สำหรับคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงานหลังการลาคลอดครบ 3 เดือน แต่ยังต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไป ก็สามารถทำได้ค่ะ แต่ต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้ากันบ้าง นั่นคือการปั๊มนมทำสต็อกน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกในระหว่างที่คุณแม่ต้องไปทำงาน

การปั๊มนมทำสต็อกน้ำนมทำได้เมื่อไหร่

การปั๊มนมทำสต็อกน้ำนมนั้น คุณแม่สามารถทำได้ตั้งแต่สัปดาห์แรกหลังคลอด เพราะนอกจากจะช่วยให้มั่นใจว่าจะมีน้ำนมให้ลูกกินอย่างเพียงพอในช่วงที่คุณแม่กลับไปทำงานแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นการสร้างน้ำนมด้วย

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

• สัปดาห์แรกหลังคลอด

สัปดาห์แรกหลังคลอดผ่านไป ขอให้คุณแม่เริ่มปั๊มนมเก็บไว้ได้เลย โดยเลือกช่วงเวลาที่รู้สึกคัดเต้านมมากที่สุด ซึ่งจะเป็นช่วงเช้าตอนตื่นนอนใหม่ๆ ประมาณตี 5-6 โมง เพราะร่างกายจะได้พักผ่อนเต็มที่ เต้านมจะผลิตน้ำนมได้เต็มที่ ให้ลูกดูดก่อนข้างหนึ่ง ถ้าลูกอิ่มดีแล้วก็ปั๊มจากอีกข้างหนึ่งเก็บไว้

ถ้าลูกดูดข้างเดียวแล้วไม่อิ่มก็ให้ดูดทั้งสองข้าง หลังจากนั้นก็ปั๊มต่อข้างละ 3-5 นาที เพื่อกระตุ้นเต้านม ในระหว่างวันก็ทำแบบนี้ คือเมื่อลูกดูดเสร็จแล้วก็ปั๊มกระตุ้นต่อสัก 3-5 นาที ที่สำคัญควรปั๊มให้เกลี้ยงเต้าด้วย เพื่อให้ร่างกายผลิตน้ำนมเร็วขึ้น ทำแบบนี้เรื่อยๆ ทุกวัน ร่างกายคุณแม่ก็จะรับรู้ว่าต้องผลิตน้ำนมเพิ่ม น้ำนมที่ปั๊มก็จะได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ให้คุณแม่สังเกตปริมาณน้ำนมแต่ละสัปดาห์ ด้วยการจดบันทึกปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ในแต่ละวันไว้ด้วย

เพื่อความสะดวกในการบันทึกการปั๊มนม คุณแม่สามารถ ใช้โปรแกรมบันทึกการปั๊มนมและการให้นมลูก ผ่านแอป A+ Genius Baby ซึ่งจะเป็นตัวช่วยที่ดีของคุณแม่

• ครบ 1 เดือน

เมื่อครบ 1 เดือน คุณแม่ก็จะเริ่มมีสต็อกนมไว้พอสมควร ขอให้ปั๊มต่อไปอย่าหยุดปั๊ม โดยเฉพาะ ถ้าลูกนอนนาน ไม่ดูดนมทุก 2-3 ชม. คุณแม่ก็ต้องปั๊มน้ำนมแทนการดูดของลูกออกมาเก็บไว้เรื่อยๆ แต่หากลูกเป็นเด็กที่ดูดนมถี่มากๆ ก็ให้เขาดูดตามต้องการ ส่วนคุณแม่ก็พยายามดื่มน้ำมากๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เต็มที่ ร่างกายก็จะผลิตน้ำนมได้ตามความต้องการของลูกได้ หลังลูกอายุ 1 เดือน คุณแม่ควรหัดให้ลูกดื่มนมจากช้อน จากแก้ว หรือจากขวด เพื่อให้ลูกคุ้นเคยกับการกินนมที่ไม่ใช่กินจากเต้าบ้าง

น้ำนมที่บีบหรือปั๊มออกมาในช่วงที่เก็บสต็อกนี้ ต้องไม่นำมาให้ลูกกิน เพราะการนำนมส่วนนี้มาให้ลูกกิน ไม่ได้ช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำนมเพิ่ม ช่วงนี้ควรให้ลูกดูดจากเต้า เมื่อกลับไปทำงานก็ให้ลูกกินน้ำนมที่สต็อกไว้นี้ และนำนมที่ปั๊มจากที่ทำงานกลับมาทดแทนสต็อกที่ใช้ไป

 

คุณแม่ในยุคนี้ก็มีตัวช่วยในการติดตามการปั๊มนมลูกผ่านแอพได้ง่ายๆ

 

• เมื่อแม่กลับไปทำงาน

เมื่อคุณแม่เริ่มไปทำงาน ก็ให้ลูกกินนมสต็อกที่ปั๊มเก็บไว้ ระหว่างที่อยู่ที่ทำงานก็ปั๊มนมทุก 3 ชม. พยายามกำหนดเวลาให้ตรงกันทุกวัน เช่น ตอนเช้าให้ลูกดูดก่อนไปทำงาน พอถึงที่ทำงานก็ปั๊มตามจำนวนมื้อที่ลูกกินในเวลากลางวัน แล้วนำน้ำนมที่ปั๊มได้แช่ตู้เย็นแล้วนำกลับมาให้ลูกกินในวันต่อไป วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ก็ให้ลูกดูดนมแม่ทุกมื้อ เพื่อรักษาปริมาณน้ำนมและชดเชยความใกล้ชิดระหว่างคุณแม่และลูกแทนช่วงเวลาที่คุณแม่ไปทำงาน

 

ต้องสต็อกน้ำนมเท่าไหร่ถึงจะพอ

 

ในสัปดาห์แรกหลังคลอด คุณแม่สามารถเริ่มทำการปั๊มนมได้

 

จำนวนน้ำนมที่คุณแม่จะสต็อกนั้น ขึ้นอยู่กับว่าระหว่างอยู่ที่ทำงาน คุณแม่ได้ปั๊มนมหรือไม่ เพราะถ้าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว โดยไม่ต้องใช้นมผงผสมนั้น ในช่วงที่ลาคลอดสามเดือน ไม่ว่าคุณแม่จะเร่งทำสต็อกไว้มากแค่ไหน ก็จะไม่พอสำหรับลูก ถ้าคุณแม่ไปทำงานแล้วปั๊มได้เพียง 1-2 ครั้ง ในทางกลับกัน ถึงแม้คุณแม่จะมีสต็อกนมน้อยก่อนไปทำงาน แต่เมื่ออยู่ที่ทำงานคุณแม่สามารถหาเวลาปั๊มหรือบีบนมให้ลูกได้เท่ากับจำนวนออนซ์และมื้อที่ลูกกิน เช่น ถ้าลูกกินที่บ้าน 3 มื้อ รวม 12 ออนซ์ คุณแม่ก็ปั๊ม 3 มื้อ ได้น้ำนมกลับมาบ้าน 12 ออนซ์ ถ้าลูกกิน 4 มื้อ รวม 16 ออนซ์ คุณแม่ก็ปั๊ม 4 มื้อ รวม 16 ออนซ์ มาให้ลูกกิน ถ้าทำได้แบบนี้ คุณแม่ก็จะมีน้ำนมให้ลูกพอ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความอุ่นใจ ช่วงลาคลอด 3 เดือน คุณแม่ควรปั๊มนมเก็บเป็นสต็อกไว้ให้มากพอสมควร ประมาณ 30-50 ถุงๆ ละ2-4 ออนซ์ เพราะเราไม่สามารถรู้สถานการณ์ในที่ทำงานว่าจะปั๊มนมได้อย่างที่ตั้งใจไว้หรือไม่

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM

ขั้นตอนการทำสต็อกน้ำนม

  1. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนการปั๊มน้ำนม

    และพยายามให้อุปกรณ์ทุกอย่างสะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้มีแบคทีเรียต่างๆ ที่อาจปนเปื้อนเข้าไปเจริญเติบโตในน้ำนมได้

  2. การเก็บน้ำนมใส่ถุง

    หากปั๊มนมแล้วยังไม่เต็มถุง สามารถใส่ขวดนมแช่เย็นเพื่อรอรวมกับนมที่ปั๊มครั้งถัดไปได้ แต่ต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง  เมื่อได้ปริมาณที่ต้องการแล้วให้รีดอากาศออก แล้วปิดซิปล็อก เขียนวันที่และรายละเอียดกำกับไว้บนถุง

  3. การจัดเก็บ

    ให้เรียงถุงนมใส่กล่องหรือตะกร้าให้แบนราบ เรียงลำดับวันที่ เมื่อจะใช้ก็เลือกถุงที่ปั๊มไว้แรกสุดก่อน คือเก็บก่อนเอามากินก่อน

  4. ทำความสะอาดอุปกรณ์หลังจากปั๊มน้ำนมเสร็จ

    ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ปั๊มน้ำนมด้วยน้ำร้อนผสมน้ำสบู่และล้างให้สะอาด ก่อนนำไปผ่านการฆ่าเชื้อทุกครั้ง

คุณแม่จะเห็นได้ว่าเพียงการเตรียมตัวด้วยการปั๊มนมทำสต็อกนมเก็บไว้ แม้จะกลับไปทำงานแต่ลูกน้อยก็ยังมีน้ำนมแม่กินได้ตลอด ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ในการปั๊มนมทำสต็อกนมให้ได้อย่างเพียงพอนะคะ

หากมีปัญหานมแม่ไม่พอ คลิกอ่านวิธีเลือกนมผงให้ลูก ที่นี่

กลับไปทำงานหลังคลอดอย่างไร ให้มั่นใจ หายห่วง พบคำตอบได้ที่นี่