ลูกดิ้นตอนกี่เดือน การนับลูกดิ้นนับยังไง มาหาคำตอบกัน!

      • การดิ้นของลูกสำคัญอย่างไร
      • ลูกดิ้นตอนกี่เดือน
      • วิธีนับลูกดิ้น
      • ลูกดิ้นแบบไหนเป็นสัญญาณอันตราย
      • ไขข้อข้องใจเรื่องการดิ้นของลูกในครรภ์กับ Enfa Smart Club

เมื่อตั้งครรภ์ไปสักระยะหนึ่ง สิ่งที่จะก่อให้เกิดความตื่นเต้นและตื้นตันกับคุณพ่อคุณแม่ก็คือการที่ลูกในท้องเริ่มดิ้น เริ่มเตะ แต่...การดิ้นของทารกในครรภ์ ไม่ได้เพียงแต่จะสร้างความดีใจเท่านั้น แต่ยังเป็นอีกหนึ่งพัฒนาการสำคัญของทารกในครรภ์ที่สามารถบ่งบอกถึงพัฒนาการและความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ด้วย บทความนี้ของ Enfa จะพาคุณพ่อคุณแม่มาตะลุยเรื่องไม่ลับที่ควรรู้เกี่ยวกับการดิ้นของลูกกันค่ะ


การดิ้นของลูก เป็นการบ่งบอกถึงระดับพัฒนาการขั้นต้น ทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบแล้วว่าขณะนี้ลูกสามารถที่จะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคุณพ่อคุณแม่ได้ เช่น มีการเตะหรือดิ้น หรือขยับแขนขาเมื่อได้ยินเสียงดนตรี เสียงร้องเพลง เสียงเล่านิทาน หรือเสียงคุยกันของคุณพ่อคุณแม่

มากไปกว่านั้น การดิ้นของลูกก็ยังสามารถเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติได้ด้วยเหมือน เช่น คุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้นเลย จากที่ปกติจะดิ้นเป็นประจำ

เวลาที่ลูกดิ้น เตะ หรือเคลื่อนไหว คุณแม่จะรู้สึกราวกับว่ามีอะไรกำลังกระพืออยู่ภายในท้อง คล้ายกับเวลาที่ผีเสื้อกระพือปีก หรือรู้สึกเหมือนมีวงคลื่นเล็ก ๆ อยู่ในท้อง คล้ายกับวงคลื่นเวลาที่ปลาว่ายน้ำ 

อย่างไรก็ตาม ระยะแรกคุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกตัวว่าลูกดิ้น และอาจแยกไม่ออกว่าเป็นอาการจุกเสียด หรือเป็นเพราะลูกกำลังดิ้น แต่แม่ที่ตั้งท้องครั้งที่ 2 หรือ 3 จะสามารถแยกแยะการดิ้นได้กีกว่า เพราะมีประสบการณ์มาก่อนแล้ว 


คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนก็อาจจะสงสัยว่า กี่เดือนลูกดิ้น หรือลูกจะดิ้นตอนกี่เดือนกันนะ  

ซึ่งโดยปกติแล้ว คุณแม่จะสามารถสัมผัสได้ถึงการเคลื่อนไหว การขยับแขนขา การพลิกตัว การดิ้น การเตะของทารกในครรภ์ได้ เมื่อมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 16-25 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งก็จะอยู่ราว ๆ เดือนที่ 4-6 ของการตั้งครรภ์ 

ส่วนแม่ที่ท้องสอง ก็อาจจะยังตื่นเต้นอยู่ เพราะไม่รู้ว่าลูกจะเริ่มดิ้นเหมือนตอนท้องแรกไหม? ลูกดิ้นตอนกี่เดือนท้องสอง? หรือท้อง2 ลูกดิ้นตอนกี่เดือน? 

อย่างไรก็ตาม บางครั้งลูกอาจจะดิ้นตั้งแต่อายุครรภ์น้อย ๆ แต่คุณแม่ไม่ทันได้รู้ตัว อาจเพราะกำลังอยู่ในอริยาบถที่ต้องลุกเดิน ทำนู่น ทำนี่ จึงทำให้ไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารก ซึ่งการสัมผัสถึงการเคลื่อนไหวของเด็กในท้องนั้นมักจะชัดเจนมากขึ้นเมื่อคุณแม่นั่งหรือนอนเฉย ๆ  


แพทย์อาจจะขอให้คุณแม่ทำการนับลูกดิ้นเป็นประจำ เพื่อเป็นการติดตามพัฒนาการของเด็กในระยะเบื้องต้น และเพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวเล็กมีสุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการที่สมวัย  

มากไปกว่านั้น การนับลูกดิ้นเป็นประจำ ยังจะช่วยให้คุณแม่รู้สึกถึงความผิดปกติจากการดิ้นของลูกด้วย เช่น ลูกดิ้นมากไป ดิ้นน้อยไป หรือไม่ดิ้นเลย 

อย่างไรก็ตาม แม่มือใหม่ก็อาจจะสงสัยว่า ควรจะเริ่มนับลูกดิ้นตอนกี่เดือน ซึ่งจริง ๆ แล้วแพทย์มักจะแนะนำให้เริ่มทำการนับลูกดิ้นตั้งแต่อายุครรภ์ 28-32สัปดาห์ เรื่อยไปจนกระทั่งคลอด

คุณแม่สามารถนับลูกดิ้นได้หลายวิธี ดังนี้ 

การนับลูกดิ้นตามสมุดสีชมพู หรือวิธีนับลูกดิ้นสมุดสีชมพู ก็คือการบันทึกลูกดิ้นลงในสมุดบันทึกสุขภาพเล่มสีชมพูที่ได้มาจากการฝากครรภ์ ซึ่งก็มีวิธีนับง่าย ๆ ดังนี้ 

โดยในสมุดบันทึกสุขภาพเล่มสีชมพูก็จะมีตารางนับลูกดิ้นมาให้ด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการนับลูกดิ้นมากขึ้น 

ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีช่วยให้ความสะดวกแก่คุณแม่มากขึ้น บางครั้งการจดเพื่อนับลูกดิ้น ก็อาจจะทำให้คุณแม่พลาดจังหวัลูกดิ้นไปได้ เพราะเสียเวลาหากระดาษกับปากกา แอปพลิเคชันสำหรับการตั้งครรภ์หลายแอปจึงได้เพิ่มฟังชันก์การนับลูกดิ้นเข้ามาด้วย คุณแม่สามารถเลือกโหลดใช้งานได้ตามความสนใจ เช่น 


อย่างที่ได้กล่าวไปตั้งแต่แรกแล้วว่า การดิ้นของลูกไม่เพียงแต่บอกถึงการมีสุขภาพแข็งแรงและมีพัฒนาการสมวัยเท่านั้น บางครั้งลูกดิ้น ก็เป็นสัญญาณอันตรายได้ด้วยเหมือนกัน โดยลักษณะการดิ้นของลูกที่เป็นอันตราย มีดังนี้ 

  • ลูกดิ้นมาก การที่ลูกดิ้นบ่อยนั้นเป็นเรื่องปกติ แสดงว่าลูกมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่จะมีบางกรณีที่ควรระวังคือ จู่ ๆ ลูกก็ดิ้นมากผิดปกติอยู่ระยะหนึ่ง แล้วก็หยุดดิ้นไปเสียดื้อ ๆ โดยไม่มีการดิ้นต่อ หากเกิดกรณีเช่นนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ 

  • ลูกดิ้นน้อย หากลูกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้งต่อชั่วโมง หรือในช่วงเวลา 12 ชั่วโมง ลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ 

  • ลูกไม่ดิ้น ลูกดิ้น เป็นสัญญาณปกติของการตั้งครรภ์ แต่ลูกไม่ดิ้นก็เป็นสัญญาณปกติเช่นกัน เพราะในบางครั้งลูกอาจะกำลังหลับอยู่ ทำให้ไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ขึ้นไป ทารกก็จะเริ่มดิ้นน้อยลง เนื่องจากมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น และมดลูกไม่สามารถขยายเพื่อรองรับขนาดตัวของทารกได้อีก ทำให้ทารกเคลื่อนไหวได้น้อยลง อย่างไรก็ตาม ลูกดิ้นน้อยลง ก็แปลว่าลูกยังดิ้นอยู่ แต่ถ้าคุณแม่พยายามกระตุ้นให้ลูกดิ้นหลายครั้งแล้ว แต่ก็ไม่มีการตอบสนองใด ๆ ตอบกลับมา ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ 


ท้อง 3 เดือนคุณแม่จะยังไม่สามารถสัมผัสถึงการดิ้นของลูกได้ เพราะลูกจะเริ่มดิ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 16 เป็นต้นไป 

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่ท้อง 2 หรือท้อง 3 บางราย อาจสามารถสัมผัสว่าลูกดิ้นได้ตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 13 (ช่วงอายุครรภ์ 3 เดือน) 

 

ปกติแล้วลูกจะเริ่มดิ้นเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 4-6 เดือน เป็นต้นไป 

ท้อง 2 เดือนยังไม่สามารถสัมผัสถึงการดิ้นของลูกได้ 

คุณแม่ที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 4-6 เดือน จะเริ่มสัมผัสหรือรู้สึกถึงการเคลอื่นไหว หรือการดิ้นของลูกได้ 

อายุครรภ์ 4 เดือน แต่ยังไม่รู้สึกว่าลูกดิ้น ลูกเตะ ก็ไม่ถึงกับผิดปกติเสียทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ท้องแรก อาจจะไปเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้นเมื่อย่างเข้าสู่เดือนที่ 6 เป็นต้นไป  

แต่ถ้ารู้สึกไม่สบายใจ หรือกังวลว่าลูกจะไม่ดิ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย 

เด็กเริ่มดิ้นเมื่อมีอายุครรภ์ 4-6 เดือน ดังนั้นท้อง 5 เดือนก็สามารถที่จะสัมผัสการดิ้นของลูกได้ แต่ถ้ารู้สึกว่าลูกดิ้นน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากลูกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้งต่อชั่วโมง หรือในช่วงเวลา 12 ชั่วโมง ลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะการดิ้นน้อยตามจำนวนดังกล่าว อาจเกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ 

คำกล่าวนี้น่าจะเป็นเพียงความเชื่อที่ส่งต่อกันมาเท่านั้น เช่น ถ้าลูกดิ้นแรงจะได้ลูกชาย ลูกดิ้นเบาจะได้ลูกสาว  

ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ยังไม่มีผลการศึกษาหรือผลการวิจัยที่เพียงพอจะรองรับความเชื่อนั้นเลย 

อาการลูกดิ้นน้อยลง และมีอาการท้องแข็งร่วมด้วย หากเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้าย ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะทารกเตรียมพร้อมที่จะคลอดแล้ว  

ซึ่งหากมีอาการท้องแข็งเกิดขึ้น ก็จะต้องแยกให้ได้ว่าเป็นการเจ็บครรภ์จริง หรือเจ็บครรภ์หลอก เพราะบางครั้งอาการท้องแข็งมักจะเกิดขึ้นก่อนที่เด็กจะคลอด แต่บางครั้งก็มีอาการท้องแข็งเพื่อเจ็บครรภ์เตือน แต่ยังไม่มีการคลอดเกิดขึ้น 

การโก่งตัว การเตะ การถีบ การหมุนตัว การกระทุ้ง ถือเป็นอากัปกิริยาในการดิ้นของลูก 

เด็กเริ่มดิ้นเมื่อมีอายุครรภ์ 4-6 เดือน ดังนั้น 5 เดือนก็สามารถที่จะสัมผัสการดิ้นของลูกได้ แต่ถ้ารู้สึกว่าลูกดิ้นน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากลูกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้งต่อชั่วโมง หรือในช่วงเวลา 12 ชั่วโมง ลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะการดิ้นน้อยตามจำนวนดังกล่าว อาจเกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ 



    น้ำนมเหลืองสั่งซื้อสินค้าออนไลน์สมัครสมาชิกใหม่