ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
inducing-labor

กระตุ้นปากมดลูก ทำอย่างไร เร่งคลอดแล้ว กี่วันถึงคลอด

Enfa สรุปให้

  • เมื่อถึงกำหนดคลอด แต่ยังไม่มีการคลอดเกิดขึ้น ไม่มีอาการใกล้คลอดปรากฎ แพทย์อาจวินิจฉัยให้ทำการเร่งคลอด หรือกระตุ้นปากมดลูกเพื่อเร่งให้เกิดการคลอด
  • หากร่างกายของคุณแม่มีการตอบสนองต่อการกระตุ้นปากมดลูกด้วยดี ก็อาจจะมีการคลอดเกิดขึ้นหลังจากนั้นไม่นาน
  • แต่ถ้าคุณแม่มีอายุครรภ์เกิน 40 สัปดาห์ การกระตุ้นปากมดลูกอาจจะไม่ค่อยได้ผล และมีโอกาสสูงที่จะต้องคลอดลูกด้วยการผ่าคลอด

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • การกระตุ้นปากมดลูกคืออะไร
     • กระตุ้นปากมดลูกทำยังไง
     • กระตุ้นปากมดลูกกี่วันคลอด
     • ไขข้อข้องใจเรื่องการกระตุ้นปากมดลูกกับ Enfa Smart Club

เมื่อใกล้กำหนดคลอด หรือถึงกำหนดคลอด คุณแม่หลายคนก็จะเริ่มมีอาการใกล้คลอด หรือเข้าสู่กระบวนการคลอด แต่...มีคุณแม่อีกหลายคนที่แม้จะใกล้กำหนดคลอดเข้ามาทุกที

หรือแม้ว่าจะถึงกำหนดคลอดแล้ว ก็ยังไม่มีสัญญาณการคลอดใด ๆ จนต้องเข้ารับการกระตุ้นปากมดลูก แต่การกระตุ้นคลอดนี้ปลอดภัยไหม แล้วหลังจากกระตุ้นปากมดลูก อีกกี่วันถึงจะคลอดกันนะ 

การกระตุ้นปากมดลูก คืออะไร


การกระตุ้นปากมดลูก จะทำกันก็ต่อเมื่อคุณแม่ถึงกำหนดคลอดแล้วแต่ยังไม่มีการคลอดเกิดขึ้น หรือตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดแล้ว แต่ก็ยังไม่มีอาการใกล้คลอดปรากฎ แพทย์จึงจำเป็นจะต้องช่วยช่วยกระตุ้นปากมดลูก หรือทำการเร่งคลอด เพื่อช่วยให้มีการคลอดเกิดขึ้น  

เพราะถ้าหากปล่อยให้ทารกอยู่ในครรภ์นานเกินไปเรื่อย ๆ ระดับน้ำคร่ำก็จะลดลง ซึ่งถ้าหากน้ำคร่ำลดลงต่ำกว่าปกติ ก็จะเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ได้ค่ะ 

เมื่อไหร่ที่คุณหมอจะกระตุ้นปากมดลูก

เมื่อถึงกำหนดคลอด แพทย์จะพิจารณาให้มีการกระตุ้นปากมดลูก เพื่อเร่งให้เกิดการคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่คุณแม่ถึงกำหนดคลอดแล้วแต่ยังไม่มีอาการใกล้คลอดเกิดขึ้น 

หรือในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์เกิดกำหนด หรือมีอายุครรภ์มากกว่า 40 สัปดาห์ขึ้นไปแล้วยังไม่คลอด แพทย์ก็จะทำการกระตุ้นปากมดลูก เพื่อช่วยเร่งให้มีการคลอดเกิดขึ้น 

คุณหมอกระตุ้นปากมดลูกยังไง


วิธีกระตุ้นให้ปากมดลูกเปิด สามารถทำได้ ดังนี้

  • กระตุ้นปากมดลูกโดยการกวาดมดลูก โดยแพทย์จะใช้นิ้วกวาดไปที่บริเวณปากมดลูก เพื่อทำการกระตุ้นให้ปากมดลูกเกิดการขยายตัว 
  • กระตุ้นปากมดลูกโดยการเจาะถุงน้ำคร่ำ วิธีนี้แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเข็มถักโครเชต์เจาะเข้าไปที่ถุงน้ำคร่ำให้แตกออก เพื่อกระตุ้นให้มดลูกมีการหดรัดตัว เร่งให้เกิดการคลอด 
  • กระตุ้นปากมดลูกโดยการเซาะแยกถุงน้ำคร่ำ แพทย์จะสอดนิ้วเข้าไปให้ลึกสุดของปากมดลูก จากนั้นจะหมุนนิ้วอย่างน้อย 2 รอบ เพื่อทำการเซาะแยกถุงน้ำคร่ำ เป็นการกระตุ้นให้มีการหลั่งเอนโซม์ phospholipase A2 เพื่อทำให้มดลูกมีการหดรัดตัว 
  • กระตุ้นปากมดลูกโดยการให้ยาเร่งคลอด วิธีนี้แพทย์จะให้ยาเร่งคลอดผ่านทางสายน้ำเกลือ เพื่อกระตุ้นให้มดลูกเกิดการบีบตัว  
  • กระตุ้นปากมดลูกเจ็บไหม 

การกระตุ้นปากมดลูกจะมีอาการเจ็บเป็นปกติค่ะ แต่จะเจ็บมากหรือเจ็บน้อยแตกต่างกันไป ขณะที่ทำการเร่งคลอดถ้าหากคุณแม่รู้สึกเจ็บมากจนทนไม่ไหว สามารถแจ้งต่อแพทย์ให้ทราบได้ทันที 

  • อาการหลังกระตุ้นปากมดลูก 

หลังจากทำการกระตุ้นปากมดลูกไปแล้ว คุณแม่มักจะมีอาการเจ็บหรือจุกค่ะ โดยอาจจะมีอาการเลือดออกหรือมีตกขาวเพิ่มมากขึ้นด้วย  

ซึ่งอาการเหล่านี้ถือว่าปกติค่ะ เพราะเมื่อมีการกระตุ้นปากมดลูก บริเวณปากมดลูกก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง มูกที่ปิดกั้นอยู่บริเวณปากมดลูกก็จะเริ่มไหลออกมา และหลังจากนั้นก็คอยสังเกตอาการใกล้คลอดได้เลย  

แต่ถ้าหากกระตุ้นปากมดลูกไป 1 สัปดาห์แล้วยังไม่มีการคลอดเกิดขึ้น ให้คุณแม่กลับไปพบแพทย์ เพื่อทำการเร่งคลอดอีกครั้ง หรืออาจจำเป็นจะต้องทำการผ่าคลอดในกรณีที่อายุครรภ์เกินกำหนดคลอดไปแล้ว 

  • กระตุ้นปากมดลูกแล้วมีเลือดออก 

ที่บริเวณปากมดลูกนั้นจะมีเส้นเลือดฝอยอยู่ เมื่อถูกกระตุ้น และปากมดลูกเริ่มเปิด เส้นเลือดฝอยก็จะมีการฉีกขาด ดังนั้น อาการเลือดออกหลังการกระตุ้นปากมดลูก ถือว่าปกติค่ะ   

แต่ถ้าหากคุณแม่เป็นกังวล สามารถไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ได้ว่าทารกในครรภ์ยังเป็นปกติไหม ถ้าหากทุกอย่างปกติ ก็แสดงว่าอาการเลือดออกนั้นไม่มีอันตรายค่ะ เป็นเพียงอาการปกติหลังกระตุ้นปากมดลูกเท่านั้นเอง 

  • กระตุ้นปากมดลูกแล้วปวดท้อง  

หลังกระตุ้นปากมดลูก คุณแม่อาจมีอาการเจ็บหรือปวดจุกที่ท้องได้ค่ะ แต่อาการปวดท้องนี้ไม่อันตรายแต่อย่างใด เว้นเสียแต่ว่าอาการปวดท้องไม่ทุเลาลงเลย และเริ่มปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งรบกวนการนอนหลับและการใช้ชีวิตประจำวัน ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือเปล่า 

กระตุ้นปากมดลูกกี่วันคลอด


ตอบยากค่ะ เพราะร่างกายคุณแม่แต่ละคนตอบสนองต่อการกระตุ้นปากมดลูกแตกต่างกันออกไป บางคนอาจใช้เวลาเพียง 1-2 วันก็คลอด บางคนอาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์ หรือบางคนผ่านไป 2 สัปดาห์แล้วก็ยังไม่คลอด  

กรณีที่ไม่มีการคลอดเกิดขึ้น อาจจะต้องกลับไปทำการกระตุ้นปากมดลูกอีกครั้งเพื่อดูว่าจะได้ผลไหม แต่ถ้าหากไม่มีอะไรเกิดขึ้นอีก แพทย์อาจจะต้องทำการผ่าคลอดค่ะ 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดไปแล้ว หรือมีอายุครรภ์เกิน 40 สัปดาห์ กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นไปได้ยากที่จะมีการคลอดธรรมชาติเกิดขึ้น และโดยมากมักจะจบลงที่การผ่าคลอดค่ะ 

น้ำนมแม่คืออาหารมื้อแรกที่ดีที่สุดสำหรับลูก

หลังจากกระตุ้นปากมดลูกและมีการคลอดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งสำคัญที่คุณแม่ไม่ควรจะมองข้ามไปเลยก็คือ การให้นมลูกโดยเร็วที่สุดค่ะ ยิ่งให้หลังคลอดได้ทันทีก็จะยิ่งดีใหญ่ เพราะทารกจะได้เริ่มต้นการเจริญเติบโตจากแหล่งอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก ซึ่งก็คือนมแม่นั่นเอง 

  • การให้นมลูกในช่วง 1-3 วันแรกหลังคลอด ระยะนี้เป็นเวลาที่นมแม่อยู่ในช่วงของน้ำนมเหลือง ซึ่งเป็นน้ำนมแรกสุด อุดมไปด้วยโภชนาการและสารภูมิคุ้มกันสูงสุด โดยเฉพาะแลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin)ในระดับสูงสุด จะอยู่ในน้ำนมแม่แค่ช่วงน้ำนมเหลืองเท่านั้น พ้นไปจากนี้ก็จะลดปริมาณและคุณภาพลงไปเรื่อย ๆ 
  • นมแม่มี MFGM (Milk Fat Globule Membrane) หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันที่พบได้ในนมแม่ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายและระบบการป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรีย ช่วยให้ร่างกายเด็กต่อสู้กับการติดเชื้อได้

มากไปกว่านั้น ยิ่งคุณแม่ให้นมลูกเร็วเท่าไหร่ คุณแม่ก็เป็นผู้รับประโยชน์นั้นตามไปด้วยค่ะ หากลูกเริ่มดูดนมเร็ว ร่างกายคุณแม่ก็จะจดจำว่าถึงเวลาที่จะต้องเริ่มขับน้ำนมให้ไหลออกมาแล้ว

เนื่องจากหัวนมถูกกระตุ้นโดยการดูดจากทารก ต่อมน้ำนมจึงทำการผลิตน้ำนมและขับออกมาเพื่อตอบสนอง ทำให้ลดความเสี่ยงของปัญหาน้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหลได้ค่ะ 

ไขข้อข้องใจเรื่องการกระตุ้นปากมดลูกกับ Enfa Smart Club


หมอกระตุ้นปากมดลูก มีเลือดออก เกิดจากอะไร? 

หลังทำการกระตุ้นปากมดลูก มักจะมีเลือดออกเป็นปกติค่ะ เนื่องจากเมื่อปากมดลูกเริ่มเปิดออก ก็จะทำให้เส้นเลือดบริเวณปากมดลูกฉีกขาด จึงมีเลือดออกกะปริดกะปรอยหลังการกระตุ้นปากมดลูก 

แต่ถ้าหากคุณแม่มีเลือดไหลออกมามากเกินไป ควรกลับไปตรวจกับแพทย์อีกครั้งว่าทุกอย่างยังปกติดีไหม ทารกผิดปกติอะไรหรือเปล่า ถ้าหากทุกอย่างยังคงปกติ ก็ไม่มีอะไรต้องกังวลค่ะ พักผ่อนไม่นานอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นได้ 

โดนกระตุ้นปากมดลูกกี่วันคลอด? 

ข้อนี้ตอบแบบฟันธงได้ยากค่ะ เพราะร่างกายคุณแม่แต่ละคนตอบสนองต่อการถูกกระตุ้นปากมดลูกไม่เหมือนกัน อาจใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน หรือหลายสัปดาห์ก็ได้ค่ะ 

วิธีกระตุ้นให้ปากมดลูกเปิด สามารถทำด้วยตัวเองได้ไหม? การกระตุ้นปากมดลูก ควรให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ทำ เพราะมีความเข้าใจและความชำนาญในวิชาชีพ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายหรือการติดเชื้อได้ค่ะ 

ส่วนการกระตุ้นด้วยตัวเองที่อาจสามารถทำได้ ก็เช่น การบริหารอุ้งเชิงกราน การมีเพศสัมพันธ์ ก็อาจช่วยกระตุ้นให้มดลูกเกิดการหดรัดตัวได้ แต่อาจจะไม่ได้ให้ผลลัพธ์เท่ากับการให้แพทย์กระตุ้นปากมดลูกค่ะ 

กระตุ้นคลอด เลือดออกกี่วัน? 

หลังกระตุ้นปากมดลูก คุณแม่อาจจะมีเลือดออกกะปริดกะปรอยได้ค่ะ แต่จะเลือดออกกี่วันและนานแค่ไหนนั้น ตอบได้ยากค่ะ บางคนอาจจะมีเลือดออกแค่วันเดียว บางคนอาจจะสองวัน หรือสามวัน  

แต่ถ้ายังมีเลือดออกมาเรื่อย ๆ หรือมีปริมาณเลือดออกเพิ่มมากขึ้น คุณแม่ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่าเกิดความผิดปกติอะไรหรือเปล่า 



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

hospital-bag-checklist-for-pregnancy
preterm-birth
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner