการที่สมวัย

ทั้งการกิน การนอน การเล่น การอ่าน การวาดภาพ และอีกมากมาย ยิ่งเด็กได้ทำกิจกรรมเสริมมากเท่าไหร่ ก็จะช่วยเสริมสร้างทักษะ EF ให้เด็ก ๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น



น้ำนมเหลืองสั่งซื้อสินค้าออนไลน์สมัครสมาชิกใหม่