ผ่าคลอดกี่ชั่วโมงเดินได้ พักฟื้นหลังผ่าคลอดใช้เวลานานไหม

     • ผ่าคลอดกี่ชั่วโมงถึงจะเดินได้
     • ผ่าคลอดกี่วันถึงจะเดินได้
     • ลุกจากเตียงหลังผ่าคลอดอย่างไร
     • หลังผ่าคลอดกี่วันถึงจะขับรถได้
     • ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด

การผ่าคลอดนั้นจะใช้ระยะเวลานานกว่าที่ร่างกายจะฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ แล้วอย่างนี้ระยะเวลาเร็วที่สุดที่แม่ผ่าคลอดกี่ชั่วโมงเดินได้ ต้องรอนานแค่ไหนถึงจะลุกขึ้นมาเดินได้ตามปกติ หลังผ่าคลอดต้องใช้เวลานานแค่ไหนร่างกายถึงจะฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์ บทความนี้จาก Enfa มีเฉลยมารออยู่แล้วค่ะ


หลังผ่าคลอด แม้ว่าคุณแม่จะยังมีอาการเจ็บที่แผลผ่าตัดอยู่ แต่ก็ควรพยายามเคลื่อนไหวร่างกายบ้าง โดยในช่วง 48 ชั่วโมงหลังคลอด อาการปวดจะค่อย ๆ ทุเลาลง คุณแม่ควรเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการลุกขึ้นยืน หรือเดินไปมาช้า ๆ เพื่อไม่ให้แผลผ่าตัดที่หน้าท้องตึงเกินไป

มากไปกว่านั้น คุณแม่เริ่มเคลื่อนไหวร่างกายได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะช่วยให้ร่างกายพ้อมที่จะฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้นค่ะ โดยคุณแม่อาจจะต้องใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 3-4 วัน หากไม่มีอาการแทรกซ้อนใด ๆ แพทย์ก็อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้

เสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กผ่าคลอดอย่างไร เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดีต้องมีครบ 3

คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การผ่าคลอด (C-Section) คือ การผ่าตัดโดยนำทารกออกมาผ่าทางหน้าท้อง จึงทำให้ทารกไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (Gut Microbiome) จากบริเวณช่องคลอดของแม่ ซึ่งทำให้เด็กผ่าคลอดอาจมีพัฒนาการภูมิคุ้มกันแรกเกิด และสุขภาพลำไส้ช้ากว่าเด็กที่คลอดแบบธรรมชาติ ส่งผลให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น

Cs-Biome หรือ Commensal Microbiome​

คือ ดีเอ็นเอของกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่รวมกัน เช่นบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่พบในน้ำนมแม่ มีส่วนช่วยทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง พัฒนาระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลูกขับถ่ายดี เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอกจากนี้ MFGM และ DHA ในนมแม่ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองในช่วงเริ่มต้นของชีวิต​

อยากรู้ว่าวันไหนฤกษ์ดีสำหรับการผ่าคลอด เราได้รวบรวมฤกษ์ผ่าคลอด 2567 ฤกษ์ดีปีมังกรทอง วันไหนดี วันไหนมงคล มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรี 2567 พยากรณ์โดย การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์พยากรณ์) มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรีได้ที่นี่


จริง ๆ แล้วช่วง 24-48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด คุณแม่ก็สามารถลุกขึ้นยืนและเดินไปมาช้า ๆ ได้แล้วค่ะ เพราะถ้าไม่ยอมเคลื่อนไหวร่างกายเลย อาจเสี่ยงที่แผลภายในจะกลายเป็นพังผืดได้ แต่ถ้าเริ่มเดินไหวแล้ว ก็ควรเดินช้า ๆ ไม่ต้องรีบเดิน และระวังอย่าออกแรงมากเกินไปเพราะอาจจะทำให้แผลตึงหรือเสี่ยงที่แผลจะปริได้


วิธีลุกออกจากเตียงที่ช่วยลดอาการเจ็บแผลผ่าคลอดได้ดีที่สุดก็คือ ให้คุณแม่ตะแคงตัวแล้วค่อย ๆ ใช้มือยันตัวและลุกขึ้นในท่าตะแคง เวลาจะกลับเข้าเตียงก็ควรกลับในท่าตะแคงด้วยเช่นกัน การตะแคงตัวจะช่วยลดการกระทบกระเทือนแผลผ่าตัดและลดอาการเจ็บแผลได้


หลังผ่าคลอดไป 4 สัปดาห์ คุณแม่สามารถที่จะเริ่มกลับมาขับรถได้ หรือควรรอให้หลังคลอดผ่านไปแล้ว 6 สัปดาห์เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่

อย่างไรก็ตาม ร่างกายของแม่แต่ละคนไม่เหมือนกัน คุณแม่บางคนอาจใช้เวลาพักฟื้นนานกว่านั้น ด้วยเหตุนี้ ถ้าจะให้ดีที่สุดควรเริ่มขับรถหลังจากที่แพทย์ตรวจดูแล้วพบว่าร่างกายของคุณแม่มีการฟื้นตัวสมบูรณ์แล้ว การนั่งขับรถนาน ๆ จะไม่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อหน้าท้องแต่อย่างใด


การดูแลตนเองหลังผ่าคลอด สามารถทำได้ดังนี้

          • ระมัดระวังเรื่องความสะอาดของแผลผ่าตัด อย่าให้เกิดการหมักหมมหรืออับชื้น

          • ช่วง 7 วันแรกหลังคลอด ระวังอย่าให้แผลผ่าตัดเปียกน้ำ เพราะเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อและอักเสบได้

          • ช่วง 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด พยายามเคลื่อนไหวร่างกาย ลุกขึ้นนั่ง ลุกขึ้นยืน ลุกขึ้นเดิน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายพร้อมสำหรับการฟื้นฟูตนเอง และลดความเสี่ยงของอาการตึงที่แผลด้วย

          • ช่วง 1 เดือนแรกหลังคลอด คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือการทำงานที่ต้องออกแรงมาก เพราะจะทำให้เกิดการเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง จะทำให้เกิดอาการเจ็บแผลได้

          • กิจกรรมหนักจำพวกยกของ หรือการทำงานที่ต้องออกแรงมาก ควรรอให้ผ่านหลังคลอดไปอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้เต็มที่ และแผลผ่าตัดแห้งสนิท

          • คุณแม่ที่ต้องการจะออกกำลังกายหลังผ่าคลอด ควรจะรอจนกระทั่งครบ 12 สัปดาห์ ร่างกายจึงจะเริ่มเข้าสู่สภาวะฟื้นตัวปกติ สามารถออกกำลังกายที่ใช้แรงได้มากขึ้น

          • หากคุณแม่ยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ ไม่ควรที่จะออกแรง ออกกำลังกายอย่างหนัก เพราะเสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายแย่ลงได้ หรือควรปรึกษากับแพทย์เพื่อประเมินร่างกายตนเองดูว่าพร้อมที่จะทำกิจกรรมตามปกติหรือยัง หากแพทย์วินิจฉัยว่าพร้อมแล้วจึงค่อยเริ่มทำ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณแม่เองค่ะ



น้ำนมเหลืองสั่งซื้อสินค้าออนไลน์สมัครสมาชิกใหม่