ลูกหลับดี ยิ่งมี “พัฒนาการสมอง” ต่อเนื่อง

 

 


ช่วงเวลาที่ลูกน้อยเข้านอน ระบบต่าง ๆ ของร่างกายจะเข้าสู่โหมดพักผ่อนเพื่อพักฟื้นและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เตรียมพร้อมสำหรับการทำงานในวันถัดไป แต่ไม่ใช่สำหรับสมองที่ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องแม้ในยามหลับไหล โดยสมองจะเชื่อมต่อและสร้างเซลล์สมองนับล้านให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

เราอาจจะเข้าใจกันมาตลอดว่า ร่างกายและระบบอวัยวะต่าง ๆ ของลูกน้อยจะเข้าสู่โหมดพักผ่อนทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีสมองที่ยังคงทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่สมองค่อนข้างยุ่งกันเลยทีเดียว เนื่องจากสมองของลูกน้อยนั้น จะทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้มาในแต่ละวัน นำมาสร้างเป็นความทรงจำระยะยาวเพื่อนำมาใช้งานในภายหลัง ดังนั้นพัฒนาการสมองและการเรียนรู้ไม่ได้ทำงานแค่ช่วงเวลากลางวันเท่านั้น แต่ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลากลางคืนที่ลูกน้อยเข้านอนอีกด้วย

เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการสมองของลูกน้อยอย่างต่อเนื่อง การนอนหลับที่ดีและมีคุณภาพจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กในทุก ๆ วัย โดยการนอนหลับที่ดี ไม่เพียงช่วยในเรื่องของพัฒนาการสมองเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างระบบอื่น ๆ ของร่างกายลูกน้อยให้ทำงานได้ดีอีกด้วย

เข้าใจการนอนของทารก

ทารกควรนอนวันละกี่ชั่วโมง คุณพ่อคุณแม่จะจัดตารางเลี้ยงลูกยังไงดี

อ่านต่อ

วิธีรับมือเมื่อลูกไม่ยอมนอน

ลูกนอนยาก ไม่ยอมนอน ร้องไห้งอแงเมื่อวางบนที่นอน มาดูวิธีแก้กัน

อ่านต่อ

ฝึกลูกนอนเองให้ได้ผล

วิธีเริ่มฝึกลูกน้อยให้นอนได้ด้วยตัวเอง และนอนยาวโดยไม่ร้องกลางดึก

อ่านต่อ

ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับลูกน้อย

ทารกแรกเกิดนอนท่าไหนดี
นอนแบบไหนปลอดภัยกับลูก

อ่านต่อ

ลูกนอนหลับไม่สนิท ทำยังไงดี

ทำไมลูกน้อยถึงนอนหลับไม่สนิท หลับยาก
ตื่นบ่อย

อ่านต่อ

FAQ เกี่ยวกับการนอนหลับของลูก

อ่านคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการนอนหลับของลูกน้อย

อ่านต่อ

นอกเหนือจากการนอนหลับที่มีคุณภาพและดีแล้ว การที่ลูกน้อยได้รับโภชนาการที่เหมาะสมและครบถ้วนตามช่วงวัยควบคู่กันไปด้วย จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองให้ก้าวล้ำทั้ง IQ และ EQ ยิ่งขึ้นไป โดยสำหรับเด็กทารกนั้น ควรได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิด – 6 เดือนแรก และให้นมแม่อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับอาหารตามวัยจนอายุ 2 ปี เพราะนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM ที่ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซด์ รวมไปถึงสารอาหารอย่าง DHA สารอาหารเหล่านี้ ล้วนมีส่วนช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการที่รอบด้าน ทั้งสมอง ภูมิคุ้มกัน และระบบทางเดินอาหาร

ทั้งนี้ เมื่อลูกน้อยเข้าสู่ช่วงวัยที่สามารถรับประทานอาหารตามวัยเด็กทารก หรืออาหารแบบผู้ใหญ่ได้แล้ว อาหารที่ได้รับนั้น ควรมีสารอาหารครบ 5 หมู่ มีการปรุงที่ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งเสริมด้วยนมระหว่างวันเป็นประจำ และที่สำคัญ ควรเสริมด้วยโภชนาการเสริมสารอาหารอีก 1 แก้วทุกคืนก่อนนอน ซึ่งควรเป็นโภชนาการที่ย่อยง่ายและมีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM เพื่อช่วยพัฒนาสมองได้อีกเช่นกัน


เพื่อให้ลูกน้อยหลับดีและมีพัฒนาการสมองต่อเนื่อง คุณแม่สามารถใช้เคล็ดลับง่าย ๆ เหล่านี้ ช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับได้ดีและมีคุณภาพกันค่ะ

 

นอกจากการฝึกลูกน้อยให้นอนหลับได้เองเป็นกิจวัตรแล้ว การสร้างกิจวัตรประจำวันอื่น ๆ ก่อนนอนก็สามารถช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับได้ดีเช่นกัน เช่น การอ่าน หรือเล่านิทานให้ฟังก่อนนอน จะทำให้ลูกผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการ และการเรียนรู้ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นช่วงเวลาของครอบครัวในการทำกิจกรรมร่วมกันได้อีกด้วย

ควรสร้างบรรยากาศในห้องนอนให้เหมาะสมสำหรับการนอน โดยห้องนอนไม่ควรมีแสงสว่าง หรือเสียงรบกวน รวมทั้งยังควรมีอุณหภูมิที่พอดีไม่ร้อน หรือหนาวเกินไป นอกจากนี้ ลูกน้อยควรรู้สึกปลอดภัยในระหว่างการเข้านอน ไม่ควรสร้างความกังวลให้กับลูกน้อยจนนอนไม่หลับ เช่น การเล่าเรื่องผี การขู่ให้ลูกน้อยรู้สึกกลัว เป็นต้น

เพื่อการเสริมสร้างพัฒนาการสมองอย่างเต็มที่ นอกจากการนอนหลับที่มีคุณภาพแล้ว ยังควรเสริมด้วยโภชนาการที่ดีด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเสริมด้วยนมอุ่น ๆ ในมื้อเย็น มื้อสุดท้ายก่อนเข้านอน โดยควรดื่มนมที่มีสารอาหารอย่าง MFGM และ DHA ที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพัฒนารอบด้านของลูกน้อย โดยเฉพาะพัฒนาการสมองที่ต่อเนื่องตลอดเวลา ให้ก้าวล้ำทั้ง IQ และ EQ

สำหรับคุณแม่ที่กังวลว่าลูกน้อยอาจแน่นท้อง ท้องอืด หรือต้องตื่นกลางดึกเพราะไม่สบายท้อง อาจเลือกโภชนาการที่ย่อยง่าย มี PHP โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน เพื่อให้ลูกน้อยสบายท้อง ไม่รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง หรือตื่นมาร้องไห้โยเยกลางดึก เมื่อลูกน้อยไม่มีอาการไม่สบายท้องมากวนใจ ก็จะหลับได้ยาว สมองก็จะพัฒนาได้เต็มที่และต่อเนื่องด้วยเช่นกัน


เพื่อการนอนหลับที่มีคุณภาพของลูกน้อย การสร้างวินัยในการเข้านอนก็เป็นอีกเรื่องที่เรามองข้ามไม่ได้ โดยหลัก ๆ แล้วควรมีกิจกรรมที่ทำเป็นกิจวัตรก่อนเข้านอนประมาณ 3 – 4 อย่าง เช่น แปรงฟัน อ่านนิทาน เข้าห้องน้ำ พูดคุยสรุปเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เป็นต้น ซึ่งยังควรทำกิจกรรมเหล่านี้ ซ้ำไปเรื่อย ๆ ในละคืน รวมทั้งยังควรทำในเวลาเดิมของทุก ๆ วันอีกด้วย ตัวอย่างกิจกรรมก่อนเข้านอน เช่น

          • ดื่มน้ำ หรือดื่มนม
          • ขับถ่าย
          • แปรงฟัน
          • อ่าน หรือเล่านิทาน
          • กอด
          • พูดคุย

ทั้งนี้ ระหว่างที่พาลูกน้อยเข้านอน เราสามารถแสดงความรักด้วยการหอม หรือจูบราตรีสวัสดิ์ได้ นอกจากนี้ยังควรสร้างบรรยากาศในห้องให้มืด หรี่ไฟ หรือปิดไฟให้พร้อมสำหรับเข้านอน เราควรออกจากห้องนอนในช่วงที่ลูกกำลังใกล้หลับ แต่ยังไม่ได้หลับ เพื่อฝึกให้ลูกน้อยสามารถหลับด้วยตัวเองได้ และไม่เป็นกังวลหรือตกใจในกรณีที่มีการตื่นขึ้นมาระหว่างคืน

 


ในช่วงแรก ๆ ที่ฝึกลูกน้อยเข้านอน อาจจะต้องใช้เวลาในการฝึกและความอดทนพอสมควร ซึ่งการฝึกการเข้านอนของเด็กแต่ละคนก็ยังมีความยากง่ายแตกต่างกันออกไปอีกเช่นกัน บางวิธีอาจจะใช้ได้ผลกับบางบ้าน บางวิธีอาจจะใช้ไม่ได้ผลเลยก็มี เพื่อให้กิจวัตรการเข้านอนของลูกน้อยมีประสิทธิภาพ ควรทำและไม่ควรทำสิ่งเหล่านี้ เมื่อลูกน้อยเข้านอน

 

 

          สำหรับกิจกรรมก่อนเข้านอนที่ต้องทำเป็นกิจวัตรนั้น ควรฝึกในทุก ๆ วัน ทำกิจกรรมเดิม ในเวลาเดิม และใช้เวลาในการทำกิจกรรมเท่าเดิมเหมือน ๆ กันในทุกวัน เพื่อให้ลูกน้อยได้คุ้นชินและทำเป็นกิจวัตรเหล่านั้นเป็นประจำ

          กิจกรรมก่อนเข้านอนทั้งหมดควรใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง – 1 ชั่วโมง หรือใช้เวลาเกินกว่านี้ได้เล็กน้อย การใช้เวลานานเกินกำหนดกับกิจกรรมก่อนเข้านอนจะทำให้ลูกน้อยเข้านอนช้าและหลับได้ยากขึ้น และควรทำทุกอย่างให้ราบรื่นไม่เร่งเกินไปจนทำให้ลูกน้อยรู้สึกอึกอัด

          กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย การเล่นในพื้นที่โล่งแจ้งในระหว่างวัน จะช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับได้ง่ายขึ้น เมื่อถึงเวลาเข้านอน

          การฝึกการเข้านอนและกิจวัตรก่อนเข้านอน ในบางครั้งอาจจะกลายเป็นรูปแบบคำสั่งที่อาจจะทำให้ลูกน้อยอึดอัด รู้สึกขาดอิสระ จนทำให้มีภาพจำและความรู้สึกไม่ดีเมื่อต้องเข้านอน เราควรเปิดโอกาสถามให้ลูกน้อยแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ตนเองต้องการบ้าง เช่น ต้องการอ่านนิทานเรื่องใด ใส่เสื้อผ้าแบบไหน หรือกิจกรรมไหนที่เขาอยากทำ อยากเปลี่ยน เป็นต้น

          ในห้องนอน หรือพื้นที่ที่ลูกน้อยเข้าน้อย ควรมีอากาศที่ถ่ายเท ไม่เย็น หรือร้อนเกินไปจนทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ห้องนอนควรมืด ไม่ควรมีแสงสว่าง หรือสามารถใช้โคมไฟกลางคืนสำหรับห้องนอนเปิดระหว่างเข้านอนได้ นอกจากนี้ ยังไม่ควรมีเสียงดังรบกวนลูกน้อยในระหว่างเข้านอนอีกด้วย

          หลีกเลี่ยงการเพิ่มหรือเปลี่ยนกิจกรรมไป ๆ มา ๆ ในช่วงเวลาก่อนเข้านอน กิจกรรมต่าง ๆ ก่อนเข้านอนควรทำแบบเดิมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ลูกน้อยคุ้นชินเป็นนิสัยและทำเป็นกิจวัตรได้ หากจะต้องการปรับเปลี่ยนกิจวัตรบางรายการ ควรปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป

 

          ในบางครั้งลูกน้อยอาจจะเหนื่อยจากการเดินทาง หรือกิจกรรมอื่น ๆ ระหว่างวัน การทำกิจวัตรก่อนเข้านอนในสถานการณ์แบบนี้ อาจจะทำให้ลูกน้อยหงุดหงิดและงอแงได้ ซึ่งหากสังเกตว่าลูกน้อยใกล้หลับแล้ว ก็สามารถกล่อมให้เข้านอนได้เลย ไม่ต้องทำกิจกรรมก่อนเข้านอนก็ได้

          ช่วงเวลาก่อนเข้านอน ไม่ควรให้ลูกน้อยเล่นสมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต หรือดูโทรทัศน์ เนื่องจากแสงสีฟ้าจากเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ จะส่งผลกระทบทำให้ลูกน้อยนอนหลับได้ยากขึ้น

          เช่น การวิ่งเล่น การเล่นที่ทำให้ลูกน้อยตื่นตัว กิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้แรงมากก่อนเข้านอน จะทำให้ลูกน้อยตื่นตัว และไม่หลับได้ยากมากขึ้น

          หลีกเลี่ยงการให้อาหารที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน ในช่วงเวลาก่อนเข้านอน เช่น ช็อกโกแลต โกโก้ เพราะคาเฟอีนจะส่งผลให้ลูกน้อยนอนหลับได้ยาก รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลเป็นจำนวนมาก เพื่อป้องกันอาการฟันผุ

          การอ่าน หรือเล่าเรื่องผี เรื่องน่ากลัว จะทำให้ลูกน้อยเกิดความกลัวและวิตกกังวลก่อนเข้านอน ซึ่งทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น

          ควรหลีกเลี่ยงการให้ลูกน้อยนอนหลับระหว่างวันในวันหยุดสุดสัปดาห์ เพราะการนอนในช่วงกลางวัน อาจจะกระทบกับช่วงเวลาในการเข้านอนในช่วงกลางคืนของลูกน้อยได้ ซึ่งอาจจะทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น หรือนอนดึกขึ้น


  เด็กควรนอนวันละกี่ชั่วโมง
 
 

การนอนของเด็กนั้นมีความต้องการและความแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงวัย เพื่อให้ลูกน้อยนอนหลับอย่างมีคุณภาพ เด็ก ๆ ในแต่ละช่วงวัยควรนอนใช้เวลานอนหลับเฉลี่ย ดังนี้

ช่วงอายุ

ระยะเวลาในการนอนหลับ

0 – 3 เดือน

14 – 17 ชั่วโมง

4 – 11 เดือน

12 – 15 ชั่วโมง

1 – 2 ปี

11 – 14 ชั่วโมง

3 – 5 ปี

10 – 13 ชั่วโมง

6 – 13 ปี

9 – 11 ชั่วโมง

 
  ลูกไม่ยอมนอน คุณพ่อคุณแม่จะกล่อมให้นอนยังไงดี
 
 

สำหรับลูกน้อยในบางบ้าน อาจจะเป็นเรื่องที่ยากเมื่อต้องพาลูกน้อยเข้านอน เนื่องจากลูกไม่ยอมนอนสักที โดยสาเหตุที่ลูกน้อยไม่ยอมนอนนั้น อาจจะเกิดขึ้นจากสาเหตุเหล่านี้

          • งอแงไม่ต้องการนอน หรือไม่ต้องการถูกควบคุม
          • มีความวิตกกังวล มีความเครียด
          • ไม่สบายท้อง หรือไม่สบายตัว และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ
          • เหนื่อยเกินไป หรือเคลื่อนไหวร่างกายหนักก่อนเข้าเวลาเข้านอน
          • ดู หรือเล่นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ก่อนเข้านอน
          • ขาดการทำกิจวัตรก่อนเข้านอนอย่างต่อเนื่อง
          • มีความกลัว เช่น กลัวความมืด
          • หิว หรืออิ่มเกินไป
          • สภาพและบรรยากาศในห้องนอนไม่พึงประสงค์ต่อการนอนหลับ

หากคุณแม่และคุณพ่อพบว่าลูกน้อยไม่ยอมนอน อาจจะเริ่มด้วยการสังเกตสาเหตุข้างต้น เพื่อหาวิธีแก้ไข เช่น หากลูกน้อยมีความกังวล อาจจะพูดคุยกับลูกน้อยเพื่อให้ลูกน้อยสบายใจมากขึ้น หรือห้องนอนอากาศที่ร้อนเกินไป ก็ควรปรับอุณหภูมิห้องให้เย็นขึ้น เป็นต้น

นอกจากนี้ การฝึกให้ลูกน้อยคุ้นชินกับการทำกิจวัตรประจำวันก่อนนอนอย่างสม่ำเสมอ ก็จะสามารถช่วยให้ลูกน้อยเข้านอนได้ดีมากขึ้น คุณแม่และคุณพ่อยังสามารถพูดคุยเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างวันกับลูกน้อยก่อนนอน เช่น วันนี้ลูกทำอะไรไปบ้าง มีอะไรที่ลูกชอบและไม่ชอบในวันนี้ เสมือนเป็นการสรุปเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวันร่วมด้วยก็ได้ เพื่อให้ลูกน้อยได้แสดงความคิดเห็นและความรู้สึกของตัวเองออกมา

อย่างไรก็ตาม หากลองใช้วิธีต่าง ๆ ดูแล้วยังไม่เป็นผล ลูกน้อยอาจจะมีปัญหาการนอนหลับยากในเด็ก ซึ่งคุณแม่และคุณพ่อสามารถพาลูกน้อยไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำ วินิจฉัยอาการ และหาทางแก้ไขต่อไปได้เช่นกัน 

  วิธีสังเกตว่าลูกน้อยเริ่มง่วงนอนแล้ว
 
 

ลักษณะและสัญญาณที่เห็นได้ชัดเมื่อลูกน้อยง่วงและต้องการนอนนั่นคือ อาการเหนื่อยล้า ซึ่งนอกจากอาการเหนื่อยล้าที่บ่งบอกว่าลูกน้อยต้องการเข้านอนแล้ว ยังมีอาการและลักษณะอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ที่คุณแม่สามารถสังเกตได้

          • หาว
          • งอแง ร้องไห้ อารมณ์ไม่ดี
          • เรียกร้องความสนใจ
          • เบื่อเล่นของเล่น หรือกิจกรรม
          • ไม่อยากกินอาหาร

หากคุณแม่พบอาการและลักษณะเหล่านี้ ควรพาลูกน้อยเตรียมตัวเข้านอน

  พาลูกเข้านอนยังไงให้ลูกหลับง่าย
 
 

สำหรับบางบ้านการพาลูกเข้านอนนั้น เป็นเรื่องที่ยากพอสมควร แต่เราสามารถฝึกให้ลูกน้อยหลับง่ายและหลับดี มีพัฒนาการสมองต่อเนื่องด้วยวิธีง่าย ๆ เหล่านี้

นอกจากการฝึกลูกน้อยให้นอนหลับได้เองเป็นกิจวัตรแล้ว การสร้างกิจวัตรประจำวันอื่น ๆ ก่อนนอนก็สามารถช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับได้ดีเช่นกัน เช่น การอ่าน หรือเล่านิทานให้ฟังก่อนนอน จะทำให้ลูกผ่อนคลาย เสริมสร้างจินตนาการ และการเรียนรู้ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นช่วงเวลาของครอบครัวในการทำกิจกรรมร่วมกันได้อีกด้วย

ควรสร้างบรรยากาศในห้องนอนให้เหมาะสมสำหรับการนอน โดยห้องนอนไม่ควรมีแสงสว่าง หรือเสียงรบกวน รวมทั้งยังควรมีอุณหภูมิที่พอดีไม่ร้อน หรือหนาวเกินไป นอกจากนี้ ลูกน้อยควรรู้สึกปลอดภัยในระหว่างการเข้านอน ไม่ควรสร้างความกังวลให้กับลูกน้อยจนนอนไม่หลับ เช่น การเล่าเรื่องผี การขู่ให้ลูกน้อยรู้สึกกลัว เป็นต้น

เพื่อการเสริมสร้างพัฒนาการสมองอย่างเต็มที่ นอกจากการนอนหลับที่มีคุณภาพแล้ว ยังควรเสริมด้วยโภชนาการที่ดีด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเสริมด้วยนมอุ่น ๆ ในมื้อเย็น มื้อสุดท้ายก่อนเข้านอน โดยควรดื่มนมที่มีสารอาหารอย่าง MFGM และ DHA ที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพัฒนารอบด้านของลูกน้อย โดยเฉพาะพัฒนาการสมองที่ต่อเนื่องตลอดเวลา ให้ก้าวล้ำทั้ง IQ และ EQ

สำหรับคุณแม่ที่กังวลว่าลูกน้อยอาจแน่นท้อง ท้องอืด หรือต้องตื่นกลางดึกเพราะไม่สบายท้อง อาจเลือกโภชนาการที่ย่อยง่าย มี PHP โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน เพื่อให้ลูกน้อยสบายท้อง ไม่รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง หรือตื่นมาร้องไห้โยเยกลางดึก เมื่อลูกน้อยไม่มีอาการไม่สบายท้องมากวนใจ ก็จะหลับได้ยาว สมองก็จะพัฒนาได้เต็มที่และต่อเนื่องด้วยเช่นกัน

  พาลูกเข้านอนแล้วลูกร้องไห้งอแง คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร
 
 

จะทำอย่างไรดีนะ เมื่อลูกน้อยร้องไห้งอแงตอนพาเข้านอน? ถึงแม้ว่าอาการร้องไห้งอแงจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าลูกน้อยง่วงและต้องการเข้านอนแล้ว แต่ในบางครั้งคุณแม่และคุณพ่ออาจจะเจอเหตุการณ์ที่อยู่ดี ๆ ลูกน้อยก็ร้องไห้งอแงเมื่อพาเข้านอน ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้ายังแฮปปี้

สาเหตุที่ลูกน้อยร้องให้งอแงเมื่อพาเข้านอน อาจจะเกิดได้จากอาการป่วยต่าง ๆ เช่น อาการไม่สบายท้อง ไม่สบายตัว หรืออาจจะเกิดจากสาเหตุรู้สึกร้อน หรือหนาวเกินไป เสื้อผ้าที่สวมใส่ก่อให้เกิดอาการคัน เกิดความกลัว หรือความกังวล รวมทั้งอาจจะรู้สึกไม่พอใจเมื่อต้องทำตามคำสั่งไปเข้านอน

คุณแม่และคุณพ่อสามารถรับมือกับปัญหาลูกร้องไห้งอแงเมื่อพาเข้านอนได้ ด้วยการสังเกตหาต้นตอของปัญหานั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บป่วย สภาพบรรยากาศในห้องนอน หากการงอแงร้องไห้เกิดขึ้นจากสิ่งเหล่านี้ ควรแก้ไขให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวและเข้านอนได้อย่างมีความสุข

นอกจากนี้ การพูดคุย สอบถามความต้องการ เช่น ลูกน้อยต้องการใส่เสื้อผ้าชุดไหน ปิดไฟเลยไหม อ่านนิทานเล่มไหน เป็นต้น ก็เป็นวิธีสื่อสารที่ช่วยให้ลูกน้อยไม่รู้สึกว่าโดนสั่ง หรือบังคับให้เข้านอน ทำให้ลูกน้อยรู้สึกว่ามีส่วนร่วมในการตัดสินใจกับสิ่งต่าง ๆ ก่อนเข้านอน

  ทำยังไงดีเมื่อลูกน้อยตื่นนอนกลางดึก
 
 

เป็นเรื่องปกติของเด็กทุกคนที่จะตื่นนอนขึ้นมากลางดึก ซึ่งการตื่นนอนกลางดึกนี้เกิดได้จากหลาย ๆ สาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ฟันขึ้น อาการป่วย ความกลัว ฝันร้าย นอนตอนกลางวันมากไป เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุทำให้ลูกน้อยตื่นขึ้นมากลางดึกได้

เมื่อพบว่าลูกน้อยตื่นขึ้นมากลางดึก คุณแม่ต้องมั่นใจก่อนว่า ไม่ได้เกิดจากสาเหตุอย่างต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อม หรืออาการป่วย เมื่อได้ยินเสียงลูกร้องตื่นขึ้นมา สิ่งแรกที่เราควรทำคือ อย่าพึ่งปรี่เข้าไปหา รอสักพัก หากลูกน้อยยังไม่หลับ อาจจะค่อย ๆ เข้าไปกล่อมอีกครั้ง ไม่เน้นการพูดคุย ใช้เสียงกล่อมเบา ๆ อย่าง ชู่ว หรือ ไม่เป็นไร นอนต่อนะคะ

บางครั้ง หากพบว่าเกิดจากปัญหาเล็กน้อยที่ทำให้ตื่นขึ้นมาเองกลางดึก คุณแม่ควรปล่อยให้เขากลับไปหลับด้วยตัวเอง เพื่อฝึกให้เขาสามารถหลับด้วยตัวเองได้ โดยไม่ต้องให้ใครมากล่อม

  ลูกร้องไห้กลางดึกเพราะฝันร้าย ดูแลยังไงดี
 
 

ฝันร้ายเป็นสิ่งที่สามารถปลุกเด็กให้ตื่นขึ้นมาระหว่างคืนได้ ซึ่งความฝันเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถป้องกัน หรือห้ามไม่ให้เกิดขึ้นได้ หากเราพบว่าลูกน้อยตื่นขึ้นมาตอนกลางขึ้นจากฝันร้าย เราสามารถดูแลลูกน้อยได้ดังนี้

• กอดและหอมแก้มลูกน้อย

• บอกให้ลูกรู้ว่า เราสามารถที่จะกลัวสิ่งต่าง ๆ และความฝันเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นจริง

• พูดคุยกับลูกน้อย สามารถให้ลูกน้อยเล่าถึงความฝันและความกังวลต่าง ๆ ได้ เพื่อให้เขาสบายใจมากขึ้น

หากพบว่าลูกน้อยฝันร้ายเรื่องเดิมบ่อยครั้ง และไม่มีทีท่าว่าความฝันนั้นจะหายไป อีกทั้งยังกระทบกับการนอนของลูกน้อย คุณแม่สามารถพาลูกน้อยไปพบจิตแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษาในเรื่องนี้ได้

 



 

น้ำนมเหลืองสั่งซื้อสินค้าออนไลน์สมัครสมาชิกใหม่