ทารกควรนอนท่าไหนถึงจะดี มาจัดระเบียบท่านอนทารกกันเถอะ

     • ท่านอนเด็กทารก แบบไหนปลอดภัย
     • จัดท่านอนให้ทารกอย่างไรดี
     • ท่านอนตะแครงทารกที่ถูกต้อง
     • โรคไหลตายในทารก (SIDS)
     • การนอนและพัฒนาการสมองของลูกน้อย
     • ไขข้อข้องใจเรื่องท่านอนเด็กทารกกับ Enfa Smart Club

ท่านอนทารกแต่ละท่า มีส่วนช่วยสำหรับพัฒนาการทางร่างกายของทารก คุณพ่อคุณแม่ควรจัดระเบียบท่านอนที่ถูกต้องให้หลับสบายและปลอดภัยกับทารกกัน


สิ่งสำคัญเมื่อพูดถึงท่านอนที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับสรีระร่างกายของทารก คุณพ่อคุณแม่ควรจัดท่านอนที่ป้องกันการเกิดอันตรายกับทารก ซึ่งน่านอนที่เหมาะสมกับสามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงอายุ ดังนี้

 


  • ช่วงแรกเกิด – 3 เดือน

เป็นช่วงที่กระดูกด้านหลังยังไม่แข็งแรงดี ท่านอนที่เหมาะสมควรให้ลูกนอนหงายสลับกับนอนตะแคงไปมา เพื่อให้ทารกได้หายใจอย่างสะดวก และป้องกันการเกิดภาวะ SIDS ขณะหลับนอน ซึ่งท่านอนนี้ลูกจะมองเห็นสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว 

  • ช่วง 4 – 6 เดือน

ในช่วงนี้กระดูกทารกช่วงและหลังเริ่มแข็งแรง สามารถขยับได้เล็กน้อย เหมาะกับท่านอนคว่ำไปด้านหน้า เพราะลูกน้อยจะสามารถยกศีรษะได้บ้างแล้ว โดยคุณแม่อาจจะปรับท่าให้นอนคว่ำ วางแขนและขาให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม หันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่ง ควรนอนบนหมอนแบน ๆ ซึ่งน่านี้จะทำให้ทารกนอนหลับสนิทไม่สะดุ้งตื่นง่าย

  • ช่วง 7 – 12 เดือน

ช่วงวัยนี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่ต้องเป็นกังวลมากแล้วค่ะ เพราะร่างกายที่เริ่มแข็งแรง สามารถนอนพลิกตัวได้ไปมา เพียงแต่ว่าต้องจัดที่นอนให้เป็นระเบียบ มีราวกั้นเพื่อไม่ให้ลูกน้อยตกเตียง และป้องกันมุมเสาเพื่อกันไม่ให้กระแทก เลือกที่นอนให้เหมาะสมก็เพียงพอค่ะ


ทารกสามารถนอนตะแคงได้ แต่ควรที่จะนอนตะแคงสลับกับการนอนหงาย เป็นท่าที่เหมาะกับการพัฒนากล้ามเนื้อคอที่ยังไม่แข็งแรง ทำได้เพียงมองซ้ายขวา และฝึกให้ทารกสังเกตสิ่งรอบ ๆ ตัว โดยท่านอนตะแคงที่ถูกต้องควรจับลูกนอนสลับซ้ายขวาไปมา และควรมีหมอนข้างให้ทารกกอดเพื่อป้องกันไม่ให้ทารกหน้าคว่ำ อีกทั้งการนอนตะแคงข้างซ้างขวาจะทำให้ทารกมีหัวที่สวยทุย


โรคไหลตายในทารกเป็นภัยเงียบที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นการเสียชีวิตอย่างกะทันหันและไม่ทันคาดคิดของเด็กทารกที่มีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่ง SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) ภาวะไหลตายในเด็กทารก หรือเรียกอีกชื่อ “Crib Death” การเสียชีวิตขณะนอนเปล มักจะเกิดขึ้นขณะที่ทารกำลังนอนหลับและนอนบนเปล

ทารกที่เสียชีวิตส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 6 เดือนแรก หรือทารกที่คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดต่ำ ไม่ว่ากำลังหลับหรือตื่นอยู่ก็ตาม สาเหตุมักเกิดขึ้นขณะทารกนอนหลับเนื่องจากมีการปิดกั้นระบบทางเดินหายใจของทารก ซึ่งการที่ทารกนอนคว่ำก็มีส่วนให้เกิดภาวะนี้

ดังนั้น วิธีป้องกันหรือลดความเสี่ยงคุณพ่อคุณแม่ควรจัดท่านอนให้ถูกต้อง ด้วยการให้ลูกนอนในท่าทางที่นอนหงายอยู่เสมอ และคุณแม่ไม่ควรที่จะสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์หรือหลังคลอดก็ตาม


ขณะที่ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่กำลังนอนหลับ สมองก็ยังมีการพัฒนาอย่างตลอดเวลา อย่างต่อเนื่องเพราะในช่วงที่ลูกน้อยกำลังนอนหลับเป็นช่วงที่สมองกำลังสร้างและเชื่อมต่อเซลล์สมองนับล้าน ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และความทรงจำที่ดีของลูก เพื่อให้ลูกได้เริ่มทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องและตลอดทั้งวัน

ดังนั้น การนอนหลับที่ดีและเพียงพอของลูกจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเติบโต ซึ่งนอกจากจะท่านอนที่เหมาะสมของลูกแล้วการมีปัจจัยอื่นมาส่งเสริมก็มีส่วนสำคัญ เช่น การสร้างกิจวัตรก่อนนอนให้ลูกเพื่อทำให้ลูกผ่อนคลาย การปรับสภาพแวดล้อมให้เข้ากับการนอน หรี่ไฟไม่ให้สว่างจนเกินไป หรือแม้แต่การให้ลูกได้บริโภคโภชนาการที่ดีอย่างนมแม่ ที่มีสารสำคัญอย่าง MFGM ที่เสริมสร้างพัฒนาการสมอง ช่วยให้ลูกได้นอนหลับอย่างมีคุณภาพ และส่งเสริมการพัฒนาการทางสติปัญญา

 


 นอนคว่ำแล้วลูกหัวสวย ให้นอนคว่ำสลับกับนอนหงายได้ไหม

    จริง ๆ สามารถนอนได้ค่ะ แต่ไม่ควรปล่อยให้หลับในท่านอนคว่ำ เพราะจะทำให้ลูกหยุดหายใจขณะหลับได้ ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลเรื่องหัวลูกจะไม่สวย ก็สามารถให้ลูกนอนหงายและสลับกับนอนตะแคงซ้ายขวาไปมา

     มีท่านอนคว่ำทารกที่ถูกต้อง และไม่เป็นอันตรายไหม

      ท่านอนคว่ำที่เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายก็มีค่ะ ซึ่งควรจัดท่านอนให้คว่ำหน้าหันไปทางซ้ายหรือขวาทางใดทางหนึ่ง จากนั้นก็จับแขนและขาให้อยู่ในทางท่าที่สบายตัว ไม่นอนทับแขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง

       นอนหงายแล้วลูกจะหัวแบนไม่สวย จริงไหม

        เป็นเรื่องจริงค่ะ ที่เมื่อเด็กทารกนอนหงายแล้วจะหัวแบน เนื่องจากกะโหลกศีรษะของเด็กยังนุ่มและบางอยู่ หากมีการกดทับเป็นเวลานานก็จะทำให้ศีรษะแบนได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกนอนหงายสลับกับนอนตะแคงข้างไปมา หรืออาจจะหาหมอนหลุมให้ลูกนอนเพื่อกระจายแรงกดทับจากศีรษะของลูกน้อยค่ะ

         จับทารกนอนตะแคงได้ตอนไหน

          ในช่วงแรกเกิดไปจนถึง 3 เดือนแรก ลูกน้อยก็สามารถนอนตะแคงได้ค่ะ เพียงแต่จัดในท่าที่ถูกต้องโดยการให้แขนที่ต่ำกว่าติดพื้นแล้วเหยียดกางออกมา เพื่อที่จะได้มั่นใจว่าลูกน้อยไม่พลิกกลับมาเป็นท่านอนคว่ำค่ะ แต่ทางที่ดีควรให้ลูกน้อยนอนหงายเพื่อที่จะไม่เสี่ยงกับภาวะ SIDS

           ทารกนอนตะแคงนานได้ไหม

            หากลูกน้อยอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถนอนตะแคงได้แล้ว ก็ควรที่จะให้นอนได้ไม่เกิน 20-30 นาที และสลับกับนอนหงาย ไปมาค่ะ

             ทารกนอนตะแคงฝั่งไหน

              คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกน้อยนอนตะแคงได้ทั้งซ้ายและขวาเลยค่ะ เพียงแต่ว่าให้นอนในท่าทางที่ไม่กดทับและรบกวนระบบหายใจของลูกน้อย



              น้ำนมเหลืองสั่งซื้อสินค้าออนไลน์สมัครสมาชิกใหม่