Enfa สรุปให้:

  • เด็กในช่วงอายุเดียวกัน มักจะมีน้ำหนักและส่วนสูงไล่เลี่ยกัน โดยมากมักจะเป็นไปตามเกณฑ์น้ำหนักและส่วนสูงปกติที่ถูกกำหนดเอาไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเด็กเหล่านี้เติบโตมาอย่างแข็งแรงและสมวัย

  • อย่างไรก็ตาม เด็กวัยเดียวกัน ไม่ได้หมายความว่าจะหนักเท่ากันเสมอไป ยังมีเด็กอีกหลายคนที่มีน้ำหนักส่วนสุงน้อยกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์ ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะหมายถึงว่าเด็กอาจมีความผิดปกติด้านการเจริญเติบโต

  • คุณพ่อคุณแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสังเกตหรือจดบันทึกข้อมูลน้ำหนักส่วนสูงของลูกเอาไว้ทุกเดือน เพื่อจะได้เปรียบเทียบดูว่า ขณะนี้ลูกเติบโตสมวัยหรือไม่

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • รู้จักน้ำหนักและส่วนสูงมาตรฐานของเด็ก
     • ตารางน้ำหนัก - ส่วนสูง มาตรฐานตามอายุ
     • วิธีคำนวณน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ
     • ข้อแนะนำในการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง

เด็กแต่ละคน ในช่วงวัยที่แตกต่างกัน จะมีน้ำหนักและส่วนสูงที่ไม่เหมือนกัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กในวัยเดียวกันจะมีน้ำหนักและส่วนสูงเหมือนกันทุกคน มีเด็กอีกหลายคนที่มีน้ำหนักและส่วนสูงที่น้อยกว่าเกณฑ์และมากกว่าเกณฑ์ Enfa จะพาคุณพ่อคุณแม่มาลองสำรวจลูกน้อยของเราดูกันว่า ขณะนี้ลูกน้อยมีสัดส่วนของอายุและน้ำหนักที่มากกว่าหรือน้อยกว่าเกณฑ์ปกติกันนะ

น้ำหนักและส่วนสูงมาตรฐานของเด็กคืออะไร


จริง ๆ แล้วเด็กแต่ละคนนั้นจะมีน้ำหนักและส่วนสูงที่แตกต่างกันออกไป ทั้งตามกรรมพันธุ์ และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม หน่วยวัดมาตรฐานนั้น ก็ยังถือเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อใช้เปรียบเทียบว่าเด็กในช่วงวัยนี้ ควรจะมีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักและความสูงเป็นเท่าใด

โดยเกณฑ์มาตรฐานนี้จะเป้นค่าเริ่มต้นที่สามารถจำแนกความผิดปกติในระยะแรกเริ่มได้ว่าลูกของคุณพ่อคุณอาจจะมีน้ำหนักหรือส่วนสูงที่น้อยกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์ปกติหรือเปล่า ซึ่งถ้าหากมีภาวะความผิดปกติดังกล่าว ก็จำเป็นที่จะต้องพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับคำแนะนำในการดูแลลูกเพื่อให้มีสุขภาพดีต่อไป

น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ

การคำนวณน้ำหนักเด็กไทยนั้น หนึ่งในวิธีที่ใช้เปรียบเทียบง่ายที่สุดก็คือการเปรียบเทียบน้ำหนักตามเกณฑ์ของอายุ หรือก็คือน้ำหนักมวลรวมของกล้ามเนื้อ ไขมัน น้ำ และกระดูก โดยจะนำเอาผลน้ำหนักมาเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของเด็กที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกัน เพื่อดูว่าขณะนี้เด็กมีภาวะอ้วนไป หรือผอมไป มีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์ มีน้ำหนักมากกว่าหรือน้อยกว่าเกณฑ์

โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถทำการติดตามน้ำหนักของลูกโดยใช้กราฟเปรียบเทียบของกรมอนามัยได้ ดังนี้

กราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์อายุของเด็กอายุ 0 – 5 ปี เพศชาย (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

กราฟแสดงน้ำนหักตามเกณฑ์อายุ 0 - 5 ปี เพศชาย
ที่มา: กรมอนามัย

กราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์อายุของเด็กอายุ 0 – 5 ปี เพศหญิง (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

กราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0 - 5 ปี เพศหญิง
ที่มา: กรมอนามัย

ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ

เรื่องของส่วนสูงนั้น กรรมพันธุ์จะเป็นตัวกำหนดหลักว่าเด็กแต่ละคนจะเกิดมาสูงหรือเตี้ย อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิต ทั้งอาหารการกิน การออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อน ก็มีส่วนสำคัญในการกำหนดส่วนสูงด้วยเช่นกัน

โดยการคำนวณส่วนสูงเด็กไทยนั้น สามารถที่จะเปรียบเทียบความสูงขอเด็กแต่ละคน ซึ่งใช้ค่าความสูงปัจจุบันมาเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของส่วนสูงตามอายุ เพื่อดูว่าลูกสูงกว่าเกณฑ์ไหม หรือสูงตามเกณฑ์ หรือเตี้ยกว่าเกณฑ์ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถทำการติดตามส่วนสูงของลูกโดยใช้กราฟเปรียบเทียบของกรมอนามัยได้ ดังนี้

กราฟแสดงส่วนสูงตามเกณฑ์อายุของเด็ก 0 – 5 ปี เพศชาย (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

กราฟแสดงความยาว/ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ 0 - 5 ปี เพศชาย
ที่มา: กรมอนามัย

กราฟแสดงส่วนสูงตามเกณฑ์อายุของเด็ก 6 – 19 ปี เพศชาย (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตอายุ 6 - 19 ปี เพศชาย
ที่มา: กรมอนามัย 

กราฟแสดงส่วนสูงตามเกณฑ์อายุของเด็ก 0 – 5 ปี เพศหญิง (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

กราฟแสดงความยาว/ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ 0 - 5 ปี เพศหญิง
ที่มา: กรมอนามัย

กราฟแสดงส่วนสูงตามเกณฑ์อายุของเด็ก 6 – 19 ปี เพศหญิง (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตอายุ 6 - 19 ปี เพศหญิง
ที่มา: กรมอนามัย

น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ

การเปรียบเทียบน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง เป็นวิธีคำนวณน้ำหนักในรูปแบบสากล เพื่อใช้สำหรับการชี้วัดภาวะโภชนาการของเด็ก ซึ่งช่วยในการเปรียบเทียบน้ำหนักของลูกได้ว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมตามเกณฑ์หรือไม่

ส่วนข้อสงสัยที่ว่า ทำไมจะต้องนำน้ำหนักมาเปรียบเทียบกับส่วนสูง นั่นก็เป็นเพราะว่าน้ำหนักของเด็กสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าส่วนสูง เด็กอาจมีภาวะผอม หรืออ้วน ตามสภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิตประจำวัน

ดังนั้น การเปรียบเทียบน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงจึงสามารถที่จะบอกถึงสภาวะทางโภชนาการของเด็กแต่ละคนได้เป็นอย่างดี แม้ว่าจะไม่ทราบอายุจริงก็ตาม

โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถทำการติดตามส่วนสูงของลูกโดยใช้กราฟเปรียบเทียบของกรมอนามัยได้ ดังนี้

กราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็กอายุ 2 – 5 ปี เพศชาย (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง อายุ 2 - 5 เพศชาย
ที่มา: กรมอนามัย

กราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็กอายุ 6 – 19 ปี เพศชาย (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงอายุ 6 - 19 ปี

ที่มา: กรมอนามัย

กราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็กอายุ 2 – 5 ปี เพศหญิง (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงอายุ 2 - 5 ปี เพศหญิง

ที่มา: กรมอนามัย

กราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็กอายุ 6 – 19 ปี เพศหญิง (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง 6 - 19 ปี เพศหญิง

ที่มา: กรมอนามัย

ตารางน้ำหนักส่วนสูงมาตรฐานตามอายุ เด็กแรกเกิด – 6 ขวบ


เด็กที่มีอายุต่างกัน ก็จะมีน้ำหนักและส่วนสูงที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่แล้ว เด็กแต่ละคนก็มักจะมีน้ำหนักและส่วนสูงที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีเด็กอีกหลายคนที่พบว่ามีน้ำหนักและส่วนสูงที่เกินหรือต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น

ตารางน้ำหนักเด็ก วัยแรกเกิด – 6 ขวบ

น้ำหนักตามเกณฑ์อายุของเด็กวัยแรกเกิด - 6 ขวบ เพศชาย มีดังนี้

  • ทารกเพศชายวัย 1 เดือน หนักประมาณ 4.5 กิโลกรัม
  • ทารกเพศชายวัย 2 เดือน หนักประมาณ 5.6 กิโลกรัม
  • ทารกเพศชายวัย 3 เดือน หนักประมาณ 6.4 กิโลกรัม
  • ทารกเพศชายวัย 4 เดือน หนักประมาณ 7.0 กิโลกรัม
  • ทารกเพศชายวัย 5 เดือน หนักประมาณ 7.5 กิโลกรัม
  • ทารกเพศชายวัย 6 เดือน หนักประมาณ 7.9 กิโลกรัม
  • ทารกเพศชายวัย 7 เดือน หนักประมาณ 8.3 กิโลกรัม
  • ทารกเพศชายวัย 8 เดือน หนักประมาณ 8.6 กิโลกรัม
  • ทารกเพศชายวัย 9 เดือน หนักประมาณ 8.9 กิโลกรัม
  • ทารกเพศชายวัย 10 เดือน หนักประมาณ 9.2 กิโลกรัม
  • ทารกเพศชายวัย 11 เดือน หนักประมาณ 9.4 กิโลกรัม
  • เด็กเพศชายวัย 1 ขวบ หนักประมาณ 9.6 กิโลกรัม
  • เด็กเพศชายวัย 2 ขวบ หนักประมาณ 12.7 กิโลกรัม
  • เด็กเพศชายวัย 3 ขวบ หนักประมาณ 14.4 กิโลกรัม
  • เด็กเพศชายวัย 4 ขวบ หนักประมาณ 16.3 กิโลกรัม
  • เด็กเพศชายวัย 5 ขวบ หนักประมาณ 18.5 กิโลกรัม
  • เด็กเพศชายวัย 6 ขวบ หนักประมาณ 20.8 กิโลกรัม
     

น้ำหนักตามเกณฑ์อายุของเด็กวัยแรกเกิด - 6 ขวบ เพศหญิง มีดังนี้

  • ทารกเพศหญิงวัย 1 เดือน หนักประมาณ 4.2 กิโลกรัม
  • ทารกเพศหญิงวัย 2 เดือน หนักประมาณ 5.1 กิโลกรัม
  • ทารกเพศหญิงวัย 3 เดือน หนักประมาณ 5.8 กิโลกรัม
  • ทารกเพศหญิงวัย 4 เดือน หนักประมาณ 6.4 กิโลกรัม
  • ทารกเพศหญิงวัย 5 เดือน หนักประมาณ 6.9 กิโลกรัม
  • ทารกเพศหญิงวัย 6 เดือน หนักประมาณ 7.3 กิโลกรัม
  • ทารกเพศหญิงวัย 7 เดือน หนักประมาณ 7.6 กิโลกรัม
  • ทารกเพศหญิงวัย 8 เดือน หนักประมาณ 7.9 กิโลกรัม
  • ทารกเพศหญิงวัย 9 เดือน หนักประมาณ 8.2 กิโลกรัม
  • ทารกเพศหญิงวัย 10 เดือน หนักประมาณ 8.5 กิโลกรัม
  • ทารกเพศหญิงวัย 11 เดือน หนักประมาณ 8.7 กิโลกรัม
  • เด็กเพศหญิงวัย 1 ขวบ หนักประมาณ 8.9 กิโลกรัม
  • เด็กเพศหญิงวัย 2 ขวบ หนักประมาณ 12.1 กิโลกรัม
  • เด็กกเพศหญิงวัย 3 ขวบ หนักประมาณ 13.9 กิโลกรัม
  • เด็กกเพศหญิงวัย 4 ขวบ หนักประมาณ 15.9 กิโลกรัม
  • เด็กกเพศหญิงวัย 5 ขวบ หนักประมาณ 18 กิโลกรัม
  • เด็กเพศหญิงวัย 6 ขวบ หนักประมาณ 20.3 กิโลกรัม
     

ตารางส่วนสูงเด็ก วัยแรกเกิด – 6 ขวบ

ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุของเด็กวัยแรกเกิด - 6 ขวบ เพศชาย มีดังนี้

  • ทารกเพศชายวัย 1 เดือน สูงประมาณ 54.7 เซนติเมตร
  • ทารกเพศชายวัย 2 เดือน สูงประมาณ 58.4 เซนติเมตร
  • ทารกเพศชายวัย 3 เดือน สูงประมาณ 61.4 เซนติเมตร
  • ทารกเพศชายวัย 4 เดือน สูงประมาณ 63.9 เซนติเมตร
  • ทารกเพศชายวัย 5 เดือน สูงประมาณ 65.9 เซนติเมตร
  • ทารกเพศชายวัย 6 เดือน สูงประมาณ 67.6 เซนติเมตร
  • ทารกเพศชายวัย 7 เดือน สูงประมาณ 69.2 เซนติเมตร
  • ทารกเพศชายวัย 8 เดือน สูงประมาณ 70.6 เซนติเมตร
  • ทารกเพศชายวัย 9 เดือน สูงประมาณ 72 เซนติเมตร
  • ทารกเพศชายวัย 10 เดือน สูงประมาณ 73.3 เซนติเมตร
  • ทารกเพศชายวัย 11 เดือน สูงประมาณ 74.5 เซนติเมตร
  • ทารกเพศชายวัย 1 ขวบ สูงประมาณ 75.7 เซนติเมตร
  • ทารกเพศชายวัย 2 ขวบ สูงประมาณ 86.5 เซนติเมตร
  • ทารกเพศชายวัย 3 ขวบ สูงประมาณ 95.3 เซนติเมตร
  • ทารกเพศชายวัย 4 ขวบ สูงประมาณ 102.5 เซนติเมตร
  • ทารกเพศชายวัย 5 ขวบ สูงประมาณ 109.2 เซนติเมตร
  • ทารกเพศชายวัย 6 ขวบ สูงประมาณ 115.7 เซนติเมตร
     

ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุของเด็กวัยแรกเกิด - 6 ขวบ เพศหญิงมีดังนี้

  • ทารกเพศหญิงวัย 1 เดือน สูงประมาณ 53.7 เซนติเมตร
  • ทารกเพศหญิงวัย 2 เดือน สูงประมาณ 57.1 เซนติเมตร
  • ทารกเพศหญิงวัย 3 เดือน สูงประมาณ 59.8 เซนติเมตร
  • ทารกเพศหญิงวัย 4 เดือน สูงประมาณ 62.1 เซนติเมตร
  • ทารกเพศหญิงวัย 5 เดือน สูงประมาณ 64.0 เซนติเมตร
  • ทารกเพศหญิงวัย 6 เดือน สูงประมาณ 65.7 เซนติเมตร
  • ทารกเพศหญิงวัย 7 เดือน สูงประมาณ 67.3 เซนติเมตร
  • ทารกเพศหญิงวัย 8 เดือน สูงประมาณ 68.7 เซนติเมตร
  • ทารกเพศหญิงวัย 9 เดือน สูงประมาณ 70.1 เซนติเมตร
  • ทารกเพศหญิงวัย 10 เดือน สูงประมาณ 71.5 เซนติเมตร
  • ทารกเพศหญิงวัย 11 เดือน สูงประมาณ 72.8 เซนติเมตร
  • ทารกเพศหญิงวัย 1 ขวบ สูงประมาณ 74 เซนติเมตร
  • ทารกเพศหญิงวัย 2 ขวบ สูงประมาณ 85 เซนติเมตร
  • ทารกเพศหญิงวัย 3 ขวบ สูงประมาณ 94.2 เซนติเมตร
  • ทารกเพศหญิงวัย 4 ขวบ สูงประมาณ 101 เซนติเมตร
  • ทารกเพศหญิงวัย 5 ขวบ สูงประมาณ 108 เซนติเมตร
  • ทารกเพศหญิงวัย 6 ขวบ สูงประมาณ 115 เซนติเมตร
     
สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

วิธีคำนวณน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ


รู้ไหมคะว่า การคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body-Mass Index Formula) นั้น ไม่ได้ทำกันเฉพาะในผู้ใหญ่เท่านั้นนะคะ แต่วิธีคำนวณน้ำหนักส่วนสูงของเด็ก หรือการหาค่า BMI เด็ก ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยมีสูตรในการคำนวณ ดังนี้

น้ำหนัก (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เซนติเมตร) ÷ ส่วนสูง (เซนติเมตร) x 10,000

เช่น หนัก 30 กิโลกรัม สูง 160 เซนติเมตร จะได้ออกมาเป็นสูตรคำนวณ ดังนี้

30 ÷ 160 ÷ 160 x 10,000 = 11.718 หรือ 11.7

เมื่อได้ค่า BMI แล้ว สามารถนำมาเทียบกับตารางเพื่อหาค่าเปอร์เซ็นไทล์ตามมตารฐานของ CDC: Centers for Disease Control and Prevention โดยกราฟแสดงช่วงเปอร์เซ็นไทล์ของเด็กอายุ 2 –20 ปี สามารถเปรียบเทียบได้ ดังนี้

โดยผลลัพธ์เมื่อจำแนกประเภทของช่วงเปอร์เซ็นไทล์ตามมาตรฐานของ CDC: Centers for Disease Control and Prevention จะออกมาเป็นดังนี้

  • น้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน ช่วงเปอร์เซ็นไทล์น้อยกว่า 5%
  • น้ำหนักตามเกณฑ์ปกติ ช่วงเปอร์เซ็นไทล์ระหว่าง 5% – 85%
  • น้ำหนักเสี่ยงจะเกินเกณฑ์ ช่วงเปอร์เซ็นไทล์ระหว่าง 85% – 95%
  • น้ำหนักเกินเกณฑ์ ช่วงเปอร์เซ็นไทล์มากกว่า 95%
     

ข้อแนะนำในการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงลูกน้อย


การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงในเด็กเล็กนั้น อาจจะทำได้ยากหน่อย จึงจำเป็นจะต้องมีผู้ช่วยคอยจับลูกให้อยู่นิ่ง ๆ เพื่อทำการวัดและชั่งน้ำหนักของลูกน้อย ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ดังนี้

การชั่งน้ำหนักเด็กเล็ก

  • การชั่งน้ำหนักเด็กเล็กหรือเด็กทารก ให้คุณพ่อคุณแม่ถอดเสื้อผ้ารวมถึงผ้าอ้อมของลูกออกให้หมดค่ะ แล้ววางลูกลงบนเครื่องชั่งน้ำหนัก จากนั้นจดตัวเลขที่ได้เอาไว้
  • ในกรณีที่ลูกดิ้น ไม่ยอมอยู่นิ่ง คุณพ่อคุณแม่สามารถอุ้มลูกเพื่อชั่งน้ำหนักพร้อมกับตัวเองได้ค่ะ โดยที่ลูกจะต้องไม่สวมเสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมนะคะ จากนั้นจดตัวเลขที่ได้ แล้วลบออกจากน้ำหนักของคุณพ่อหรือคุณแม่ ก็จะได้น้ำหนักคร่าว ๆ ของลูกค่ะ
     

การวัดส่วนสูงเด็กเล็ก

  • วางทารกลงบนเบาะเรียบ โดยมีคนคอยช่วยจับแขนและขาของทารกให้เหยียดตรง และระวังไม่ให้ดิ้นแรงจนเกินไป จากนั้นนำสายวัดมาวาง โดยวัดจากยอดสุดของศีรษะไปจนถึงปลายเท้า ก็จะได้ส่วนสูงโดยประมาณของเจ้าตัวเล็กแล้วค่ะ
     

การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงในเด็กโต อันนี้สามารถทำได้ง่ายขึ้นมากค่ะ เพราะเด็กสามารถเข้าใจคำสั่งและปฏิบัติตามได้โดยดี ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้’ง่าย ๆ ที่บ้าน ดังนี้

การชั่งน้ำหนักเด็กโต

  • ให้ลูกถอดรองเท้า ถุงเท้า รวมถึงเสื้อผ้าที่มีน้ำหนักมากออก แล้วให้ลูกขึ้นชั่งบนเครื่องชั่งน้ำหนัก
  • ให้ลูกยืนตัวตรงนิ่ง ๆ ไม่ขยับไปมา ปลายเท้าแยกออกจากกันเล็กน้อย
  • จากนั้นรอดูว่าตัวเลขบนเครื่องชั่งนิ่งอยู่ที่ตัวเลขใด จดตัวเลขที่ปรากฎบนเครื่องชั่งน้ำหนักนั้นไว้
     

การวัดส่วนสูงเด็กโต

  • ให้เด็กถอดรองเท้าและถอดหมวกออก ยืนตัวตรงแนบชิดกับผนัง ขาเหยียดตึง ไม่หย่อน
  • กรณีที่ไม่มีผนังวัดที่ได้มาตรฐาน สามารถใช้สายวัดส่วนสูงแทนได้ โดยวัดจากปลายศีรษะมาจนถึงปลายเท้าด้านล่าง ก็จะได้ส่วนสูงโดยประมาณของลูกค่ะ
  • แต่ถ้ามีอุปกรณ์การวัดส่วนสูงอยู่ที่บ้าน ให้กดที่วัดด้านบนแนบสนิทกับศีรษะ เพื่อให้ทราบสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุด
     

การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงสำหรับเด็กนั้น ควรทำเป็นประจำทุกเดือน เพื่อประเมินดูว่าลูกมีการเจริญเติบโตที่เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ หากพบว่าลูกมีน้ำหนักหรือส่วนสูงที่น้อยกว่าเกณฑ์ หรือมากกว่าเกณฑ์ คุณพ่อคุณแม่ควรหาเวลาพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา เพื่อให้ลูกมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และเติบโตได้อย่างสมวัยค่ะ



บทความแนะนำสำหรับสุขภาพลูกน้อย