ของเตรียมคลอดมีอะไรบ้าง? ชวนแม่ ๆ มาเช็กให้พร้อม!

     • เตรียมความพร้อมด้านสุขภาพของคุณแม่
     • ของใช้เตรียมคลอดสำหรับลูกน้อย
     • ของใช้เตรียมคลอดสำหรับคุณแม่
     • เริ่มซื้อของเตรียมคลอดเมื่อไหร่ดี
     • เตรียมของไปคลอดโรงพยาบาลรัฐอย่างไรดี
     • เอกสารเตรียมคลอด
     • ไขข้องข้องใจเรื่องการจัดของเตรียมคลอดกับ Enfa smart club

สำหรับคุณแม่มือใหม่ การเตรียมของไปคลอดที่โรงพยาบาล อาจเป็นเรื่องที่ชวนวิตกกังวล เพราะสำหรับการท้องครั้งแรกก็ไม่รู้ว่าควรจะเริ่มจากตรงไหนก่อน มีของสำคัญชิ้นไหนบ้างที่ขาดไม่ได้ และของชิ้นไหนบ้างที่จะเป็นประโยชน์ต่อแม่หลังคลอด

วันนี้เอนฟาจึงได้นำเคล็ดลับการเตรียมความพร้อมก่อนคลอดมาฝากคุณแม่ท้องแก่ใกล้คลอดกันค่ะ แต่จะมีวิธีการเตรียมตัวอย่างไรบ้างนั้น คุณแม่สามารถเริ่มเช็กลิสต์ไปพร้อม ๆ กันได้กับบทความนี้เลย


การเตรียมตัวอันดับแรกก่อนการคลอดที่อาจจะเรียกได้ว่าสำคัญที่สุดของหญิงตั้งครรภ์เลยก็คือ การเตรียมพร้อมด้านสุขภาพของคุณแม่ ให้มีความปลอดภัย และแข็งแรงทั้งแม่และเด็ก ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงกำหนดคลอด โดยคุณแม่สามารถเตรียมสุขภาพให้พร้อมก่อนคลอดได้ ดังนี้

การตรวจเช็กสุขภาพครรภ์ตามที่แพทย์นัดทุกครั้งจะช่วยให้คุณแม่รับรู้ถึงพัฒนาการของทารกในครรภ์และภาวะอื่น ๆ เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 9 ของการตั้งครรภ์ แพทย์จะนัดตรวจครรภ์ทุกสัปดาห์

เพราะสำหรับบางคนอาจมีอาการเจ็บครรภ์คลอดเมื่ออายุครรภ์ได้ 36 สัปดาห์หรือมีการคลอดฉุกเฉินขึ้น แพทย์จึงต้องเช็กความพร้อมของร่างกายคุณแม่อย่างสม่ำเสมอเพื่อดูอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์

ในช่วงหนึ่งสัปดาห์สุดท้ายก่อนคลอด แพทย์จะตรวจดูความพร้อมของทารกในครรภ์ว่ากลับหัวแล้วหรือยัง โดยหัวของทารกจะต้องอยู่ที่อุ้งเชิงกรานของคุณแม่เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดธรรมชาติ

แต่สำหรับกรณีที่ทารกไม่กลับศีรษะ คุณแม่อาจจะไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ และจะต้องใช้การผ่าคลอดเข้ามาช่วย ซึ่งหากแพทย์ทราบพัฒนาการของทารกในครรภ์โดยคร่าว ๆ ก็จะง่ายต่อการประเมินและวางแผนการคลอดได้


โดยปกติแล้วแพทย์จะกำหนดวันคลอดคร่าว ๆ ให้คุณแม่ได้รู้และเตรียมตัวก่อนล่วงหน้า แต่สำหรับคุณแม่บางคนก็อาจจะปวดท้องคลอดก่อนกำหนด การเตรียมพร้อมไว้ก่อน สามารถลดความฉุกละหุกได้

ดังนั้น หากมีการเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้าอย่างเรียบร้อย ก็จะสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ทันท่วงที โดยของเตรียมคลอด ที่ควรจัดเตรียมใส่กระเป๋าไว้ มีดังนี้

 

  • ผ้าอ้อม ผ้าสะอาดสำหรับการเช็ดทำความสะอาด

  • คาร์ซีทหรือเบาะนิรภัยสำหรับเด็ก ควรมีติดรถไว้เมื่อใกล้กำหนดคลอด

  • เสื้อผ้าสำหรับเด็กทารก เตรียมเผื่อหรือให้เพียงพอ

  • ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กทารก

  • ของใช้ทำความสะอาดร่างกายสำหรับเด็ก ได้แก่ ยาสระผมสำหรับเด็กแรกเกิด สบู่สำหรับเด็กแรกเกิด

  • สมุดบันทึกพัฒนาการของเด็ก

  • ผ้าห่อตัวเด็ก ควรเลือกเป็นผ้านุ่ม ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวเด็ก

  • ชุดสำหรับใส่กลับบ้าน

 

  • เอกสารสำคัญ เช่น บัตรประจำตัวผู้ป่วย ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน หรือเอกสารเกี่ยวกับประกันสุขภาพต่าง ๆ รวมถึงเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับใช้ในการแจ้งเกิด เอกสารหรือสมุดฝากครรภ์ ใบนัดแพทย์ บันทึกการตั้งครรภ์ ใบขับขี่ เอกสารเกี่ยวกับประกันสุขภาพหรือประกันสังคม

  • ชื่อสำหรับการแจ้งเกิดเด็ก

  • เสื้อผ้าตัวหลวม เพื่อให้รู้สึกสบายตัว และไม่รัดและเสียดสีบาดแผลจากการคลอด

  • เสื้อผ้าอย่างน้อยประมาณ 2-3 ชุด หรือเตรียมให้เพียงพอต่อการเปลี่ยน

  • ชุดชั้นในอย่างน้อยประมาณ 2-3 ชุด หรือเตรียมให้เพียงพอต่อการเปลี่ยน

  • บราสำหรับให้นม เพื่อช่วยให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้อย่างสะดวกมากขึ้น

  • แผ่นซับน้ำนม เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำนมส่วนเกินไหลออกมาเปื้อนเสื้อผ้า

  • ผ้าอนามัยหลังคลอด เพื่อซับเปลี่ยนน้ำคาวปลาหลังคลอด

  • ของใช้ทำความสะอาดร่างกาย ได้แก่ ครีมอาบน้ำหรือสบู่ ยาสระผม ครีมนวดผม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก

  • ของใช้ส่วนตัว ได้แก่ ครีมทาผิว ครีมทาหน้า โรลออนระงับกลิ่นกาย ลิปบาล์ม เครื่องสำอาง หวีผม ยางรัดผม

  • ของใช้อื่น ๆ ตามแต่ไลฟ์สไตล์ เช่น หูฟัง หนังสือ คอมพิวเตอร์แบบพกพา ไอแพด โทรศัพท์มือถือ สายชาร์จ กล้อง

  • ขนมหรืออาหารที่สามารถกินได้หลังคลอด และมีประโยชน์ในการสร้างน้ำนม

  • เงินสด หรือบัตรเครดิต

  • ยารักษาโรค หรือยาที่แพทย์แนะนำ

  • รองเท้าแตะสำหรับใส่ในบ้าน

  • ชุดสำหรับใส่กลับบ้าน

  • ขวดสำหรับใส่น้ำดื่ม หรือน้ำดื่ม


โดยทั่วไปแล้วคุณแม่และคุณพ่อสามารถเริ่มจัดเตรียมของสำหรับคลอดได้ตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ หรือเริ่มเตรียมไว้ได้ตั้งแต่เดือนที่ 8 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป เพื่อให้พร้อมสำหรับการคลอดที่ใกล้เข้ามาทุกที หรือเผื่อไว้สำหรับกรณีที่อาจมีการคลอดก่อนกำหนด


โดยทั่วไปแล้วการเตรียมของไปคลอดที่โรงพยาบาลรัฐ หรือโรงพยาบาลเอกชนนั้นแทบไม่มีความแตกต่างกัน เพราะเป็นของที่คุณแม่เตรียมไปเอง และพิจารณาถึงความสำคัญและความจำเป็นแล้วว่าจะต้องใช้

อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลบางแห่งอาจจะมีการเตรียมของจำเป็นสำหรับหลังคลอดไว้ให้แล้ว จึงควรตรวจสอบกับโรงพยาบาลที่จะไปคลอดให้เรียบร้อย เพราะหากมีบริการดังกล่าวให้ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกต่อคุณแม่และคุณพ่อได้อีกทางหนึ่ง


เอกสารถือเป็นอีกหนึ่งของสำคัญที่ไม่ควรลืม เพื่อให้การประสานงานหรือติดต่อต่าง ๆ สามารถเป็นไปได้อย่างราบรื่น โดยเอกสารสำคัญที่คุณพ่อและคุณแม่ควรเตรียมไว้ ได้แก่

  • บัตรประชาชนของคุณพ่อและคุณแม่

  • สำเนาทะเบียนบ้านของคุณพ่อและคุณแม่

  • ใบขับขี่ หรือบัตรประจำตัวผู้ขับขี่

  • ใบฝากครรภ์

  • ใบนัดแพทย์

  • บันทึกการตั้งครรภ์

  • เอกสารเกี่ยวกับประกันภัย หรือประกันสุขภาพ หรือเอกสารสำหรับยื่นเบิกจ่ายประกันสังคม

  • เอกสารสำหรับการแจ้งเกิด ได้แก่

  1. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดา

  2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งเกิด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

  3. หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร. 1/1) ออกโดยสถานพยาบาล

  4. เอกสารแจ้งเกิดเข้าทะเบียนบ้าน ใช้สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ที่ต้องการย้ายชื่อเด็กเข้า

  5. โดยการแจ้งเกิดนี้จะต้องทำภายใน 15 วัน หลังจากที่เด็กเกิด


โดยทั่วไปแล้วมักจะมีการเริ่มเตรียมของคลอดในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ หรือประมาณเดือนที่ 8 ของการตั้งครรภ์ แต่ถ้าหากคุณพ่อและคุณแม่ตื่นเต้นจนรอไม่ไหว หรือกลัวว่าถ้าไปเตรียมช่วงใกล้คลอดแล้วจะหลง ๆ ลืม ๆ อยากจะเริ่มเตรียมไว้ก่อนตั้งแต่เดือน 6-7 ก็สามารถทำได้

เพียงแต่ของบางอย่างอาจมีอายุการใช้งานที่สั้น จึงต้องหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอว่าของที่เตรียมไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้น ไม่มีการชำรุด หรือหมดอายุ หรือหากเริ่มเตรียมไว้แล้ว เมื่อใกล้กำหนดคลอดควรตรวจเช็กอีกครั้งว่ามีของครบหรือไม่ หรือของชิ้นใดที่จำเป็นต้องเปลี่ยนก็ควรเปลี่ยนให้เรียบร้อย

งบสำหรับการซื้อของเตรียมคลอดนั้น ไม่มีตายตัว และงบประมาณมักแปรผันตามสภาพเศรษฐกิจในขณะนั้น หากข้าวของแพง งบก็อาจจะต้องเพิ่มขึ้นตามอัตราราคาของสินค้าที่แพงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องเน้นซื้อของแพงเสมอไป เน้นซื้อของให้ครบตามความจำเป็นต่อการใช้งานถือว่าดีที่สุด



น้ำนมเหลืองสั่งซื้อสินค้าออนไลน์สมัครสมาชิกใหม่