ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
baby-twitching-in-sleep

ลูกนอนสะดุ้ง นอนผวา เป็นเพราะอะไร มีวิธีแก้ยังไงบ้าง

 

Enfa สรุปให้

  • บางครั้งขณะที่ทารกนอนหลับอยู่ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็น ก็อาจจะพบว่าเจ้าตัวเล็กมีอาการกระตุก หรือนอนสะดุ้ง

  • ซึ่งอาการนอนสะดุ้งของลูกนั้น ก็มาจากสาเหตุหลักมาจากการตอบสนองิของร่างกายที่มีการตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ที่กระทบกับทารก เช่น แสง เสียง ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นได้ทั่วไป

  • อาการนอนสะดุ้งนั้นโดยมากมักไม่ใช่สัญญาณอันตรายใด ๆ เว้นแต่เพียงว่าลูกมีอาการนอนสะดุ้งบ่อยและถี่จนเกินไป กรณีแบบนี้ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ลูกนอนสะดุ้ง ผิดปกติไหม
สาเหตุที่ลูกนอนสะดุ้ง
วิธีรับมือเมื่อลูกนอนสะดุ้ง
ลูกนอนสะดุ้งแบบนี้ ต้องรีบพาไปพบแพทย์
ไขข้อข้องใจเรื่องลูกนอนสะดุ้งกับ Enfa Smart Club

ขณะที่เจ้าตัวเล็กกำลังนอนหลับปุ๋ยอย่างมีความสุข บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นว่าลูกมีอาการนอนสะดุ้ง หรือจู่ ๆ ทารกก็กระตุกขึ้น อาการเช่นนี้คืออะไร? แล้วทำไมลูกถึงนอนกระตุก? มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กับ Enfa กันเลยค่ะ 

ลูกนอนสะดุ้ง ผิดปกติหรือไม่


หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการกระตุกขณะนอนหลับ หรือพบว่าลูกนอนผวา ไม่ต้องตกใจไปนะคะ นั่นเป็นอาการปกติของร่างกายที่มีการตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ที่กระทบกับทารก เช่น แสง เสียง ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นได้ทั่วไป ไม่ส่งผลต่อการเรียนรู้ หรือพัฒนาการ

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร


อาการทารกนอนกระตุกนั้น อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น 

  • ระบบประสาทของทารกยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทำให้ระบบการส่งสัญญาณต่าง ๆ ของสมองไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำได้ไม่เต็มที่ จนมีการตอบสนองเป็นการกระตุกให้เห็น 

  • อาจเป็นเพียงการเคลื่อนไหวของทารกในตอนนอน ขณะทารกนอนหลับอาจจะมีการเคลื่อนไหวที่แปลกตาไปบ้าง แต่นั่นก็สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะบ่อยครั้งเวลาที่ผู้ใหญ่นอนหลับ ก็มักจะมีการเปลี่ยนท่าทางต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัวเหมือนกัน 

  • ปฏิกิริยาตอบสนองขณะนอนหลับ บางครั้งอาจมีแสงสว่างส่อง หรือมีเสียงดังเกิดขึ้น กระบวนการตอบสนองทางร่างกายของทารกจึงอาจแสดงออกมาเป็นการกระตุกได้ 

  • ได้รับคาเฟอีนจากน้ำนมแม่ คุณแม่ให้นมลูกที่กินอาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง บางครั้งอาจสะสมจนสามารถส่งต่อไปยังลูกผ่านนมแม่ได้ คาเฟอีนจะมีผลต่อการนอนหลับของทารก และยังอาจส่งผลให้ทารกมีอาการนอนสะดุ้งได้ด้วย 

  • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการกระตุก หรืออาการสั่น อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณแรก ๆ ของอาการระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าทารกอาจมีปัญหาสุขภาพ เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด

  • โซเดียมต่ำ การขาดโซเดียม สามารถส่งผลให้ร่างกายมีอาการกระตุกได้ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากคุณแม่กินอาหารที่มีโซเดียมน้อย ทำให้ทารกมีโซเดียมในร่างกายไม่เพียงพอ 

เข้าใจการตอบสนองตามธรรมชาติของเด็กแรกเกิด 

ร่างกายของคนเรามักจะมีการตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ ทารกก็เช่นกัน เมื่อมีเสียงดัง หรือแสงที่จ้ามาก ส่องมา ระบบประสาทของทารกก็จะส่งสัญญาณให้ร่างกายทำการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น ๆ โดยแสดงออกมาเป็นอาการกระตุก ตกใจ หรือสะดุ้งได้ 

วิธีแก้ลูกนอนสะดุ้ง


คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีแก้อาการนอนผวาของลูกได้ง่าย ๆ คือ 

  • เวลาวางลูกลงบนที่นอนให้ค่อย ๆ วางลูกลงเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกรู้สึกว่าโล่งบริเวณหลัง และทำให้เกิดการผวาได้

  • เมื่อลูกมีอาการนอนสะดุ้ง ให้ค่อย ๆ อุ้มลูกขึ้นมาแนบกับอก แล้วลูบปลอบโยนเบา ๆ เมื่อลูกสงบลงแล้ว จึงนำลูกวางบนเบาะหรือเปล แล้วกล่อมให้หลับต่อไป 

  • ห่อตัวทารกด้วยผ้า เพื่อให้ลูกนอนหลับได้สนิท และสบายตัวมากขึ้น การห่อผ้าช่วยให้ทารกรู้สึกสบายตัวเหมือนกำลังนอนหลับอยู่ในท้องแม่อีกครั้ง 

  • ดูแลบริเวณห้องนอนของทารกให้มีบรรยากาศที่เงียบสงบ อุณหภูมิเหมาะสม และไม่มีแสงจ้าตกกระทบ 

  • กอดลูกเบา ๆ เพื่อให้ลูกรับรู้ถึงอ้อมกอดที่อบอุ่น โดบสังเกตว่าลูกมักจะมีอาการผวาช่วงไหน และคอยกอดลูกเมื่อถึงช่วงเวลาดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม วิธีแก้อาการนอนผวาที่ดีที่สุดอีกวิธีหนึ่งก็คือ การสังเกตดูว่าลูกมีอาการนอนกระตุก หรือนอนสะดุ้งบ่อยแค่ไหน หากลูกเป็นเช่นนั้นบ่อย ๆ ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่าอาการนอนสะดุ้งของลูกนั้น เป็นความผิดปกติทางร่างกายหรือไม่ หรือเป็นเพียงการตอบสนองของระบบประสาทและร่างกายตามปกติ 

ท่านอนสำหรับเด็กทารก ช่วยลดอาการนอนผวา นอนสะดุ้ง 

จริง ๆ แล้วไม่ถึงกับว่าท่านอนจะช่วยลดอาการนอนผวา หรือนอนสะดุ้ง แต่เป็นท่านอนที่เหมาะสมสำหรับเด็กทารกที่สุด 

ซึ่งก็คือการจัดให้ลูกนอนในท่านอนหงายตามปกติเลยค่ะ เพราะท่านอนหงายจะช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดโล่ง ทารกสามารถรับออกซิเจนได้อย่างเต็มที่ การนอนคว่ำ หรือนอนตะแคง อาจเสี่ยงที่ทารกจะได้รับออกซิเจนน้อย หรืออาจนำไปสู่ปัญหาการหายใจไม่ออก หายใจไม่สะดวก เสี่ยงต่อโรคไหลตายในเด็ก ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิดค่ะ 

อาการลูกนอนผวาลักษณะนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะลองปรึกษาคุณหมอ


หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการนอนผวากระตุก และมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที 

  • หลังจากนอนผวากระตุกแล้ว ทารกไม่ยอมตื่น ไม่เคลื่อนไหว หรือไม่มีอาการตอบสนองใด ๆ กลับมา 

  • หลังอาการนอนสะดุ้ง พบว่าทารกร้องไห้อย่างอ่อนแรง หรือมีเสียงร้องที่เบาลงกว่าปกติ 

  • หลังอาการนอนสะดุ้ง ทารกมีอาการครางหรือกรน 

  • หลังอาการนอนสะดุ้ง ผิวของทารกมีลักษะณะเป็นสีฟ้า หรือสีเทา สัญญาณนี้บ่งบอกว่าทารกกำลังมีปัญหาการหายใจ ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที 

ไขข้อข้องใจเรื่องลูกนอนสะดุ้งกับ Enfa Smart Club


 ลูก 4 ขวบนอนสะดุ้ง ปกติหรือไม่? 

อาการนอนสะดุ้ง ไม่ได้พบแค่ในทารกแรกเกิดเท่านั้น จริง ๆ แล้วในเด็กเล็ก เด็กโต วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ก็สามารถเกิดอาการเช่นนี้ได้ และโดยมากแล้วไม่ใช่อาการที่น่าเป็นกังวลแต่อย่างใด 

 ลูกนอนสะดุ้ง ร้องไห้ แม่ควรจัดการอย่างไรดี? 

หากลูกร้องไห้ คุณแม่ควรอุ้มลูกและค่อย ๆ ปลอบจนกว่าจะสงบลง แล้วจึงค่อย ๆ วางทารกลงกับเบาะหรือเปล กล่อมให้นอนหลับอีกครั้ง 

แต่ถ้าทารกร้องไห้ไม่หยุดเลย อาจจะต้องพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ 

 ลูก 8 เดือน ผวาบ่อย ทำไงดี? 

หากลูกมีอาการผวาบ่อย ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยค่ะ 

 คาถาแก้ลูกนอนสะดุ้ง ได้ผลจริงไหม? 

หากลูกมีอาการนอนสะดุ้งบ่อย ขอแนะนำว่าให้พาลูกไปพบแพทย์แผนปัจจุบัน การใช้คาถาต่าง ๆ ไม่มีผลวิจัยและผลการศึกษาที่รับรองว่าคาถาช่วยแก้อาการลูกนอนสะดุ้งได้ และโดยมากแล้วอาการนอนสะดุ้งก็เป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติของร่างกายด้วย 

 ลูกจะหยุดนอนสะดุ้งเมื่อไหร่? 

อาการนอนสะดุ้งนั้น อาจจะค่อย ๆ หายไปเองเมื่อทารกเริ่มโตขึ้นค่ะ หรืออาจจะกลับมาเป็นอีกครั้งเมื่อโตขึ้นก็ได้เช่นกัน


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

cleaning-babys-nose
diarrhea-in-babies
noisy-breathing-in-infants
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Brain Campaign banner

Leaving page banner