ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ฉีดวัคซีนเด็กทารก

ฉีดวัคซีนสำหรับลูกน้อยวัย 1 – 12 เดือน ที่คุณแม่ควรรู้!

นอกจากการพาเจ้าตัวเล็กไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่ขาดไม่ได้นั่นคือ เรื่องของวัคซีน ลูกน้อยของเราจะได้รับวัคซีนพื้นฐานในแต่ละช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 12 ปี การฉีดวัคซีนเป็นการกระตุ้นภูมิ ให้สร้างเกาะป้องกันโรคต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเด็ก ๆ ทุกคน

สำหรับการฉีดวัคซีนในเด็กทารกวัย 1 – 12 เดือน ตามคำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย 2564 แนะนำวัคซีนที่จำเป็นให้กับเด็กทารกวัย 1 – 12 เดือน ดังนี้

วัคซีนจำเป็นต้องให้กับเด็กทารกวัย 1 – 12 เดือน

1. วัคซีนวัณโรค (BCG)
วัคซีนวัณโรคจะฉีดเมื่อแรกเกิด หรือหลังการคลอด จะฉีดบนไหล่ด้านซ้าย ไม่ฉีดที่สะโพก โดยส่วนใหญ่แล้ว หลังคุณแม่คลอดลูกน้อย ทางโรงพยาบาลจะจัดการฉีดวัคซีนตัวนี้ให้เลย ก่อนที่คุณแม่และลูกน้อยจะออกจากโรงพยาบาล

ในกรณีที่เด็กยังไม่เคยมีประวัติ หลักฐาน หรือแผลเป็นจากการฉีดวัคซีนตัวนี้มาก่อน สามารถเข้ารับการฉีดได้ทันที และไม่จำเป็นต้อนฉีดซ้ำหากมีประวัติในการฉีดแล้ว

2. วัคซีนตับอักเสบบี (HB)
วัคซีนตับอักเสบบี เป็นวัคซีนอีกตัวที่เด็กจะได้รับหลังการคลอด ซึ่งวัคซีนตัวนี้เป็นวัคซีนที่เด็กทุกคนต้องได้รับอย่างน้อย 3 ครั้ง และเข็มสุดท้ายที่ได้รับต้องอายุมากกว่า หรือเท่ากับ 6 เดือน โดยมีข้อแนะนำในการรับวัคซ๊นตับอักเสบบี ดังนี้

          • เด็กที่คลอดจากคุณแม่ที่มี HBsAg เป็นลบ ให้ฉีดวัคซีน จำนวน 3 ครั้ง ภายใน 24 ชม. เข็มแรกหลังการคลอด เข็มที่ 2 ช่วงอายุ 1 – 2 เดือน และเข็มสุดท้ายในช่วงอายุ 6 เดือน ตามลำดับ
          • กรณีไม่ทราบผลเลือดของคุณแม่ ควรให้วัคซีนครั้งแรกภายใน 12 ชม. หลังคลอด ครั้งที่ 2 แลครั้งที่ 3 ที่อายุ 1 เดือน และ 6 เดือนตามลำดับ
          • เด็กที่คลอดจากคุณแม่ที่มี HBsAg เป็นบวก (โดยเฉพาะ HBeAg เป็นบวกด้วย) พิจารณาให้ HBIG 0.5 มล. ภายใน 12 ชม. หลังคลอด และให้วัคซีนครั้งที่ 1 พร้อมกันคนละข้างกับ HBIG
                    - กรณีเด็กได้รับ HBIG ให้ฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 1 – 2 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน
                    - กรณีทารกไม่ได้รับ HBIG ควรให้วัคซีนครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 1 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน
          • ในกรณีที่มาทราบภายหลังว่า คุณแม่มี HBsAg เป็นบวก ควรพิจารณาให้ HBIG ถ้าเด็กได้รับวัคซีนมาแล้วไม่เกิน 7 วัน
          • ตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข ใช้วัคซีนรวมที่มี คอตีบ – บาดทะยัก – ไอกรน – ตับอักเสบบี – ฮิบ (DTP-HB-Hib) ที่อายุ 2, 4 และ 6 เดือน ถ้าหากคุณแม่มี HBsAg เป็นบวก และเด็กไม่ได้รับ HBIG ควรให้วัคซีนตับอักเสบบีแบบเดี่ยวเพิ่มตอนอายุ 1 เดือนด้วย (รวมเป็น 5 ครั้ง)
          • เด็กที่คลอดจากคุณแม่ที่มี HBsAg เป็นบวก ควรตรวจ HBsAg และ anti-HBs เมื่ออายุประมาณ 9 – 12 เดือน

3. วัคซีนคอตีบ – บาดทะยัก – ไอกรน (DTwp)
วัคซีนชนิดนี้ เด็ก ๆ จะได้รับในช่วงวัย 2, 4 และ 6 เดือน สามารถใช้วัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์ (DTaP) แทนชนิดเซลล์ (DTwP) ได้ทุกครั้ง ในกรณีที่ใช้ชนิดไร้เซลล์ (DTaP) ควรใช้ชนิดเดียวกันทั้ง 3 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน หากไม่สามารถใช้ชนิดเดียวแทนกันได้ ให้ใช้ชนิดใดแทนกันก็ได้ และยังมีข้อแนะนำเพิ่มเติม ดังนี้

          • สำหรับวัคซีนเข็มกระตุ้นที่ 18 เดือน อาจใช้ DTwP หรือ DTaP หรือ pentavalent (DTP-HB-Hib) ชนิดใดก็ได้
          • เมื่ออายุ 4 – 6 ปี อาจจะใช้ DTwP, DTaP หรือ Tdap (Boostrix™ หรือ Adacel™) ก็ได้
          • เมื่อเด็กอายุ 11 – 12 ปี ควรได้รับการฉีด Td หรือ TdaP (Boostagen™) ไม่ว่าจะเคยได้รับ Tdap เมื่ออายุ 4 – 6 ปี มาก่อนหรือไม่ หลังจากนั้นควรได้รับการฉีดกระตุ้นด้วย Td/Tdap ทุก 10 ปี
          • สำหรับผู้ใหญ่ควรได้รับ Tdap หรือ TdaP 1 เข็ม ไม่ว่าจะเคยได้รับ TT หรือ Td มานานเท่าไหร่แล้วก็ตาม จากนั้นให้ฉีดกระตุ้นด้วย Td/Tdap ทุก 10 ปี
          • หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับ Tdap/TdaP 1 เข็ม ที่อายุครรภ์ 27 – 36 สัปดาห์ทุก ๆ การตั้งครรภ์
          • ในปัจจุบันมีวัคซีน aP (Pertagen™) สำหรับผู้ที่มีอายุ 11 ปีขึ้นไป ที่ต้องการภูมิคุ้มกันต่อโรคไอกรนเพียงอย่างเดียว โดยมีภูมิคุ้มกันต่อคอตีบ และบาดทะยักเพียงพอแล้ว

4. วัคซีนฮิบ (Hib)
ฮิบ หรือ เชื้อฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา ชนิดบี เป็นเชื้อแบคทีเรียที่สาเหตุของโรคอย่าง โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคปอดอักเสบ เป็นต้น โดยเด็กจะได้วัคซีนฮิบในช่วงวัย 2, 4 และ 6 เดือน เหมือนกับวัคซีนคอตีบ – บาดทะยัก – ไอกรน

หากเด็กมีสุขภาพแข็งแรง อาจจะไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเมื่ออายุ 12 – 18 เดือน แนะนำให้ฉีดในผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่มีม้าม หรือม้ามทำงานผิดปกติ และไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนฮิบในเด็กที่มีภูมิคุ้มกันปกติ อายุ 2 ปี ขึ้นไป

5. วัคซีนโปลิโอ (OPV, IPV)
สำหรับวัคซีนโปลิโอ จะเป็นวัคซีนชนิดกิน (OPV) และชนิดฉีด (IPV) เด็กจะได้วัคซีนแบบกินก่อน โดยแต่ละครั้งจะต้องหยดวัคซีน 5 ครั้ง และเมื่อเด็กอายุ 4 เดือน จะให้วัคซีนชนิดกิน ร่วมกับวัคซีนชนิดฉีด 1 เข็ม โดยจะเด็กจะได้รับวัคซีนโปลิโอในอายุ 2, 4 และ 6 เดือน ตามลำดับ

6. วัคซีนโรต้า (Rota)
วัคซีนโรต้า เป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันเชื้อไวรัสโรต้า ที่ทำให้เกิดอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ และอาเจียนรุนแรงในทารก และเด็กเล็ก โดยเด็กจะได้รับวัคซีนในช่วงวัย 2, 4 และ 6 เดือน โดยมีข้อแนะนำการรับวัคซีน ดังนี้

          • วัคซีนโรต้า มีด้วยกัน 2 ชนิด แบ่งออกเป็น
                    - ชนิด monovalent มี 2 ชนิด ได้แก่ human monovalent (Rotarix™) ให้กิน 2 ครั้ง เมื่ออายุประมาณ 2 และ 4 เดือน และ human-bovine monovalent (Rotavac™) ให้กิน 3 ครั้ง เมื่ออายุประมาณ 2, 4 และ 6 เดือน
                    - ชนิด human-bovine pentavalent (RotaTeq™, Rotasiil™) ให้กิน 3 ครั้ง เมื่ออายุประมาณ 2, 4 และ 6 เดือน

โดยวัคซีนทั้ง 4 ชนิด สามารถเริ่มให้ได้ครั้งแรกได้ เมื่ออายุ 6 – 15 สัปดาห์ และครั้งสุดท้ายไม่เกิน 8 เดือน โดยแต่ครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์ อาจจะพิจารณาให้ในเด็กที่มีอายุมากกว่าที่กำหนดไว้ได้ แต่อายุต้องไม่เกิน 2 ปี ซึ่งเป็นคำแนะนำขององค์กรอนามัยโลก โดยแพทย์ควรอธิบายความเสี่ยงให้ผู้ปกครองได้ทราบ

          • ควรใช้วัคซีนชนิดเดียวกันจนครบ หากจำเป็นต้องใช้วัคซีนต่างชนิดกันในแต่ละครั้ง หรือไม่ทราบว่าครั้งก่อนหน้าได้รับวัคซีนชนิดอะไรมา ต้องให้วัคซีนทั้งหมด 3 ครั้ง
          • สามารถให้วัคซีนโรต้าร่วมกับวัคซีนโปลิโอชนิดกินได้
          • ห้ามใช้วัคซีนนี้ ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง severe combined immune deficiency (SCID) และในเด็กที่มีประวัติลำไส้กลืนกัน

7. วัคซีนหัด – คางทูม – หัดเยอรมัน (MMR)
วัคซีนหัด – คางทูม – หัดเยอรมัน จะให้ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 9 – 12 เดือน และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 18 เดือน หากเด็กอยู่ในพื้นที่ที่มีการรายงานโรคหัดจำนวนน้อย อาจจะฉีดเข็มแรกเมื่ออายุ 12 เดือน และยังมีข้อแนะนำในการรับวัคซีนตัวนี้ ดังนี้

          • ในกรณีที่มีการระบาด หรือสัมผัสโรค ควรเริ่มฉีดวัคซีน และฉีดให้ครบโดยเร็ว ดังนี้
                    - สามารถเริ่มฉีดเข็มแรก ตั้งแต่อายุ 6 – 9 เดือน ให้ฉีดซ้ำเข็มที่ 2 ที่อายุ 12 เดือน และเข็มที่ 3 ที่อายุ 18 เดือน
                    - ถ้าเริ่มฉีดเข็มแรกตั้งแต่อายุ 9 – 12 เดือน ให้ฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน ได้ 2 เข็ม ถือว่าฉีดครบ
                    - ถ้าเริ่มฉีดเข็มแรกหลังอายุ 12 เดือน ให้ฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 1 เดือน ได้ 2 เข็ม ถือว่าฉีดครบ

ทั้งนี้ ในกรณีที่ต้องการควบคุมโรคระบาดของหัด อาจใช้วัคซีนหัด – หัดเยอรมัน (MR) แทนได้ในเด็กที่มีอายุมากกว่า 4 ปี และผู้ใหญ่

          • ในกรณีที่ต้องการการฉีดวัคซีน หัด – คางทูม – หัดเยอรมัน และอีสุกอีใสในเวลาเดียวกัน สามารถใช้วัคซีนรวม หัด – คางทูม - หัดเยอรมัน – อีสุกอีใส (MMRV) แทนการฉีดแบบแยกเข็มได้ทุกครั้งในเด็ก ที่มีอายุตั้งแต่ 1 – 12 ปี
          • การใช้วัคซีนรวม MMRV ในเด็กอายุ 12 – 23 เดือน เข็มแรกมีโอกาสที่จะเกิดอาการชักได้มากกว่าการฉีดแยกเข็ม สำหรับการฉีดวัคซีนรวม MMRV ที่อายุ 2 – 4 ปี พบมีอาการข้างเคียงไม่ต่างกัน
          • กรณีเคยได้วัคซีน MMR หรือ VZV มาก่อน แนะนำให้ฉีดวัคซีนรวม MMRV ห่างจากวัคซีน MMR และ VZV ครั้งก่อน อย่างน้อย 3 เดือน

8. วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (Live JE)
วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี มีด้วยกันอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต (inactivated; JEVAC™) ฉีด 3 ครั้ง เริ่มเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป เข็มต่อมาอีก 1 – 4 สัปดาห์ และ 1 ปีตามลำดับ อีกชนิดคือ วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต (live JE; CD-JEVAX™ และ IMOJEV™/THAIJEV™) ให้ฉีด 2 ครั้ง เข็มแรกที่อายุ 9 – 12 เดือน เข็มต่อมาอีก 12 – 24 เดือน live JE ทั้งสองชนิดสามารถใช้แทนกันได้

นอกจากนี้ สามารถใช้วัคซีนชนิดมีเชื้อชีวิต (live JE) ฉีดกระตุ้นในผู้ที่เคยฉีดวัคซีนชนิดไม่มีชีวิต (inactivated JE) ได้ และสามารถใช้วัคซีนชนิดไม่มีชีวิต (inactivated JE) ฉีดกระตุ้นในผู้ที่เคยฉีดชนิดมีเชื้อชีวิต (live JE) ได้ โดยห่างกันอย่างน้อย 12 เดือน

สำหรับผู้ที่เคยรับวัคซีนเชื้อไม่มีชีวิตชนิด mouse-brain derived vaccine ครบแล้ว อาจจะพิจารณาให้วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิตกระตุ้นซ้ำอีก 1 ครั้ง โดยห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 1 ปี

9. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
วัคซีนไช้หวัดใหญ่ เป็นวัคซีนสำคัญอีกตัวที่เด็กทารกควรได้ โดยวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะพิจารณาให้ฉีด ตอนเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี และเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรง เช่น เด็กที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง (รวมหอบหืด), โรคหัวใจ, โรคอ้วน BMI มากกว่า 35, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง, หญิงตั้งครรภ์ และโรคเรื้อรังอื่น ๆ เป็นต้น

ตารางการให้วัคซีนสำหรับลูกน้อยวัย 1 – 12 เดือน

 

วัคซีน/อายุ

แรกเกิด

1 เดือน

2 เดือน

4 เดือน

6 เดือน

9 – 12 เดือน

วัคซีนวัณโรค (BCG)

BCG

 

 

 

 

 

วัคซีนตับอักเสบบี (HB)

HB

(HB2)

DTwp

HB Hib1

DTwp

HB Hib2

DTwp

HB Hib3

 

วัคซีนคอตีบ – บาดทะยัก – ไอกรน (DTwp)

 

 

 

วัคซีนฮิบ (Hib)

 

 

 

วัคซีนโปลิโอ (OPV, IPV)

 

 

OPV1

OPV2

IPV

OPV3

 

วัคซีนโรต้า (Rota)

 

 

Rota1

Rota2

(Rota3)

 

วัคซีนหัด – คางทูม – หัดเยอรมัน (MMR)

 

 

 

 

 

MMR1

วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (Live JE)

 

 

 

 

 

JE1

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

 

 

 

 

ให้ 2 เข็ม

ห่างกัน 1 เดือน

ในครั้งแรก

ทั้งนี้การให้วัคซีนช่วงตลอดช่วงอายุ 1 – 12 เดือนของลูกน้อย อาจจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่โดยหลัก ๆ แล้ว เด็กในช่วงวัยนี้ จะได้รับวัคซีนตามที่กำหนดไว้หลัก ๆ ประมาณ 9 ตัวด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีวัคซีนอื่น ๆ ที่จะเสริม หรือทดแทน ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมิน และคำแนะนำของแพทย์ ดังนั้นคุณแม่ ควรพาลูกน้อยเข้ารับวัคซีนตามที่แพทย์นัดหมายให้ครบถ้วน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นฐานสำคัญของสุขภาพลูกน้อย

Reference:

          - ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย แนะนำโดย สมาคมโรคติดต่อเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย 2564
          - วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กแรกเกิด- 12 ปีที่พ่อแม่ต้องรู้
          - ป้องกันโรคปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ...ด้วยการฉีดวัคซีนฮิบ!
          - ปกป้องลูกน้อยจากไวรัสโรต้าได้ ด้วยวัคซีนโรต้า!

บทความที่แนะนำ

ลูกตาแฉะ คุณแม่มือใหม่แก้ไขอย่างไรดี
เด็กทารกฝันได้หรือไม่
คุณแม่ควรเริ่มให้อาหารตามวัยนอกเหนือจากนมแม่เมื่อไหร่
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner