ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
โพรไบโอติกนี้ มันมีดียังไง จำเป็นต้องกินหรือไม่!?

โพรไบโอติกนี้ มันมีดียังไง จำเป็นต้องกินหรือไม่!?

Enfa สรุปให้:

  • โพรไบโอติก (Probiotic) เป็นจุลินทรีย์มีชีวิต สามารถพบได้ในร่างกายและในอาหารบางชนิด ซึ่งมีหน้าที่ในการช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งระบบอื่น ๆ ของร่างกาย จัดกี่จุลินทรีย์ชนิดร้าย คืนสภาวะสมดุล และปกติให้กับร่างกายของเรา
  • ถึงแม้ร่างกายจะมีโพรไบโอติกอยู่แล้ว แต่การรับประทานโพไบโอติกเพิ่มเข้าไป จะช่วยเสริมสร้างโพรไบโอติกที่ร่างกายสูญเสียไปจากการย่อยและสาเหตุอื่น ๆ
  • เราสามารถพบโพรไบโอติกได้จากอาหารประเภทหมักดอง เช่น โยเกิร์ต กิมจิ คอมบูชา หรือชาหมัก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถพบโพรไบโอติกได้ในน้ำนมแม่ โดยโพรไบโอติกที่พบในน้ำนมแม่ คือ จุลินทรีย์สุขภาพแลคโตบาซิลัส รามโนซัส จีจี (LGG)

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • โพรไบโอติกคืออะไร
     • โพรไบโอติกมีอะไรบ้าง
     • โพรไบโอติกจำเป็นต่อร่างกายไหม
     • ประโยชน์ของโพรไบโอติก
     • ต้องกินโพรไบโอติกตอนไหน
     • โพรไบโอติกกินนานแค่ไหน
     • เลือกโพรไบโอติกอย่างไร
     • อาหารที่มีโพรไบโอติกสูง
     • ใครสามารถกินโพรไบโอติกได้บ้าง
     • รู้จักกับจุลินทรีย์สุขภาพ LGG
     • ไขข้อข้องใจเรื่องโพรไบโอติกกับ Enfa Smart Club

ทำไมเราต้องกินโพรไบโอติก? เจ้าจุลินทรีย์ตัวนี้มันมีดียังไงนะ หลาย ๆ ครั้งที่เราอาจจะได้ยินคำแนะนำให้รับประทานโพรไบโอติก เพื่อช่วยในเรื่องของการขับถ่าย แต่โพรไบโอติกมีดีแค่ช่วยให้ขับถ่ายง่ายเท่านั้นหรือ? เพื่อไขข้อสงสัยนี้ เอนฟาชวนทุก ๆ คนมาทำความรู้จักกับเจ้าโพรไบโอติกกันค่ะ!

Probiotic คืออะไร


Probiotic หรือโพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์และยีสต์มีชีวิตที่อาศัยอยู่ในร่างกายของเรา โดยปกติแล้ว ร่างกายจะมีจุลินทรีย์ทั้งชนิดดีและชนิดร้าย ซึ่งหากร่างกายมีอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ จุลินทรีย์ชนิดร้ายก็จะเข้าไปทำลายระบบต่าง ๆ ในร่างกาย แต่สำหรับโพรไบโอติกที่เป็นจุลินทรีย์ชนิดดี จะทำหน้าที่ช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งระบบอื่น ๆ กำจัดจุลินทรีย์ชนิดร้าย และคืนสภาวะสมดุลปกติให้กับร่างกาย

ในปัจจุบัน เราสามารถหาพรีไบโอติกมารับประทานได้ตามท้องตลาดทั่วไป โดยมักจะพบพรีไบโอติกในผลิตภัณฑ์จำพวกโยเกิร์ต นมเปรี้ยว ซุปมิโซะ เป็นต้น

จุลินทรีย์โพรไบโอติกมีอะไรบ้าง


โปรไบโอติก มีอะไรบ้าง? สำหรับจุลินทรีย์โพรไบโอติกสามารถแยกประเภทออกมาได้อีก 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

          1. แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus): โพรไบโอติกชนิดนี้ สามารถพบได้ในระบบทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ และช่องคลอด นอกจากนี้ยังพบได้ในอาหารประเภทโยเกิร์ต นมเปรี้ยม รวมไปถึงอาหารหมักดองบางชนิด แลคโตบาซิลลัสมีส่วนช่วยป้องกันอาการท้องเสีย ท้องร่วงได้อีกด้วย

          2. ไบฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium): ไบฟิโดแบคทีเรียมจะอาศัยอยู่บริเวณช่องปาก ลำไส้ และช่องคลอด รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากนมบางชนิด โพรไบโอติกชนิดนี้มีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร ผลิตกรดไขมันสายสั้น และช่วยลดอาการอักเสบ

          3. แซคคาโรไมซิส (Saccharomyces): เป็นยีสต์ชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในโพรไบโอติก มีส่วนช่วยในการรักษาสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ป้องกันอาการท้องเสีย รวมไปถึงอาการไม่สบายท้องอื่น ๆ สามารถพบพรีไบโอติกชนิดนี้ได้ในอาหารประเภทเครื่องดื่มชาหมักและผลิตภัณฑ์อาหารเสริม

โพรไบโอติกจำเป็นต่อร่างกายไหม


ถึงแม้ร่างกายจะมีพรีไบโอติกอาศัยอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ช่องปาก ทางเดินอาหาร ลำไส้ และช่องคลอด แต่การรับประทานพรีไบโอติกเสริมเพิ่มเติมเข้าไป จะช่วยเข้าไปทดแทนพรีไบโอติกที่สูญเสียจากการย่อยและสาเหตุอื่น ๆ

สำหรับโพรไบโอติกแล้ว มีความจำเป็นกับร่างกายเป็นอย่างมาก โดยมีบทบาทและหน้าที่สำคัญต่อระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งโพรไบโอติกจะทำหน้าที่เสมือนตัวเสริมสร้างระบบต่าง ๆ ให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ โพรไบโอติกยังช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมภายนอกร่างกายอีกด้วย

Probiotic ช่วยอะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง


อย่างที่เราทราบกันดีกว่า โพรไบโอติกมีบทบาทและหน้าที่สำคัญกับระบบทางเดินอาหาร ระภูมิคุ้มกัน รวมถึงระบบอื่น ๆ ของร่างกาย หากร่างกายขาดโพรไบโอติกไปก็อาจจะมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา โดยโพรไบโอติกสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือความผิดปกติของร่างกาย ดังนี้

          • ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ เช่น อาการท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน รวมถึงกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหารเรื้อรัง (Inflammatory Bowel)
          • กลุ่มโรคภูมิแพ้ เช่น ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ โรคจมูกอักเสบจากโรคภูมิแพ้ เป็นต้น
          • สุขภาพช่องปาก เช่น ฟันพุ โรคปริทันต์ และปัญหาเกี่ยวกับช่องปากอื่น ๆ
          • อาการโคลิคในเด็ก
          • โรคตับ
          • ไข้หวัด
          • ภาวะลำไส้เน่าในทารกที่คลอดก่อนกำหนด
          • ปัญหาผิวหนัง

โปรไบโอติกกินตอนไหน


โพรไบโอติกกินตอนไหน ช่วงเวลาไหนกันที่เหมาะสมสำหรับการรับประทานโพรไบโอติก? สำหรับการรับประทานโพรไบโอติกแล้ว อาจจะไม่มีเวลาตายตัวมากนัก ยิ่งหากรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของโพรไบโอติก ไม่ว่าจะเป็น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ชาหมัก ก็สามารถรับประทานได้ตามช่วงมื้ออาหาร หรือช่วงเวลาที่ต้องการของแต่ละบุคคล

ในกรณีที่รับประทานโพรไบโอติกที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรับประทานโพรไบโอติก คือช่วงเวลาก่อนเข้านอน เนื่องจากลำไส้จะทำงานน้อย ทำให้โพรไบโอติกที่รับประทานเข้าไปสามารถอยู่ในลำไส้ได้นานขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับการรับประทานอาหารเสริมโพรไบโอติก ยังควรรับประทานตามคำแนะนำบนฉลากของบรรจุภัณฑ์ หรือตามคำแนะนำของเภสัชร และผู้เชี่ยวชาญ

โปรไบโอติกกินนานแค่ไหน


เนื่องจากโพรไบโอติกเป็นสิ่งที่อยู่ในร่างกายไม่ได้นานนัก เพราะสุดท้ายแล้วเราจะขับถ่ายมันออกมา ดังนั้นจึงควรรับประทานโพรไบโอติกเป็นประจำ กรณีรับประทานโพรไบโอติกที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ควรรับประทานตามคำแนะนำบนฉลาก หรือตามคำแนะนำของเภสัชกร และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

Probiotic ยี่ห้อไหนดี? เราควรเลือกโปรไบโอติกอย่างไร


เราสามารถหาซื้อโพรไบโอติกชนิดผลิตภัณฑ์อาหารเสริมได้ตามท้องตลาดทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันก็มีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติกหลากหลายยี่ห้อให้เราได้เลือกสรร แต่การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติกควรคำนึงถึงคุณสมบัติเหล่านี้ ได้แก่

          • ปริมาณส่วนประกอบของจุลินทรีย์ (Colony-forming Units): ควรเลือกผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติกที่มีจำนวนประมาณส่วนประกอบของจุลินทรีย์อย่างต่ำอยู่ที่ 1 ล้านโคโลนี และควรประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ไบฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) หรือแซคคาโรไมซิส (Saccharomyces)

          • วันที่ผลิต – หมดอายุ และการจัดเก็บรักษา: ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีการระบุวันที่ผลิตและหมดอายุที่ชัดเจน นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกบางชนิดต้องการการเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม ดังนั้นจึงควรสังเกตแหล่งจำหน่ายว่ามีการจัดเก็บตามอุณหภูมิที่เหมาะสมตามที่ฉลากระบุหรือไม่ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์เน่าเสีย หรือเสื่อมสภาพ

          • มีเลขอย.: ผลิตภัณฑ์ที่เลือกซื้อ จะต้องมีมาตรฐานการผลิตที่ปลอดภัย มีเลขทะเบียนได้รับอนุญาติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

แนะนำอาหารที่มี Probiotic สูง


นอกจากการรับประทานโพรไบโอติกที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมได้แล้ว เรายังสามารถรับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติกได้เช่นกัน ซึ่งมีราคาที่ย่อมเยาว์กว่า รวมทั้งได้ผลิตภัณฑ์ที่สดใหม่และหาได้ง่ายตามท้องตลาด อาหารที่มีโพรไบโอติกสูงบางชนิดยังสามารถทำได้เองที่บ้านอีกด้วย โดยอาหารที่มีโพรไบโอติกสูง เช่น

          • ซาวร์เคราต์: ซาวร์เคราต์ (Sauerkraut) หรือกะหล่ำปลีหมักแบบฝรั่ง เป็นอาหารที่ทำจากกะหล่ำปลีซอยละเอียด หมักกับเกลือ และสมุนไพรต่าง ๆ มีรสเปรี้ยว มักจะนิยมทานคู่กับเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

          • โยเกิร์ต: โยเกิร์ตเป็นอาหารอีกชนิดที่เรามักจะได้ยินบ่อย ๆ ว่ามีโพรไบโอติกสูง สามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด มีให้เลือกหลากหลายรสชาติ สามารถรับประทานร่วมกับผลไม้ หรือธัญพืชได้ อย่างไรก็ตาม โยเกิร์ตบางชนิดมีปริมาณน้ำตาลที่สูง ควรเลือกรับประทานโยเกิร์ตที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำ

          • ถั่วนัตโตะ: อาหารญี่ปุ่นที่ทำจากถั่วเหลืองและนำมาหมัก มีลักษณะเหนียวและลื่น นิยมรับประทานกับข้าวสวย พร้อมทั้งราดซอสถั่วเหลือง หรือมัสตาร์ดลงไป

          • กิมจิ: อาหารเกาหลีที่นิยมรับประทานเป็นเครื่องเคียงกับเมนูต่าง ๆ ทำจากผักหลากหลายชนิดหมักกับพริกและเครื่องปรุงต่าง ๆ

          • คอมบูชา หรือชาหมัก: คอมบูชา (Kombucha) หรือชาหมัก เป็นเครื่องดื่มที่ใช้ชา น้ำตาล ผลไม้ และสมุนไพรต่าง ๆ นำมาหมัก โดยใช้ระยะเวลาในการหมักชาประมาณ 7 – 12 วัน

ใครกิน Probiotic ได้บ้าง? แม่ตั้งครรภ์รับประทาน Probiotic ได้ไหม


โพรไบโอติกสามารถรับประทานได้ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ รวมทั้งคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายของเรามีความต้องการโพรไบโอติกอยู่แล้ว การรับประทานโพรไบโอติกมีส่วนช่วยให้ระบบย่อยอาหารของเราทำงานได้อย่างปกติ สามารถช่วยป้องกันอาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

รู้จักกับจุลินทรีย์สุขภาพ LGG


จุลินทรีย์สุขภาพแลคโตบาซิลัส รามโรซัส จีจี (Lactobacillus Rhamnosus GG) หรือ LGG เป็นโพรไบโอติกชนิดหนึ่ง ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก และมีคุณสมบัติในการรักษาโรคท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อ โรคท้องเสียเฉียบพลันในเด็ก ป้องกันฟันผุ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้

โดยจุลินทรีย์สุขภาพแลคโตบาซิลัส รามโนซัส จีจี (LGG) สามารถพบได้ในอาหารบางชนิด เช่น โยเกิร์ต ชาหมัก นมเปรี้ยวบางชนิด เป็นต้น ทั้งนี้ ยังสามารถพบโพรไบโอติก หรือจุลินทรีย์สุขภาพแลคโตบาซิลัส รามโนซัส จีจี (LGG) ได้ในน้ำนมแม่ได้อีกเช่นกัน

นมแม่

โดยคุณประโยชน์ของน้ำนมแม่ที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ LGG ร่วมกับโปรตีนย่อยง่าย และสารอาหารอื่น ๆ อีกกว่า 200 ชนิด จะช่วยสร้างสมดุลจุลินทรีย์บริเวณผนังลำไส้ และเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานของลูกน้อยให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภูมิแพ้ที่จะตามมาในอนาคต

สงสัยหรือไม่ว่าลูกน้อยจะมีความเสี่ยงเป็นภูมิแพ้ในเด็กหรือไม่ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภูมิแพ้ในเด็กได้ที่นี่ หรือสามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงการเป็นภูมิแพ้ได้ที่นี่

แบบทดสอบ


ไขข้อข้องใจเรื่องการรับประทาน Probiotic กับ Enfa Smart Club


โพรไบโอติกกินตอนไหนดีที่สุด

เราสามารถรับประทานโพรไบโอติกได้ทุกช่วงเวลาระหว่างวัน นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนอีกด้วย ในบางรายอาจจะย่อยโพรไบโอติกได้เร็ว ทำให้ขับถ่ายได้ง่ายในเวลาถัดมา ก็อาจจะเลือกเวลาที่เหมาะสมกับตัวเองและกิจวัตรประจำวัน

โพรไบโอติกกินทุกวันได้ไหม

เราสามารถรับประทานโพรไบโอติกได้ทุกวัน

โพรไบโอติกกินมากเกินไปอันตรายไหม

การรับประทานโพรไบโอติกมากเกินไป อาจจะทำให้มีผลข้างเคียงกับระบบย่อยอาหาร เช่น ส่งผลให้มีแก๊สในกระเพาะ ท้องไส้ปั่นป่วน นอกจากนี้ หากเป็นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพโรคร้ายแรง หรือมีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำในการในการรับประทานโพรไบโอติก

โพรไบโอติกกินก่อนหรือหลังอาหาร

ถึงแม้ว่าผลการศึกษาบางฉบับจะระบุว่า การรับประทานพรีไบโอติกก่อนมื้ออาหาร จะช่วยให้โพรไบโอติกที่รับประทานเข้าไป มีชีวิตอยู่ได้นานกว่าการรับประทานหลังมื้ออาหาร อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะรับประทานพรีไบโอติกก่อน หรือหลังมื้ออาหาร ก็ไม่สำคัญเท่ากับความสม่ำเสมอในการรับประทานโพรไบโอติก โดยควรรับประทานโพรไบโอติกในทุก ๆ วัน

โพรไบโอติกมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

การรับประทานโพรไบโอติก อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงกับร่างกายในบางครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ โดยผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อรับประทานโพรไบโอติก เช่น ท้องไส้ปั่นป่วน มีแก๊สในกระเพาะ ท้องเสีย เป็นต้น

นอกจากนี้ ในผู้ที่มีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีปัญหาสุขภาพร้ายแรง หรือพึ่งได้รับการผ่าตัดมา ควรเลี่ยงการรับประทานโพรไบโอติก เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน ต้องรีบแก้ ก่อนคุณแม่จะแย่กว่าเดิม
เรื่องใหญ่สำหรับคนท้อง ทำยังไงดีเมื่อคนท้องท้องผูก!
รู้จักกับ “พรีไบโอติก” ทำไมต้องกิน ดีกับสุขภาพอย่างไร?
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner