ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ภาวะลิ้นติดในทารก

รู้จักกับ “ภาวะลิ้นติดในทารก”

คุณแม่เคยเจอปัญหาปัญหาในการให้นมลูก อย่าง เจ็บหัวนม มีรอยกด หรือรอยเป็นริ้ว ๆ บนหัวนมหลังลูกดูดนมแล้ว ได้ยินเสียงคล้ายกระเดาะลิ้นจากลูก รวมถึงน้ำหนักตัวลูกไม่ขึ้น หรือขึ้นช้า กันบ้างไหม? หากคุณแม่เคยเจอปัญหาเหล่านี้ อาจจะเป็นได้ว่า ลูกน้อยของเรามีอาการที่เรียกว่า “ภาวะลิ้นติด”

“ภาวะลิ้นติด” คืออะไร

ภาวะลิ้นติด คือ ภาวะที่มีเนื้อเยื่อพังผืดยึดติดระหว่างใต้ลิ้น กับพื้นล่างระหว่างช่องปากผิดปกติ ทำให้เกิดข้อจำกัดในเคลื่อนที่ของลิ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในการดูดนมของลูก ภาวะนี้พบได้ในเด็กทารกแรกเกิด และเด็กที่มีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งภาวะลิ้นติดนี้ อาจจะดีขึ้นเองเมื่อเด็กโตขึ้น หรืออาจจะยังอยู่แต่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน

วิธีสังเกตภาวะลิ้นติดในทารก

          - ลูกไม่สามารถเปิดปากกว้างพอได้ และเข้าเต้าได้ไม่ดี
          - ลูกมักเคี้ยวหัวนม มากกว่าดูด และใช้เวลาในการดูดนาน
          - มีการหยุดดูดในช่วงสั้น ๆ และกลับมาดูดต่อ รวมถึงมีเสียงดังคลิกขณะดูดนม
          - น้ำหนักของลูกน้อย หรือขึ้นช้ากว่าปกติ และหิวอยู่ตลอดเวลา
          - คุณแม่มีอาการเจ็บหัวนม หัวนมแตก มีรอยกด หรือรอยเป็นริ้ว ๆ บนหัวนม

หากพบปัญหาเหล่านี้ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินอาการต่อไป เบื้องต้นแพทย์อาจจะยังไม่ได้แนะนำให้รักษาทันที รอดูอาการไปก่อน ยกเว้นในกรณีที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อาจจะทำให้มีปัญในการดูดนมระยะยาว ออกเสียงยากลำบาก หรืออาจจะส่งผลต่อสุขภาพอนามัยในช่องปากในอนาคต ก็อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดต่อไป

 

References

บทความที่แนะนำ

ลูกตาแฉะ คุณแม่มือใหม่แก้ไขอย่างไรดี
เคล็ด (ไม่) ลับ เพิ่มน้ำนมแม่ให้ลูกน้อย
ฝึกพัฒนาการให้กับลูกน้อยด้วยการฝึกคว่ำ
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner