ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ท้อง 30 สัปดาห์ อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ท้อง 30 สัปดาห์ อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

Enfa สรุปให้

  • อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ ทารกจะมีความยาวประมาณ 17 นิ้ว ประมาณ 1.3 - 1.5 กิโลกรัม มีขนาดเท่ากับกะหล่ำปลี หรือผักกาดหอม
  • อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ เซลล์ผิวของทารกกำลังสร้างเมลานิน ซึ่งทำให้ผิวมีสีเข้มขึ้น แต่การผลิตเมลานินส่วนใหญ่จะพัฒนาเต็มที่เมื่อทารกอายุได้ประมาณ 6 เดือน
  • อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ ทารกมีจำนวนเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้นมากมายนับแสนล้านเซลล์ ระบบประสาทมากขึ้น เมื่อโยงใยมากขึ้นสมองของทารกจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ท้อง 30 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
     • พัฒนาการเด็กในครรภ์สัปดาห์ที่ 30
     • การเปลี่ยนแปลงร่างกายคุณแม่อายุครรภ์ 30 สัปดาห์
     • อาหารคนท้อง 30 สัปดาห์ ควรกินอะไรบ้าง
     • อาการคนท้อง 30 สัปดาห์ เป็นแบบไหน
     • 30 สัปดาห์ มีนัดตรวจอะไรไหม
     • ท้อง 30 สัปดาห์ มีอาการแบบนี้ ปกติหรือไม่
     • ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์
     • ไขข้อข้องใจเมื่อตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ กับ Enfa Smart Club

ท้อง 30 สัปดาห์แล้ว คุณแม่คงนึกไม่ถึงว่าอายุครรภ์ที่เข้าสู่เลข 30 จะมาถึงเร็วขนาดนี้ใช่ไหมคะ ซึ่งอีกไม่กี่สัปดาห์หลังจากนี้แล้วที่คุณแม่กับลูกน้อยจะได้พบหน้ากัน หลังจากเห็นหน้ากันผ่านจอมอนิเตอร์อัลตราซาวนด์มาหลายเดือน

แต่ก่อนจะไปถึงวันคลอด เรามาดูกันก่อนดีกว่าค่ะว่าตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ คุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง แล้วลูกน้อยอายุครรภ์ 30 สัปดาห์มีพัฒนาการเป็นอย่างไร

ท้อง 30 สัปดาห์ มีอะไรบ้างเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้


สัปดาห์นี้ระบบประสาทและสมองของทารกพัฒนาขึ้นมาจนใกล้จะสมบูรณ์แล้วค่ะ ขณะที่ประสาทการได้ยินของทารกนั้นทำงานได้เต็มระบบแล้ว ทารกสามารถตอบสนองต่อเสียงรอบตัวที่ได้ยินมากขึ้นกว่าในไตรมาสสองอีกค่ะ

ท้อง 30 สัปดาห์ ลูกอยู่ท่าไหน

ทารกในครรภ์ 30 สัปดาห์ ยังไม่อยู่ในท่าที่พร้อมคลอดค่ะ และไม่มีท่าที่ตายตัวด้วย เพรราะสามารถเปลี่ยนท่าทาง เปลี่ยนตำแหน่งได้ทั้งวัน ตอนเช้าอาจเอาหัวลง แต่ตอนบ่ายก็อาจกลับเอาหัวขึ้น เนื่องจากมดลูกยังมีพื้นมากพอให้ทารกดิ้นและเคลื่อนไหวไปมาได้อย่างอิสระค่ะ

อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน

คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 30 สัปดาห์ เมื่อเทียบเป็นจำนวนเดือนแล้วจะเท่ากับอายุครรภ์ 7 เดือน 2 สัปดาห์ค่ะ

พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ 30 สัปดาห์ เป็นอย่างไร


พัฒนาการของทารกในครรภ์สัปดาห์นี้จะโดดเด่นในเรื่องของระบบประสาทและสมอง ซึ่งมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และจะพัฒนามากขึ้นไปอีกในระยะนี้

ขนาดทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 30 จะมีขนาดเท่าไหน

ทารกอายุครรภ์ 30 สัปดาห์ จะมีความยาวประมาณ 17 นิ้ว มีขนาดเท่ากับกะหล่ำปลี หรือผักกาดหอมค่ะ

ท้อง 30 สัปดาห์ ลูกหนักเท่าไหร่

อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ น้ำหนักทารกจะอยู่ที่ประมาณ 1.3 - 1.5 กิโลกรัมค่ะ

ท้อง 30 สัปดาห์ ลูกดิ้นมากแค่ไหน

ในสัปดาห์ที่ 30 นี้ พื้นที่ภายในมดลูกนั้นยังกว้างพอที่จะทำให้ทารกเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ อีกทั้งระบบร่างกายของทารกก็พัฒนามาจนเกือบสมบูรณ์แล้ว ทำให้การตอบสนองต่อแสง สี เสียงทำได้ดีขึ้น เวลาคุยกัน อ่านนิทาน หรือเปิดเพลงให้ลูกฟัง ลูกสามารถจะตอบโต้ด้วยการดิ้นหรือเตะท้องได้มากขึ้น

แต่ถ้าถามว่าลูกจะดิ้นบ่อยแค่ไหน อันนี้ตอบได้ยากค่ะ เพราะทารกแต่ละคนจะดิ้นมากดิ้นน้อยไม่เท่ากัน และทารกในระยะนี้สามารถดิ้นได้มากกว่า 300-400 ครั้งต่อวันค่ะ

อวัยวะและระบบอื่น ๆ

การพัฒนาของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ที่สำคัญของทารกในช่วงอายุครรภ์ 30 สัปดาห์ มีดังนี้

          • สมองของทารกในครรภ์จะเติบโตอย่างรวดเร็วอีกครั้ง มีจำนวนเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้นมากมายนับแสนล้านเซลล์ ระบบประสาทมากขึ้น เมื่อโยงใยมากขึ้นสมองของทารกจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพิ่มรอยหยักบนสมองเพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ในเนื้อเยื่อสมองเพื่อการพัฒนาและการเรียนรู้ของลูกน้อย

          • การได้ยินเสียงจะพัฒนาได้สมบูรณ์เต็มที่ในระหว่างอายุครรภ์ 30 สัปดาห์ และสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากภายนอกได้ เช่น ดิ้นแรงเมื่อได้ยินเสียงดัง ดิ้นมากขึ้นเมื่อเสียงลำไส้แม่ทำงาน ยามแม่หิว หรือ หัวใจเต้นเร็ว

เมื่อได้ยินเสียงดนตรีที่ชอบ มีการสร้างโยงใยการเชื่อมโยงของเส้นใยระหว่างเซลล์สมองมากขึ้นเพื่อเพิ่มเครือข่ายของสมองในการเรียนรู้ ยิ่งกระตุ้นมากก็ยิ่งมีการสร้างโยงใยของเซลล์ประสาท

          • เซลล์ผิวของทารกกำลังสร้างเมลานิน ซึ่งทำให้ผิวมีสีเข้มขึ้น (ยิ่งสร้างเซลล์เมลานินมาก ผิวก็จะยิ่งเข้มขึ้น) อย่างไรก็ตาม การผลิตเมลานินส่วนใหญ่จะยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าทารกจะคลอดค่ะ และสีผิวถาวรของทารกจะพัฒนาเต็มที่เมื่อมีอายุได้ประมาณ 6 เดือน

เข้าใจการเปลี่ยนแปลงร่างกายของคุณแม่อายุครรภ์ 30 สัปดาห์


แม่ท้อง 29 สัปดาห์หลายคนอาจต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายหลายอย่างในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

          • ช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลียง่ายขึ้นเป็นการเตือนของร่างกายให้คุณแม่พักผ่อนมากขึ้น ควรนอนพักผ่อน ให้ได้อย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมงขึ้นไป โดยให้นอนตะแคงซ้ายดีกว่านอนตะแคงขวา ควรหลีกเลี่ยงการนอนหงาย เพราะน้ำหนักมดลูกที่มากขึ้นอาจไปกดทับเส้นเลือดใหญ่ทำให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจไม่ได้ ทำให้ความดันตกลงเกิดอาการเป็นลมได้มดลูกที่ขยายตัวอาจกดลงบนเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับแขนหรือขา ทำให้ขา นิ้วเท้า หรือแขนรู้สึกเหน็บชา ซึ่งเป็นอาการปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งจะหายไปเองหลังจากคลอด

          • ท้องที่โตมากขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 30 สัปดาห์นี้ ทำให้คุณแม่หายใจตื้นขึ้นและเร็วขึ้นเพราะมดลูกโตจนดันกระบังลมทำให้ปอดมีปริมาตรเล็กลง คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อยง่าย อุ้ยอ้ายเคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว จึงควรเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ เพื่อไม่ให้ปอดทำงานหนักเกินไป คุณแม่ควรนั่งและนอนเหยียดหลังตรงเพื่อให้ปอดขยายตัวได้มากขึ้นจะหายใจได้สะดวกมากขึ้น

          • ตอนนี้คุณแม่หลายคนอาจจะกลับมาอารมณ์แปรปรวนแบบตอนตั้งครรภ์ใหม่ๆ เพราะเมื่อถึงช่วงที่ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ คุณแม่จะเริ่มกังวลกับบทบาทใหม่ของตน ฉันจะคลอดลูกออกมาปลอดภัยไหม จะมีน้ำนมพอไหม ท้องจะยุบไหม เป็นต้น

          • ขนาดท้องของคุณแม่ตอนนี้ก็ยังคงใหญ่ขึ้นมาอีกเรื่อย ๆ ส่งผลให้คุณแม่รู้สึกอึดอัดไปหมดไม่ว่าจะขยับตัวไปทำอะไรก็ตาม และบางคนเริ่มกินอาหารได้น้อยลง เพราะรู้สึกอึดอัดท้อง กินเข้าไปนิดหน่อยก็รู้สึกอิ่มซะแล้ว

          • ในระยะนี้คุณแม่หลายคนอาจรู้สึกว่าท้องแข็งบ่อย ซึ่งถ้าหากคุณแม่มีอาการปวดท้องเป็นครั้งคราวและหายไปเอง การนอนพัก หรือกินยาแก้ปวด สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้ แต่ถ้าหากมีอาการปวดถี่ขึ้น ปวดมากขึ้น และอาการปวดไม่ทุเลาลง พร้อมกับมีอาการคล้ายปากมดลูกเปิด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะคุณแม่อาจมีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ หรือเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดได้ค่ะ

          • อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ ซึ่งเป็นการตั้งครรภ์ในไตรมาสสาม ทารกมีขนาดตัวใหญ่ขึ้นและหนักมากถึง 1 กิโลกรัม จึงทำให้คุณแม่มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น แต่...คุณแม่ที่มีค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI ปกติ ยังจำเป็นที่จะต้องดูแลน้ำหนักให้เพิ่มขึ้นมาไม่เกิน 3.5-4.5 กิโลกรัม หรือไม่ควรเกิน 5 กิโลกรัมในช่วงไตรมาสสุดท้ายนี้ค่ะ

อาหารคนท้อง 30 สัปดาห์ มีอะไรบ้างที่คุณแม่ควรกิน


สำหรับแม่ท้อง 30 สัปดาห์ ควรเน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ หลากหลาย และครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละมื้อควรประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ รวมถึงธัญพืชต่าง ๆ ด้วย มากไปกว่านั้น ยังจำเป็นจะต้องเน้นกลุ่มสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ ได้แก่

          • ดีเอชเอ ช่วยพัฒนาทางสมอง ดวงตา และระบบประสาท ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ อาหารที่มีดีเอชเอสูง เช่น ปลาทะเล อโวคาโด ไข่แดง เป็นต้น

          • ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ ธาตุเหล็กพบได้มากในอาหารจำพวก เนื้อแดง ไข่แดง ตับ งา และผักสีเขียวเข้ม เป็นต้น

          • โฟเลต ช่วยในการพัฒนาของระบบประสาทและสมอง รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับระบบประสาทของทารกในครรภ์ โฟเลตพบได้มากในอาหารจำพวก ตับ ไข่ ผักใบเขียว และถั่วต่าง ๆ เป็นต้น

          • แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันของแม่และทารกให้แข็งแรง แคลเซียมพบได้มากในอาหารจำพวกนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส เนย หรือโยเกิร์ต เป็นต้น

          • ไอโอดีน ช่วยให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายปกติ ลดความเสี่ยงของโรคไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์ ไอโอดีนพบในอาหารทะเลทุกชนิด เกลือไอโอดีน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กระเทียม หรืองา เป็นต้น

          • โคลีน ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะความบกพร่องที่ระบบท่อประสาทของทารกในครรภ์ โคลีน พบมากในอาหารจำพวกไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน แซลมอน ไก่ บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก เป็นต้น

          • โอเมก้า 3 ช่วยเสริมสร้างและดูแลสุขภาพหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน สมอง และดวงตา รวมถึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดด้วย โอเมก้า 3 พบได้มากในอาหารจำพวกปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอริ่ง และพืชตระกูลถั่ว เช่น เมล็ดแฟลกซ์ ถั่วพีแคน ถั่วเฮเซลนัท เป็นต้น

นอกจากการกินอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลายแล้ว คุณแม่ยังสามารถเสริมสุขภาพด้วยการดื่มนมค่ะ โดยสามารถเลือกนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นจำหรับคนท้อง เช่น มีแคลเซียมสูง อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก โฟลิก โคลีน เป็นต้น

ซึ่งการดื่มนมก็จะช่วยให้คุณแม่ยังได้รับสารอาหารจำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม แม้ว่าในวันนั้นอาจจะกินอาหารได้น้อยลง

Enfamama TAP No. 1

อาหารแนะนำสำหรับคุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กรณีเช่นนี้จำเป็นจะต้องมีการควบคุมอาหารอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสุง อาหารที่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่เป็นเบาหวานคืออาหารจำพวกผัก ผลไม้ และอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลน้อย เพื่อช่วยควบคุมให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ก่อให้เกิดภาวะข้างเคียงตามมา

โดยในแต่ละมื้อ คุณแม่ควรปรับปรุงอาหารการกิน ดังนี้

          • มื้อเช้า: คุณแม่เบาหวานควรเลือกกินอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น โจ๊กปลา หรือ โจ๊กไก่ หรือจะเป็นข้าวต้มก็ได้ค่ะ

          • มื้อกลางวัน: เลือกกินอาหารที่มีรสชาติจัดขึ้นมาได้บ้างเล็กน้อย แต่ไม่ควรรสจัดเกินไป หวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด ควรเลี่ยงค่ะ แนะนำเป็นก๋วยเตี๋ยว เกาเหลา

          • มื้อเย็น: เลือกกินอาหารอ่อน ย่อยง่าย เพื่อไม่ให้แน่นหรืออึดอัดท้องเกินไป อาจส่งผลเสียต่อการนอนได้ แนะนำเป็นแกงเลียง ผัดผักต่าง ๆ

ส่วนผลไม้ จริง ๆ แล้วหากไม่ได้มีอาการแพ้ผลไม้ชนิดใดเป็นพิเศษ คนท้องกินผลไม้ได้ทุกชนิดค่ะ แต่สำหรับคุณแม่ที่เป็นเบาหวาน ควรเลือกกินผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย จะดีต่อสุขภาพมากกว่า เช่น มะละกอ สับปะรด พุทรา มังคุด แอปเปิ้ล ทับทิม แก้วมังกร ลองกอง มะม่วง ฝรั่ง องุ่น เป็นต้น

กินอย่างไรให้ลูกในท้องแข็งแรง หรือกินอะไรให้ลงลูกในท้อง

การกินให้ลงลูกนั้น ก่อนอื่นเลยคุณแม่ต้องระลึกไว้เสมอว่า ทุกอย่างที่แม่กิน ลูกในท้องจะได้รับด้วย ดังนั้น ถ้าหากคุณแม่อยากให้ลูกแข็งแรง ง่าย ๆ เลยค่ะ เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ กินอาหารให้หลากหลาย กินให้ครบทั้ง 5 หมู่

หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่สะอาด ไม่ผ่านการปรุงสุก งดคาเฟอีน แอลกอฮอล์ รวมถึงหลีกเลี่ยงสารเสพติดและพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพื่อที่ทารกในครรภ์จะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ มีส่วนช่วยเสริมสร้างร่างกายและพัฒนาระบบต่าง ๆ ของทารกให้สมบูรณ์ตามวัย

ส่วนจะรู้ได้ยังไงว่ากินแล้วจะลงลูกในท้อง ก็สามารถรู้ได้จากการไปตรวจครรภ์ในแต่ละครั้งที่แพทย์นัดนั่นแหละค่ะ ถ้าหากทารกมีพัฒนาการที่เป็นไปตามช่วงอายุครรภ์ ก็แปลว่าการดูแลสุขภาพของคุณแม่มีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตที่แข็งแรงของทารก

แต่ถ้าหากทารกมีพัฒนาการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ มีขนาดตัวเล็ก หรือมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งนอกจากจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยในเรื่องภาวะแทรกซ้อน หรือความผิดปกติในขณะตั้งครรภ์แล้ว บางครั้งก็อาจจะมาจากการที่คุณแม่ไม่ได้ดูแลตัวเองเป็นอย่างดี หรือขาดแคลนอาหารที่มีประโยชน์ เหล่านี้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทารกมีพัฒนาการไม่ตรงตามเกณฑ์ได้ค่ะ

อาการคนท้อง 30 สัปดาห์ ที่พบได้บ่อยในช่วงนี้


อาการคนท้อง 30 สัปดาห์ที่สามารถพบได้โดยทั่วไป มีดังนี้

          • ทารกมีการดึงพลังงานและสารอาหารจากคุณแม่มาใช้ในการเจริญเติบโตมากขึ้น จึงอาจทำให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลีย และเมื่อยล้าได้ง่ายในระยะนี้

          • รอยแตกลายที่ใหญ่อยู่แล้ว สัปดาห์นี้อาจขยายมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้เกิดอาการคันได้ง่าย ควรดูแลอย่าให้อับชื้น ใช้มอยส์เจอไรเซอร์ในการบำรุงผิว หรือใช้ยาทาแก้คันในกรณีที่มีอาการคันมาก ๆ

          • คุณแม่อาจจะรู้สึกว่าช่วงนี้ข้อเท้าบวมมากขึ้น ทั้งนี้เพราะขนาดครรภ์ที่ใหญ่และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ทำให้เท้าต้องแบกรับน้ำหนักเอาไว้ตลอดเวลา จึงทำให้บวมง่าย

          • คุณแม่เริ่มมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อนถี่ขึ้นกว่าเดิม เพราะขนาดตัวของทารกที่ใหญ่ขึ้นเริ่มกดดันกระเพาะอาหาร ทำให้การย่อยอาหารทำได้ไม่ดี

          • ท้องแข็งบ่อยขึ้น แต่ระวังจะสับสนว่ามีอาการเจ็บท้องใกล้คลอดนะคะ ถ้าหากปวดท้องแล้วหายได้เอง ปวดแบบไม่รุนแรงมากถือว่าปกติค่ะ แต่ถ้าปวดมาก ปวดบ่อย ทำยังไงก็ไม่หายปวด และปาดมดลูกเริ่มเปิด กรณีนี้ถือว่าอันตรายและเสี่ยงต่อการคลอด ให้รีบไปพบแพทย์ค่ะ

ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ สัปดาห์นี้มีนัดตรวจอะไรบ้างไหม


ในสัปดาห์นี้ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่จะมีนัดกับแพทย์ค่ะ โดยแพทย์จะนัดคุณแม่ให้เข้ามาทำการตรวจครรภ์และตรวจสุขภาพ สอบถามเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การดิ้นของลูก และอื่น ๆ ส่วนในกรณีที่คุณแม่มีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์แพทย์ก็จะมีการอัลตราซาวนด์เพื่อดูว่าทารกยังเป็นปกติอยู่ไหม มีพัฒนาการเป็นอย่างไร

แต่ถ้าหากคุณแม่ไม่ได้มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ เลย แพทย์อาจจะไม่ได้มีการอัลตราซาวนด์ให้ค่ะ หรือถ้าหากคุณแม่ต้องการอัลตราซาวนด์ก็สามารถปรึกษากับแพทย์ได้เช่นกันค่ะ

อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ แล้วมีอาการแบบนี้ ปกติหรือไม่?


อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ คุณแม่อาจพบกับอาการต่าง ๆ ที่ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องปกติของคนท้องหรือเปล่า หรือเป็นสัญญาณอันตรายไหม ซึ่งขอแนะนำว่าคุณแม่ควรจะหมั่นสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอว่ามีอาการใด ๆ ที่ผิดแปลกไปจากเดิมหรือไม่

และหากมีอาการใด ๆ ที่สงสัยว่าอาจจะเป็นสัญญาณอันตราย หรือไม่แน่ใจว่าอาการแบบนี้ผิดปกติไหม ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยทันทีค่ะ

ท้อง 30 สัปดาห์ ท้องแข็งบ่อย ปกติไหม

อาการท้องแข็งบ่อยในช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ โดยมากแล้วถือว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจาก

          • ทารกดิ้นแรง
          • คุณแม่ทำงานหนัก หรือออกแรงมาก
          • คุณแม่อยู่ในท่าเดิมนาน ๆ เช่น เดินนาน ๆ หรือยืนนาน ๆ
          • มดลูกมีการหดรัดตัวตามปกติในระหว่างตั้งครรภ์

ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะทำให้คุณแม่มีอาการปวดท้องเป็นครั้งคราว แต่จะไม่ปวดนาน อาจจะปวดประมาณ 10-20 นาที แล้วก็จะหายไปเอง การเปลี่ยนท่านั่ง ท่านอน หรือลุกขึ้นเดิน หรือกินยาแก้ปวดก็ช่วยให้อาการปวดท้องดีขึ้นได้ กรณีแบบนี้ไม่อันตรายค่ะ

แต่ถ้าหากอาการปวดท้องของคุณแม่นั้นเริ่มปวดถี่ขึ้น ปวดหลายครั้งต่อวัน และอาการปวดนั้นค่อย ๆ รุนแรงขึ้น และอาการปวดไม่ทุเลาลง แม้ว่าจะลองเปลี่ยนท่าทาง หรือกินยาแก้ปวดก็ยังไม่ดีขึ้น พร้อมกับมีอาการคล้ายปากมดลูกเปิด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะคุณแม่อาจมีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ หรือเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดได้ค่ะ

ท้อง 30 สัปดาห์ ปวดหน่วง ควรกังวลไหม

อาการปวดหน่วงที่ท้อง ถามว่าควรกังวลไหม ก็ขึ้นอยู่กับว่าอาการปวดหน่วงนั้นรุนแรงมากแค่ไหน เพราะโดยมากแล้วคนท้องจะมีอาการปวดหน่วงเนื่องจากการขยายตัวของมดลูก การยืดตัวของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่หน้าท้องอยู่แล้ว

ซึ่งอาการปวดแบบนี้จะปวดเป็นพัก ๆ ไม่นานก็หาย นอนพัก กินยา หรือเปลี่ยนอริยาบถก็รู้สึกดีขึ้นค่ะ แต่...ถ้าหากอาการปวดนั้นมีลักษณะที่ปวดรุนแรงจนคุณแม่ทนไม่ไหว ปวดจนลุกไม่ขึ้น ปวดจนนอนไม่หลับ หรือมีอาการเลือดออกร่วมด้วย อันนี้อาจจะเป็นสัญญาณอันตรายได้ ให้รีบไปพบแพทย์ค่ะ

ท้อง 30 สัปดาห์ ปวดท้องน้อย เกิดจากอะไร

อาการปวดท้องน้อยก็เป็นอาการปกติของแม่ท้องค่ะ แม่ท้องหลายคนมีอาการปวดท้องน้อยเป็นครั้งคราว เพราะอย่างที่บอกว่ามดลูกของคุณแม่นั้นจะมีการขยายตัวเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของลูกน้อย ทำให้เส้นเอ็น กล้ามเนื้อที่ยึดมดลูกมีการดึงรั้งกัน จึงทำให้คุณแม่มีอาการปวดท้องน้อย

ซึ่งก็จะไม่ใช่อาการปวดที่รุนแรงค่ะ ปวดเป็นพัก ๆ ก็ดีขึ้น นั่งพัก นอนพัก หรือกินยาก็ช่วยให้ดีขึ้นได้ แต่...ถ้าหากอาการปวดนั้นมีลักษณะที่ปวดรุนแรงจนคุณแม่ทนไม่ไหว ปวดจนลุกไม่ขึ้น ปวดจนนอนไม่หลับ หรือมีอาการเลือดออกร่วมด้วย อันนี้อาจจะเป็นสัญญาณอันตรายได้ ให้รีบไปพบแพทย์ค่ะ

ท้อง 30 สัปดาห์ ปวดหัวหน่าว อันตรายไหม

อาการปวดหัวหน่าวในไตรมาสสามนั้น ถือเป็นธรรมชาติของคนท้อง และมักไม่ก่อให้เกิดอันตรายรุนแรง โดยอาการปวดหัวหน่าวนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ

          • ฮอร์โมนตั้งครรภ์ส่งผลให้กล้ามเนื้อมีการคลายตัว ช่องคลอดขยาย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดลูก

          • ขนาดตัวของทารกและมดลูกขยาย หรือตั้งครรภ์แฝด ทำให้เชิงกรานของคุณแม่ขยายและต้องรับน้ำหนักมาก จึงรู้สึกปวดหัวหน่าวได้

          • การไหลเวียนเลือดไม่ค่อยดี เนื่องจากทารกมีขนาดตัวใหญ่ ก็จะทำให้ขาบวมหรือมีอาการตึงที่หัวหน่าว

          • การอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวหน่าวได้เช่นกัน

ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ มีเลือดออก ปกติไหม

อาการเลือดออกในขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ โดยอาจจะมาจากเลือดเก่าที่คั่งค้างอยู่ หรือเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ในขณะตั้งครรภ์ก็ได้

แต่...คุณแม่จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเลือดที่ออกมานั้นเป็นสัญญาณความผิดปกติหรือเปล่า จึงจำเป็นที่จะต้องไปพบแพทย์ทันทีที่พบว่ามีอาการเลือดออกในขณะตั้งครรภ์ แล้วให้แพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุ พร้อมกับตรวจดูว่าทารกในครรภ์ยังปกติหรือเปล่า ถ้าหากลูกในท้องยังแข็งแรงดี ก็ไม่มีอะไรต้องกังวลค่ะ

แต่ถ้าหากอาการเลือดออกนั้นเกิดจากการแท้งบุตร ครรภ์เป็นพิษ การกระทบกระเทือน หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ การที่คุณแม่ไปพบแพทย์ทันเวลา ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับแม่และทารกได้อย่างทันท่วงทีค่ะ

ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 30 สัปดาห์


คุณแม่อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ ควรใส่ใจดูแลตนเองเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นกินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และสารเสพติด

รวมถึงควรเริ่มลดกิจกรรมและการงานต่าง ๆ ที่ต้องออกแรงด้วยค่ะ การก้ม ๆ เงย ๆ บ่อย ๆ อาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่ ทำให้ปวดหลัง หรือปวดเมื่อยมากขึ้น ทั้งยังเสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้ม ซึ่งอาจกระทบกระเทือนต่อครรภ์และทารกในครรภ์ได้

และคุณแม่ควรจะไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อติดตามการตั้งครรภ์ว่าทารกในครรภ์ยังปกติไหม มีพัฒนาการตามวัยหรือเปล่า หรือมีภาวะความเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์หรือไม่

ฝึกนับลูกดื้น

การนับลูกดิ้นนั้น คุณแม่ควรนับ 2 ครั้งต่อวัน โดยครั้งแรกของวันให้เริ่มนับในตอนเช้า แต่ควรนับในตอนที่คุณแม่ไม่ได้ทำงานบ้านหรือกิจกรรมใด ๆ นะคะ เพราะถ้านับไป ทำอย่างอื่นไป จะทำให้การนับคลาดเคลื่อนได้ และนับครั้งที่สองในตอนเย็น ๆ หรือจะนับในตอนหัวค่ำก็ได้ค่ะ โดยการนับลูกดิ้น ให้นับดังนี้

          • ในแต่ละครั้งที่นับ ให้ทำการจับเวลาและนับดูว่าลูกดิ้นครบ 10 ครั้งเมื่อไหร่ เช่น เริ่มจับเวลาตอน 8 โมง และนับลูกดิ้นครั้งที่ 10 ได้ตอน 11 โมง ก็ให้บันทึกลงไปค่ะ

          • แต่ทารกในครรภ์จะดิ้นมากหรือน้อยแตกต่างกันไป เด็กบางคนพลังเยอะมาก อาจจะดิ้นครบ 10 ครั้งตั้งแต่ 10 นาทีแรก อันนี้คุณแม่ไม่ต้องกังวลค่ะ ลูกดิ้นมากแปลว่าลูกมีสุขภาพแข็งแรงดี

          • แต่ถ้าจับเวลา 1 ชั่วโมงแล้วลูกยังดิ้นไม่ถึง 10 ครั้ง ก็ยังไม่ต้องตกใจนะคะ ให้คุณแม่หาอะไรกินรองท้องก่อน แล้วไปนอนพักสักครู่ จากนั้นค่อยเริ่มนับอีกครั้ง ถ้าภายใน 1 ชั่วโมง ลูกดิ้นไม่ถึง 10 ครั้ง ก็อย่าเพิ่งหยุดนับค่ะ ให้นับต่อไปและจดบันทึกเอาไว้ว่าลูกน้อยดิ้นครบ 10 ครั้งในเวลากี่ชั่วโมง

          • ส่วนในกรณีที่หมดวันแล้ว หรือครบทั้ง 12 ชั่วโมงแล้ว ลูกดิ้นไม่ถึง 10 ครั้ง ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

          • และถ้าหากในช่วงครึ่งวันเช้า คุณแม่นับลูกดิ้นแล้วพบว่าลูกดิ้นน้อยกว่า 4 ครั้ง ไม่ต้องรอให้หมดวันนะคะ ตรงดิ่งไปที่โรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที แล้วรีบเข้ารับการตรวจครรภ์โดยเร็ว เพราะอาจเกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ได้ค่ะ

อาการแบบไหนเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ

สัญญาณและอาการที่อาจบ่งบอกว่าคุณแม่เสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ ดังนี้

          • ตรวจพบว่ามีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ หรือมีภาวะความดันโลหิตสูงมาก่อนหน้านี้แล้ว
          • มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไต หรือตรวจพบโปรตีนปริมาณมากในปัสสาวะ
          • ระดับเกล็ดเลือดลดลง
          • ค่าเอนไซม์ในตับสูง
          • มีอาการปวดศีรษะรุนแรง
          • มีอาการตาพร่ามัว หรือตาไวต่อแสง
          • มีอาการบวมน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการบวมที่ใบหน้าและมือ
          • หายใจถี่ ๆ
          • ปวดท้องช่วงบน หรือบริเวณใต้ซี่โครงด้านขวา
          • คลื่นไส้หรืออาเจียน
          • น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ภาวะครรภ์เป็นพิษนี้จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยอาจจะต้องได้รับยาลดความดันโลหิต หรือการรักษาตามอาการ

ในกรณีที่ฉุกเฉินมากจริง ๆ อาจจำเป็นจะต้องมีการทำคลอดด่วนทันที หรือร้ายแรงที่สุดแพทย์อาจวินิจฉัยให้ยุติการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันอันตรายต่อทั้งแม่และทารกในครรภ์

ภาวะครรภ์เป็นพิษนี้จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยอาจจะต้องได้รับยาลดความดันโลหิต หรือการรักษาตามอาการ หรือในกรณีที่ฉุกเฉินมากจริง ๆ อาจจำเป็นจะต้องมีการทำคลอดด่วนทันที หรือร้ายแรงที่สุดแพทย์อาจวินิจฉัยให้ยุติการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันอันตรายต่อทั้งแม่และทารกในครรภ์

ท่านอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ปกติแล้วท่านอนที่เหมาะสมสำหรับแม่ท้องคือท่านอนหงาย กับ ท่านอนตะแคงค่ะ แต่ในไตรมาสสามนี้ การนอนหงายจะไม่เหมาะกับคุณแม่แล้วค่ะ เพราะขนาดครรภ์และน้ำหนักตัวของคุณแม่เพิ่มมากขึ้น การนอนหงายจะยิ่งทำให้เกิดการกดทับที่หลังมากขึ้นกว่าเดิม

มากไปกว่านั้น มดลูกหรือทารกในครรภ์อาจจะไปกดทับเส้นเลือดใหญ่กลางลำตัว ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี เสี่ยงต่อภาวะความดันต่ำ ทำให้เป็นลมหรือหมดสติได้ค่ะ

ส่วนท่านอนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณแม่ไตรมาสสาม คือ ท่านอนตะแคงซ้ายค่ะ ท่านี้จะช่วยป้องกันไม่ให้มดลูกกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ และช่วยให้เลือดจากขาไหลย้อนกลับเข้าสู่หัวใจได้ดีขึ้น ทำให้ไตสามารถขับถ่ายของเสียได้ตามปกติ

นอกจากนี้ เวลานอน คุณแม่ควรหาหมอนใบเล็ก ๆ นุ่ม ๆ มารองท้อง หรือรองที่ขา เพื่อช่วยรับน้ำหนักท้องและไม่ให้ท้องโย้ลงต่ำมากไป เพราะจะทำให้คุณแม่รู้สึกตึงและถ่วงท้องมากเกินไป

วิธีสังเกตความผิดปกติของเต้านม และวิธีการตรวจหัวนม

ปกติแล้วเต้านมและหัวนมของคุณแม่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก ไม่ว่าจะเป็น เต้านมใหญ่ขึ้น มีเส้นเลือดขึ้นที่บริเวณเต้านม หัวนมใหญ่ขึ้น สีหัวนมคล้ำขึ้น เวลาจับที่หัวนมจะรู้สึกเสียว หรือเจ็บแปล๊บ

และเมื่อเข้าไตรมาสสามก็อาจจะพบว่าหัวนมมีน้ำไหลออกมาด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเรื่องปกติของคนท้องค่ะ อย่างไรก็ตาม เรื่องความผิดปกติของเต้านมในขณะตั้งครรภ์ ก็ถือว่าสำคัญค่ะที่คุณแม่ควรจะมีการตรวจดูเต้านม หรือสังเกตหัวนมบ่อย ๆ ว่ามีความผิดปกติใด ๆ หรือเปล่า

วิธีตรวจหัวนมและเต้านม สามารถทำได้ ดังนี้

          • ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดลงไปที่ลานนมประมาณ 1 นิ้ว ถ้าหยิบติดหัวนมขึ้นมา ถือว่าปกติค่ะ แต่ถ้าหยิบแล้วหัวนมผลุบเข้าไป แบบนี้เรียกว่าหัวนมบอดค่ะ

          • แต่ถ้าหัวนมบุ๋มหายเข้าไปในเต้านม เรียกว่าหัวนมบุ๋ม

          • ส่วนถ้าลองจับเต้านมดูแล้วรู้สึกว่าเต้านมไม่เท่ากัน อันนี้ปกติค่ะ เป็นเรื่องธรรมชาติที่จะมีเต้านมข้างหนึ่งใหญ่ ข้างหนึ่งเล็ก

ซึ่งหัวนมที่บอดหรือบุ๋มมาก ๆ นี้ถือว่าผิดปกติค่ะ เพราะเวลาให้นมลูกจะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บหัวนมหรือเจ็บเต้านมเวลาที่ให้นมลูกค่ะ

กิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการลูกในครรภ์

การเสริมสร้างพัฒนาการสำหรัลทารกในครรภ์ 30 สัปดาห์นี้ ให้คุณแม่เน้นหนักที่โภชนาการเลยค่ะ หมั่นกินอาหารที่ดีและมีประโยชน์ เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโต และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดสารอาหาร เช่น ทารกเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนเพราะขาดแคลเซียม ทารกเสี่ยงต่อโรคโลหิตจางเนื่องจากการขาดธาตุเหล็ก

มากไปกว่านั้น ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ เปิดเพลง อ่าหนังสือ หรือเล่านิทานให้ลูกฟังก็ได้ค่ะ เพราะทารกในสัปดาห์นี้สามารถได้ยินเสียงจากรอบตัวได้ชัดเจนมากขึ้น การเริ่มสนทนาและสื่อสารกับลูกในตอนนี้ถือว่ามีส่วนช่วยสำคัญในการปูพื้นฐานทักษะด้านภาษาและการสื่อสารของลูกในอนาคตได้ดีทีเดียวค่ะ

ไขข้อข้องใจเมื่อท้อง 30 สัปดาห์ กับ Enfa Smart Club


ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ ปวดหน่วง อันตรายไหม?

อาการปวดหน่วงที่ท้องหรือท้องน้อย เกิดจากมดลูกของคุณแม่นั้นจะมีการขยายตัวเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของลูกน้อย ทำให้เส้นเอ็น กล้ามเนื้อที่ยึดมดลูกมีการดึงรั้งกัน จนเกิดอาการปวดหน่วงที่ท้อง ซึ่งอาการปวดแบบนี้จะปวดเป็นพัก ๆ ไม่นานก็หาย นอนพัก กินยา หรือเปลี่ยนอริยาบถก็รู้สึกดีขึ้นค่ะ

แต่...ถ้าหากอาการปวดนั้นมีลักษณะที่ปวดรุนแรงจนคุณแม่ทนไม่ไหว ปวดจนลุกไม่ขึ้น ปวดจนนอนไม่หลับ หรือมีอาการเลือดออกร่วมด้วย อันนี้อาจจะเป็นสัญญาณอันตรายได้ ให้รีบไปพบแพทย์ค่ะ

ท้อง 30 สัปดาห์ หายใจไม่ค่อยออก เกิดจากอะไร?

เนื่องจากขนาดครรภ์ของคุณแม่ขยายใหญ่มากขึ้น ทำให้มดลูกมีการดันและเบียดปอดให้มีปริมาตรเล็กลง ส่งผลให้คุณแม่หายใจได้ไม่เต็มที่ หรือคุณแม่หายใจเร็วขึ้นถี่ขึ้นกว่าปกติเพราะหายใจไม่ค่อยออก

ท้อง 30 สัปดาห์ ลูกกลับหัว แล้วหรือยัง?

ทารกมีการกลับหัวอยู่ตลอดค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสสอง ขนาดมดลูกมีเนื้อที่มากพอให้ทารกสามารถกลับหัว กลับหาง เปลี่ยนท่าทางได้ตลอดเวลา ซึ่งทารกก็จะเลือกอยู่ในท่าที่ตัวเองรู้สึกสบาย ถ้าเริ่มเมื่อย หรือรู้สึกไม่สบายตัวก็จะมีการเปลี่ยนท่าอีกจนกว่าจะรู้สึกสบายตัวค่ะ ดังนั้น ในช่วงนี้ถ้าหากพบทารกกลับหัวจึงไม่ใช่เรื่องแปลกค่ะ

แต่เมื่ออายุครรภ์ 35-36 สัปดาห์ขึ้นไป ตอนนี้ทารกจะมีขนาดใหญ่มากขึ้น เนื้อที่ภายในมดลูกก็ไม่ได้มากพอให้ทารกเปลี่ยนท่าได้บ่อย ๆ ดังนั้น ช่วงนี้ทารกอยู่ในท่าไหนก็จะอยู่ในท่านั้น จะไม่เปลี่ยนท่าบ่อย ๆ เหมือนในช่วงไตรมาสสองแล้วค่ะ ซึ่งส่วนมากระยะนี้ทารกก็มักจะอยู่ในท่ากลับหัวพร้อมคลอดแล้วค่ะ

ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ อาหารแนะนำที่ควรรับประทาน?

แม่อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ ควรกินอาหารให้หลากหลาย มีประโยชน์ และควรจะครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ทั้งแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรง และควรจะเน้นสารอาหารที่ดีต่อการตั้งครรภ์ ได้แก่

          • ดีเอชเอ พบมากในอาหารจำพวก ปลาทะเล อโวคาโด ไข่แดง เป็นต้น

          • ธาตุเหล็ก พบได้มากในอาหารจำพวก เนื้อแดง ไข่แดง ตับ งา และผักสีเขียวเข้ม เป็นต้น

          • โฟเลต พบได้มากในอาหารจำพวก ตับ ไข่ ผักใบเขียว และถั่วต่าง ๆ เป็นต้น

          • แคลเซียม พบได้มากในอาหารจำพวกนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส เนย หรือโยเกิร์ต เป็นต้น

          • ไอโอดีน พบในอาหารทะเลทุกชนิด เกลือไอโอดีน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กระเทียม หรืองา เป็นต้น

          • โคลีน พบมากในอาหารจำพวกไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน แซลมอน ไก่ บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก เป็นต้น

          • โอเมก้า 3 พบได้มากในอาหารจำพวกปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอริ่ง และพืชตระกูลถั่ว เช่น เมล็ดแฟลกซ์ ถั่วพีแคน ถั่วเฮเซลนัท เป็นต้น



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

การตั้งครรภ์/พัฒนาการเด็ก/เคล็ดลับคุณแม่/อาการท้องเสียขณะตั้งครรภ์
คนท้องเป็นกรดไหลย้อน ต้องรีบแก้ ก่อนคุณแม่จะแย่กว่าเดิม
sleeping-positions-during-pregnancy
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner