ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
baby-bumped-head

ลูกหัวโน หัวปูด พ่อจ๋าแม่จ๋าจะรับมือได้อย่างไรบ้าง

 

Enfa สรุปให้

  • ลูกหกล้ม หัวฟาดพื้น จนหัวปูด หัวโน เป็นอุบัติเหตุที่ยากจะควบคุม และแม้จะดูเหมือนเป็นอุบัติเหตุโดยทั่วไป แต่บางครั้งก็ส่งผลเสียที่รุนแรงได้
  • โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเด็กตกจากที่สูง และหัวฟาดกับพื้นแข็ง ลักษณะเช่นนี้เสี่ยงที่จะเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองได้
  • หากทารกไม่ได้พลัดตกรุนแรง หลังปฐมพยาบาลแล้ว ภายใน 24 ชั่วโมงแรก ควรสังเกตอาการให้ดี หากมีอาการผิดปกติให้รีบพาไปพบแพทย์ แต่ถ้าลูกหัวฟาดพื้นอย่างุรนแรง หรือตกจากที่สูง ปฐมพยาบาลเสร็จแล้วให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ลูกหัวโน ฟกช้ำ คุณพ่อคุณแม่จะปฐมพยาบาลยังไงดี
ลูกล้มหัวฟาดพื้น มีอาการแบบนี้ รีบไปพบแพทย์
ไขข้อข้องใจเรื่อง ลูกหัวโน ฟกช้ำ ศีรษะกระแทก กับ Enfa Smart Club

การพลัดตก หกล้ม หัวฟาด จนหัวปูด หัวโนของลูกน้อยนั้น บางครั้งก็เป็นเรื่องที่สุดวิสัยเกินจะควบคุม ยิ่งเด็กในวัยกำลังหัดคลาน เดิน หัดวิ่ง เผลอแป๊บเดียวก็อาจจะได้รอยปูดโปนมาฝาก แต่คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ ตั้งสติให้มั่น แล้วมาสตาร์ทวิธีรับมือดี ๆ เมื่อลูกล้มหัวปูดเป็นมะกรูด มะนาว กับ Enfa กันค่ะ 

ลูกหัวโน ฟกช้ำ คุณพ่อคุณแม่จะปฐมพยาบาลยังไงดี


หากลูกเกิดหกล้ม จนฟกช้ำ หัวโน คุณพ่อคุณแม่สามารถปฐมพยาบาลให้ลูกได้ ดังนี้ 

  • ตั้งสติ แม้จะดูไม่เกี่ยวอะไรกันมากนัก แต่ต้องยอมรับว่าถ้าพ่อแม่ควบคุมสติได้ ก็จะสามารถรับมือกับสถานการณ์ตรงหน้าได้ดี ไม่ตื่นตกใจจนทำอะไรไม่ถูก ฉะนั้นต้องตั้งสติให้ดี ดูว่าลูกหกล้มแรงแค่ไหน หรือตกมาจากที่สูงมากน้อยแค่ไหนเพื่อประเมินสถานการณ์ 
  • สำรวจลูก ดูว่าลูกได้รับบาดเจ็บตรงไหนบ้าง เลือดออกไหม ฟกช้ำ หรือหัวโนตรงไหนหรือเปล่า 
  • หากมีบาดแผล ให้จัดการทำความสะอาดแผล และทำแผลให้เรียบร้อย 
  • หากไม่มีมีแผล แต่หัวโน ให้ทำความสะอาดบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ และทำการประคบเย็นโดยใช้ผ้าสะอาดห่อน้ำแข็ง หรือใช้เจลประคบเย็น 
  • สังเกตอาการ แม้ว่าจะจัดการทำแผล และประคบเย็นเรียบร้อยแล้ว แต่คุณพ่อคุณแม่ยังจำเป็นจะต้องติดตามอาการของลูกน้อยต่อไปค่ะ ดูว่าในช่วง 24 ชั่วโมงนั้นลูกน้อยมีอาการอื่น ๆ ด้วยหรือไม่ เช่น อาเจียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาเจียนพุ่ง หมดสติ ง่วงซึมผิดปกติ นอนนานขึ้นกว่าปกติ หรือปลุกยากกว่าปกติ ปวดศีรษะรุนแรง มีอาการชักเกร็ง เลือดไหลไม่หยุด หายใจไม่ออก พูดจาผิดปกติ หากลูกมีอาการดังที่กล่าวควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันทีค่ะ 
  • ไปโรงพยาบาลทันที อย่างที่บอกว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องสำรวจดูก่อนว่าลูกตกอย่างไร ตกสูงแค่ไหน ฟาดกับพื้นแข็งหรือไม่ ถ้าตกสูง และกระทบกับพื้นแข็งอย่างรุนแรง หลังจากทำแผลและประคบเย็นเสร็จ ให้พาลูกไปโรงพยาบาลทันทีโดยไม่ต้องรอสังเกตอาการค่ะ 

ลูกหัวโน ประคบร้อนหรือเย็น  

หากลูกหกล้มหัวโน ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรทำการประคบเย็นค่ะ เพราะการประคบเย็น ช่วยให้เส้นเลือดหดตัวและลดอาการบวมที่บริเวณศีรษะค่ะ หรือควรจะมีเจลเย็นติดบ้านเอาไว้บ้าง เผื่อใช้ในกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน  

ส่วนที่จะถามว่าแล้วถ้าลูกหัวโนประคบเย็นกี่ชม.นั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องคอยประคบเย็นครั้งละ 2-3 นาที แล้วหยุดพัก แล้วประคบต่อ ทำเช่นนี้ต่อไปอย่างน้อย 15 นาที หรือ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง  

โดยในช่วง 24 ชั่วโมงแรกนั้น จะต้องคอยดูว่าหลังประคบเย็นแล้วอาการบวมลดลงบ้างหรือไม่ ถ้าหากลดลงให้ประคบร้อนต่อ บริเวณที่โน 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย แต่ถ้าหากพ้น 24 ชั่วโมงไปแล้วลูกอาการบวมยังไม่ลดลง หรือมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ 

ลูกหัวโน ควรทายาอะไรเพื่อลดอาการฟกซ้ำ  

คุณพ่อคุณแม่เห็นลูกหัวโน ก็อดที่จะสงสารลูกไม่ได้ อยากจะทายาแก้ปวด แก้บวม แก้ฟกช้ำให้ จึงอาจจะสงสัยกันว่าเวลาที่ลูกหัวโน ใช้อะไรทาถึงจะดี? 

แต่ที่จริงแล้ว คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องทายาอะไรนะคะ ข้อสำคัญคือให้ลูกนอนพักผ่อนเยอะ ๆ และประคบเย็นบ่อย ๆ ก็เพียงพอแล้วค่ะ 

ส่วนยาทาแก้ปวด แก้บวม แก้ฟกช้ำต่าง ๆ อาจจะใช้บาล์มเพื่อลดบวมและฟกช้ำก็ได้ค่ะ หรือคุณพ่อคุณแม่สามารถสอบถามจากแพทย์และเภสัชกรได้โดยตรงว่าควรใช้ยาทาชนิดไหนดีถึงจะเหมาะกับเด็ก 

ลูกหัวโน กี่วันจึงจะหายเป็นปกติ 

โดยทั่วไปแล้วอาการบวมจะค่อย ๆ ลดลงภายใน 24 ชั่วโมงค่ะ แต่ถ้าพ้นจากนั้นแล้วอาการบวมยังไม่ลดลงเลย ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ 

กรณีที่ลูกหัวโนไม่หาย คุณพ่อคุณแม่ควรทำยังไงดี 

หากพ้นจาก 24 ชั่วโมงแล้ว ลูกยังมีอาการหัวโน ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาโดยตรงจากแพทย์ทันทีค่ะ 

ลูกล้มหัวฟาดพื้น อุบัติเหตุที่อาจส่งผลร้ายแรงกว่าที่คิด 

อาการหกล้ม หัวฟาด หัวโน แม้จะดูเป็นอุบัติเหตุโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นได้สำหรับเด็ก แต่บางครั้งการหกล้ม หรือหัวฟาดเพียงครั้งเดียวอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงทางสมองได้ เพราะเป็นการกระทบกระเทือนที่ศีรษะโดยตรง ซึ่งกะโหลกศีรษะของเด็กนั้นยังไม่ได้แข็งแรงเท่ากับผู้ใหญ่ อาการพลัดตก หกล้ม และศีรษะได้รับการกระแทกรุนแรง อาจส่งผลต่อการทำงานของสมอง หรือก่อให้เกิดอาการข้างเคียงเกี่ยวกับสมองได้ค่ะ 

ลูกล้มหัวฟาดพื้น สังเกตอาการ อย่างไร? เมื่อไหร่ที่ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์


ลูกล้มหัวฟาดพื้น หลังจากปฐมพยาบาลเสร็จแล้ว คุณพ่อคุณแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคอยสังเกตอาการใน 24 ชั่วโมงแรกว่ามีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้หรือไม่ 

  • ลูกมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง 
  • ลูกมีอาการหมดสติเกิน 5 นาที 
  • ลูกมีอาการง่วงซึมจนผิดปกติ 
  • ลูกมีอาการชัก เกร็ง กระตุก 
  • ลูกอาเจียนบ่อย หรืออาเจียนมากกว่า 5 ครั้งขึ้นไป 
  • ลูกเริ่มพูดจาไม่เป็นภาษา พูดไม่รู้เรื่อง พูดจาสับสน 
  • ลูกมีเลือดไหลไม่หยุด 
  • ศีรษะของลูกยังมีอาการบวมอยู่ และไม่หายโน 

หากมีอาการดังที่กล่าวมานี้ ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาทันทีค่ะ 

ไขข้อข้องใจเรื่อง ลูกหัวโน ฟกช้ำ ศีรษะกระแทก กับ Enfa Smart Club


ลูกล้มหงายหลังหัวฟาดพื้น อันตรายไหม? 

ขึ้นอยู่กับว่าพื้นนั้นแข็งมากแค่ไหน ลูกหงายหลังตกจากพื้นที่สูงมากแค่ไหน หากตกจากพื้นเตี้ย ๆ และพื้นไม่แข็ง ก็อาจจะไม่อันตรายมาก ทำการปฐมพยาบาลและสังเกตอาการ 24 ชั่วโมง 

แต่ถ้าลูกตกจากที่สูง และศีรษะฟาดเข้ากับพื้นแข็ง กรณีนี้หลังจากทำความสะอาดแผลและปฐมพยาบาลเสร็จแล้ว ให้รีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันทีโดยไม่ต้องรอดูอาการค่ะ 

ลูกล้มหัวฟาดพื้นแล้วอ้วก อาเจียน ควรรีบพาไปหาหมอไหม? 

หากภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากที่ลูกล้มหัวฟาดพื้น และลูกมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรืออาเจียนติดต่อกัน 5 ครั้งขึ้นไป ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ 

ลูกหัวโนไม่ยอมยุบ มีเลือดคั่ง แม่ควรปฐมยาบาลยังไง? 

หากพ้น 24 ชั่วโมงไปแล้วและลูกยังมีอาการหัวโน หัวปูดบวมอยู่ ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันทีค่ะ 

ลูก 10 เดือน ล้มหงายหลังหัวฟาดพื้น ควรรีบพาไปโรงพยาบาลไหม? 

ขึ้นอยู่กับว่าพื้นนั้นแข็งมากแค่ไหน ลูกหงายหลังตกจากพื้นที่สูงมากแค่ไหน หากตกจากพื้นเตี้ย ๆ และพื้นไม่แข็ง ก็อาจจะไม่อันตรายมาก ทำการปฐมพยาบาลและสังเกตอาการ 24 ชั่วโมง 

แต่ถ้าลูกตกจากที่สูง และศีรษะฟาดเข้ากับพื้นแข็ง กรณีนี้หลังจากทำความสะอาดแผลและปฐมพยาบาลเสร็จแล้ว ให้รีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันทีโดยไม่ต้องรอดูอาการค่ะ


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

หย่านม เลิกขวดนมอย่างไร ไม่ทำร้ายจิตใจลูกน้อย
goat-milk-vs-cow-milk
diarrhea-in-babies
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner