Enfa สรุปให้

  • ทารกสามารถมองเห็นได้ตั้งแต่แรกคลอด แต่จะยังไม่สามารถมองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจนมากนัก และอาจจะยังไม่สามารถจำแนกสี ลักษณะ หรือระยะของวัตถุได้

  • ระยะที่เด็กทารกสามารถมองเห็นได้ในช่วงแรก อยู่ที่ประมาณ 8 – 10 นิ้ว และวัตถุที่มองเห็นนั้น จะต้องอยู่ด้านหน้าของเด็กทารก

  • ทารกจะสามารถรับรู้ระยะใกล้หรือไกลของวัตถุได้ เมื่อมีอายุ 5 – 8 เดือนขึ้นไป และจะสามารถประเมินระยะทางในการคลานไปยังที่ที่ต้องการได้เมื่ออายุประมาณ 9 – 12 เดือน


เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ทารกมองเห็นตอนไหน
     • การมองเห็นสีของทารก สายตาของเด็กทารกมองเห็นอะไรบ้างนะ
     • การมองเห็นของทารก พัฒนาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้
     • การมองเห็นของทารก 1 - 4 เดือนแรก
     • การมองเห็นของทารก 5 - 8 เดือนแรก
     • การมองเห็นของทารก 9 - 12 เดือนแรก
     • คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้อย่างไรว่าลูกมองเห็นแล้ว
     • กระตุ้นการมองเห็นของทารกอย่างไรดี

การมองเห็นทารก ถือเป็นก้าวแรกของการเรียนรู้และการจดจำสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านการมองเห็นของลูกน้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็นของทารกจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ และเห็นสิ่งต่าง ๆ บนโลกกว้างแห่งนี้

ทารกมองเห็นตอนไหน


ทารกมองเห็นตอนกี่เดือน เป็นคำถามที่คุณแม่มักถามกันบ่อย ๆ เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก คำตอบสำหรับทารกจะมองเห็นตอนกี่เดือนนั้น ตอบได้เลยว่าทารกสามารถมองเห็นได้ตั้งแต่แรกคลอด แต่การมองเห็นของลูกน้อยจะมีข้อจำกัด เนื่องจากดวงตาของลูกน้อยยังคงต้องใช้เวลาในการพัฒนาและเจริญเติบโต

เมื่อแรกคลอด ดวงตาของทารกจะมีขนาดที่เล็กกว่าดวงตาของผู้ใหญ่ โดยจะมีขนาดประมาณ 65% เมื่อเทียบกับดวงตาของผู้ใหญ่ มองเห็นภาพเลือน ๆ รวมทั้งยังไม่สามารถโฟกัสสิ่งต่าง ๆ ได้ดีมากนัก แต่สามารถมองเห็นสีได้ และมองได้ไกลประมาณ 8 – 10 นิ้ว

การมองเห็นสีของทารก สายตาของเด็กทารกมองเห็นอะไรบ้างนะ


เด็กทารกสามารถแยกความแตกต่างของโทนสีได้ตั้งแต่อยู่ในท้อง ว่าเป็นโทนเข้ม หรือโทนอ่อน เราอาจจะเคยได้ยินกันมาว่า เด็กทารกแรกเกิดสามารถมองเห็นได้แค่สีดำ สีเทา และสีขาว ซึ่งความเป็นจริงแล้ว เด็กทารกสามารถมองเห็นสีต่าง ๆ ได้แบบที่เรามองเห็นได้ แต่พัฒนาการทางสมองของเด็กยังไม่สามารถแยกแยะหรือรับรู้สีต่าง ๆ ได้ดีนัก เมื่อเทียบกับการมองเห็นในช่วงอายุที่โตกว่า

ดวงตาของเด็กทารกจะมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง จนสามารถแยกความแตกต่างของสีได้เมื่ออายุ 3 เดือนขึ้นไป โดยดวงตาของทารกจะมีการตอบสนองต่อวัตถุที่มีสีแดง สีเขียว สีฟ้า และสีเหลือง นอกจากนี้ สายตาของเด็กทารกจะเริ่มโฟกัสสิ่งต่าง ๆ ได้นานมากขึ้น ตามพัฒนาการการมองเห็นในแต่ละเดือน

การมองเห็นของทารก พัฒนาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้


พัฒนาการการมองเห็นของทารกจะมีพัฒนาการที่เปลี่ยนไปตามแต่ละช่วงเวลา โดยในช่วงแรกเกิด ทารกจะเริ่มมีพัฒนาการการมองเห็นใน 4 สัปดาห์แรก ดังนี้

          • แรกเกิด: พัฒนาการการมองของทารกจะเริ่มตั้งแต่แรกคลอด โดยในช่วงแรกเกิดนั้น การมองเห็นของทารกจะมีความคมชัดไม่มากนัก อีกทั้งยังมองเห็นได้แค่ในระยะใกล้ ๆ

          • สัปดาห์แรก: ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด ทารกสามารถมองเห็นวัตถุต่าง ๆ ที่อยู่ด้านหน้าได้ในระยะ 8 – 12 นิ้ว ซึ่งเป็นระยะห่างห่างที่พอดีกับระยะที่คุณแม่ให้นมแบบเข้าเต้า เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการการมองเห็นของลูกน้อย คุณแม่ควรสลับให้ลูกเข้าเต้าทั้งสองข้าง ร่วมกับการพูดคุยกับลูกน้อยไปพร้อม ๆ กัน

          • สัปดาห์ที่ 2: เมื่อทารกเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 จะเริ่มสามารถจดจำใบหน้าและโฟกัสกับวัตถุข้างหน้าได้ในบางครั้ง การอุ้มลูกเข้ามาใกล้ พูดคุย หรือแสดงอารมณ์บนใบหน้าในระ 8 – 12 นิ้ว จากหน้าของลูกเป็นอีกวิธีที่ช่วยกระตุ้นพัฒนการการมองเห็นของทารก

          • สัปดาห์ที่ 3: ทารกในช่วงเวลานี้ จะเริ่มหยุดมองหรือจ้องวัตถุที่อยู่ด้านหน้าได้ คุณแม่อาจจะเห็นว่าลูกน้อยจ้องหน้าคุณแม่ในขณะให้นมในระยะเวลาสั้น ๆ

          • สัปดาห์ที่ 4: จากที่เริ่มจ้องวัตถุได้ ในสัปดาห์นี้ ทารกจะสามารถมองวัตถุที่อยู่ด้านข้างได้ แต่จะเป็นการมองโดยหันไปมองวัตถุนั้น ๆ ทั้งศีรษะ

ถึงแม้ในช่วงแรกเกิด การมองเห็นของทารกอาจจะยังไม่สามารถทำได้เต็มที่มากนัก แต่ทารกจะมีพัฒนาการการมองเห็นที่พัฒนาตามช่วงอายุในแต่ละเดือนไปเรื่อย ๆ จนสามารถมองเห็นวัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

การมองเห็นของทารก 1 – 4 เดือนแรก


การมองเห็นของทารก 1 – 4 เดือนแรก จะเริมต้นขึ้นเมื่อแรกเกิด โดยในเดือนแรก ๆ อาจจะไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลกว่า 8 – 10 นิ้ว ขึ้นไปได้ ดวงตาทั้งสองข้างอาจจะยังทำงานพร้อมกันไม่ได้มากนัก บางครั้งอาจจะเห็นว่าดวงตาลูกมีลักษณะตาเข

การมองเห็นของสีในช่วงนี้ ยังไม่สามารถแยกความแตกต่างของแต่ละสีได้ดีนัก บางครั้งอาจจะมีการยกมือคว้าตามวัตถุที่มองเห็น การใช้ของเล่นที่มีสีสดเล่นกับลูกน้อยในช่วงนี้ จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการการมองของทารกได้เป็นอย่างดี และเมื่อเข้าสู่เดือนที่ 4 ทารกจะสามารถมองวัตถุในระยะไกลได้ชัดเจนขึ้น

การมองเห็นของทารก 5 – 8 เดือนแรก


ทารกจะสามารถรับรู้ระยะใกล้หรือไกลของวัตถุได้ มองได้ว่าวัตถุสิ่งนี้มีลักษณะลึก ตื้น หนา หรือบาง รวมทั้งให้ความสนใจกับวัตถุที่เห็น มีการจับสิ่งต่าง ๆ เพื่อสำรวจวัตถุที่มองเห็นเหล่านั้น นอกจากจะสามารถรับรู้ระยะและลักษณะได้แล้ว การมองเห็นสีต่าง ๆ ของทารกจะมองได้ดีขึ้นกว่าช่วงเวลาก่อนหน้า

การมองเห็นของทารก 9 – 12 เดือนแรก


เมื่อใกล้อายุ 1 ขวบ การมองเห็นของทารกจะสามารถประเมินระยะทาง หรือกำหนดทิศทางในการคลานไปยังที่ที่ต้องการ หรือการโยนวัตถุต่าง ๆ ไปยังเป้าหมายได้เป็นอย่างดี สามารถโฟกัสวัตถุที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วได้

คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้อย่างไรว่าลูกมองเห็นแล้ว


ทารกจะเริ่มมองเห็นได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่ยังไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนมากนัก การกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็นของทารกตั้งแต่แรกเกิด จะช่วยเสริมสร้างการมองเห็นของทารกในแต่ละช่วงอายุได้ดีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการอุ้มลูกเข้าเต้า เพื่อให้เขาได้มองเห็นใบหน้าของคุณแม่ การใช้ของเล่นที่มีสีสัน หรือหนังสือภาพเพื่อให้เขาได้ลองฝึกมองสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งพูดคุยกับลูกก็สามารถช่วยเสริมสร้างพัฒนาการการมองเห็นของทารกได้

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่สังเกตว่าลูกน้อยไม่มีพัฒนาการการมองเห็นตามที่ควรจะเป็น หรือมีปัญหาในการมอง เช่น

          - ดวงตาอีกข้างเขผิดปกติ
          - ดวงตามีอาการแดงหรือบวม
          - ทารกเอียงศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่งบ่อยครั้ง
          - ทารกหลับตาข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานานกว่าปกติ

ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของอาการเหล่านี้ รวมไปถึงข้อสงสัยหรือข้อกังวลใจอื่น ๆ ก็สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้

กระตุ้นการมองเห็นของทารกอย่างไรดี


ถึงแม้ว่าพัฒนาการการมองเห็นของทารกจะสามารถเติบโตได้ตามช่วงวัย แต่การกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็นของทารกเสริมเพิ่มเติมเข้ามา ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะการมองเห็นของลูกน้อยได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเสริมสร้างพัฒนาการด้วยวิธีต่าง ๆ เหล่านี้

          • เด็กทารกแรกเกิดจน ถึงอายุ 4 เดือน: คุณแม่ควรมีการติดตั้งของเล่นในระยะห่าง 8 – 12 นิ้ว หรือในระยะที่ทารกมองโฟกัส และเอื้อมสัมผัสถึง อีกทั้งควรพูดคุยกับทารกพร้อมกับเดินไปรอบ ๆ ห้องให้บ่อยครั้ง เพื่อให้เกิดการพัฒนา ด้านการจดจำไปในตัว

          • เด็กทารกอายุตั้งแต่ 5 ถึง 10 เดือน: ควรหาอุปกรณ์ของเล่นที่ช่วยฝึกทักษะการหยิบจับ เช่น ตัวต่อพลาสติก เป็นต้น และวางพื้นที่จำกัดภายในบ้านที่เหมาะสมปลอดภัยในการปล่อยให้ทารกเคลื่อนไหวไปมา เพื่อสังเกตการมองเห็นของทารกไปยังจุดต่าง ๆ

          • เด็กทารกอายุตั้งแต่ 9 ถึง 12 เดือน: คุณแม่อาจหาเกมที่ช่วยฝึกให้ลูกรักรู้จักการสังเกต เช่น การเล่นซ่อนหา ของเล่นเกี่ยวกับคำศัพท์ หรือสอนการจดจำของสี เป็นต้น เพราะลูกรักในช่วงอายุนี้สามารถเห็นรูปร่าง รวมถึงสีของวัตถุได้ค่อนข้างชัดเจน และกำลังเรียนรู้จากการมองเห็นเพื่อนำมาจดจำว่าสิ่งใดเป็นสิ่งใด

สิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรระวังในระหว่างการพัฒนาด้านการมองเห็นของลูกน้อยนั้น อาจเป็นการเคลื่อนไหวของลูกตาที่ตอบสนองต่อวัตถุล่าช้า หรือมีลูกตาหันเข้าด้านใน ซึ่งหากเกิดอาการดังกล่าวขึ้น โปรดรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และการรักษาในทันที



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่