ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
คนท้องขึ้นเครื่องบินได้ไหม

คนท้องขึ้นเครื่องบินได้ไหม ท้องกี่เดือนห้ามขึ้นเครื่องบิน

Enfa สรุปให้

  • คนท้องขึ้นเครื่องบินได้ หากมีอายุครรภ์ไม่เกิน 36 สัปดาห์และมีสภาวะครรภ์ปกติ
  • คนท้องที่อายุครรภ์ไม่เกิน 28 สัปดาห์ สามารถเดินทางด้วยเครื่องบินได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบรับรองแพทย์ ส่วนคนท้องที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 36 สัปดาห์ สามารถขึ้นเครื่องบินได้หากมีใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าสภาวะครรภ์ปกติ หรือใบ Fit to Fly
  • แม้ครรภ์ของคุณแม่จะไม่มีอาการแทรกซ้อนที่น่าเป็นห่วง แต่ควรปรึกษาแพทย์ที่คุณแม่ฝากครรภ์ด้วยก่อนเดินทางทุกครั้ง เพื่อให้คุณหมอช่วยประเมินความเสี่ยง 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

    • คนท้องขึ้นเครื่องบินได้ไหม
    • ท้อง 2 เดือน ขึ้นเครื่องบินได้ไหม
    • ท้อง 8 เดือน ขึ้นเครื่องบินได้ไหม
    • คนท้องขึ้นเครื่องบินได้ถึงกี่เดือน
    • กรณีไหนที่คนท้องไม่ควรขึ้นเครื่องบิน
    • ใบรับรองแพทย์ ตั้งครรภ์ ขึ้นเครื่องบิน
    • คนท้องขึ้นเครื่อง ควรดูแลตัวเองอย่างไรดี

คนท้องขึ้นเครื่องบินได้ไหม? น่าจะเป็นคำถามคาใจคุณแม่ตั้งครรภ์หลายๆ คนที่ต้องเดินทางบ่อยในระหว่างตั้งครรภ์ มาดูกันค่ะว่าการขึ้นเครื่องบินปลอดภัยสำหรับคนท้องไหม และมีข้อปฏิบัติอะไรบ้าง

คนท้องขึ้นเครื่องบินได้ไหม

โดยปกติแล้ว คนท้องสามารถขึ้นเครื่องบินได้อย่างปลอดภัยเมื่ออายุครรภ์ไม่เกิน 36 สัปดาห์หากคนท้องไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ที่น่าเป็นกังวลค่ะ โดยช่วงเวลาที่คนท้องขึ้นเครื่องบินได้อย่างปลอดภัยที่สุด คือช่วงที่อายุครรภ์อยู่ในไตรมาสที่ 2 หรือช่วงอายุครรภ์14 สัปดาห์ - 28 สัปดาห์ เนื่องจากในไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ ความเสี่ยงในการแท้งบุตรและคลอดก่อนกำหนดน้อย อีกทั้งคุณแม่มักไม่มีอาการแพ้ท้องมากแบบที่พบในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์นั่นเองค่ะ

สายการบินมักอนุญาตให้คนท้องขึ้นเครื่องบินได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบรับรองแพทย์ กรณีที่คุณแม่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 28 สัปดาห์ โดยในตอนเช็คอิน สายการบินส่วนใหญ่จะให้คุณแม่ลงนามยินยอมในเอกสารจำกัดขอบเขตความรับผิดชอบของสายการบินค่ะ 

เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ขึ้นไป จะต้องแสดงใบรับรองแพทย์ก่อนเดินทางเพื่อยืนยันอายุครรภ์ว่าอยู่ในช่วงที่สามารถเดินทางได้ รวมถึงไม่มีปัญหาสุขภาพที่เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางด้วยเครื่องบิน โดยสายการบินมักปฏิเสธไม่ให้คนท้องที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 35-37 สัปดาห์เป็นต้นไปเดินทางด้วยเครื่องบิน หากเป็นครรภ์แฝด สายการบินอาจมีข้อกำหนดที่ต่างออกไป เช่น ครรภ์แฝดเกิน 32 สัปดาห์ อาจไม่สามารถขึ้นเครื่องบินบางสายการบินได้

นอกจากนี้ หากเที่ยวบินกินระยะเวลานานตั้งแต่ 4 ชั่วโมงขึ้นไป บางสายการบินอาจจะมีข้อกำหนดเพิ่มเติมว่าคุณแม่ที่จะบินในเที่ยวบินยาวๆ ได้ไม่ควรมีอายุครรภ์เกินกี่สัปดาห์ ซึ่งรายละเอียดในส่วนนี้อาจแตกต่างกันออกไปตามกฎระเบียบของแต่ละสายการบินค่ะ

ท้อง 2 เดือน ขึ้นเครื่องบินได้ไหม

ท้อง 1 เดือน ขึ้นเครื่องบินได้ไหม? ท้อง 2 เดือนขึ้นเครื่องบินได้ไหม? น่าจะเป็นคำถามของคุณแม่ตั้งครรภ์อ่อนๆ หลายคน จริงๆ แล้วคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรกสามารถเดินทางด้วยเครื่องบินได้โดยไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ค่ะ แต่คุณแม่ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนวางแผนการเดินทางทุกครั้ง เพื่อให้แพทย์ช่วยประเมินว่าสุขภาพคุณแม่และสุขภาพครรภ์มีความเสี่ยงในการขึ้นเครื่องบินหรือไม่ 

ท้อง 8 เดือน ขึ้นเครื่องบินได้ไหม

คุณแม่ท้อง 8 เดือนขึ้นเครื่องบินได้ค่ะ เพราะมีอายุครรภ์ระหว่าง 31-35 สัปดาห์ ยังไม่เกินกำหนด 36 สัปดาห์ที่สายการบินส่วนใหญ่กำหนดว่าห้ามบิน แต่คุณแม่จะต้องมีใบ Fit to Fly หรือใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าครรภ์ของคุณแม่มีสภาวะปกติและสามารถเดินทางด้วยเครื่องบินได้ค่ะ

คนท้องขึ้นเครื่องบินได้ถึงกี่เดือน

เมื่ออายุครรภ์ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป คนท้องไม่ควรขึ้นเครื่องบิน เนื่องจากโอกาสที่คุณแม่อาจจะเจ็บท้องคลอดหรือน้ำเดินก่อนกำหนดคลอดจะเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป สายการบินส่วนใหญ่จึงมักไม่อนุญาตให้ขึ้นเครื่องบินเมื่ออายุครรภ์เกิน 36 สัปดาห์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินต่อสุขภาพคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ค่ะ

กรณีไหนที่คนท้องไม่ควรขึ้นเครื่องบิน

กรณีที่คนท้องมีภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ที่อาจแย่ลงได้หากเดินทางด้วยเครื่องบิน หรือมีแนวโน้มต้องการการรักษาแบบฉุกเฉิน แพทย์มักแนะนำให้คนท้องหลีกเลี่ยงการขึ้นเครื่องบิน เช่น คุณแม่เคยมีประวัติแท้งหรือเลือดออกทางช่องคลอดมาก่อน มีภาวะโลหิตจางรุนแรง มีความดันโลหิตสูงหรือภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่ควบคุมได้ไม่ดี 

หากคุณแม่เคยมีภาวะครรภ์เป็นพิษมาก่อนในครรภ์ก่อนหน้า คุณหมอมักแนะนำให้งดกิจกรรมที่อาจเพิ่มความดันในโลหิต ซึ่งการเดินทางด้วยเครื่องบินก็มีโอกาสเพิ่มความดันในเลือดได้เช่นกัน นอกจากนี้ หากคุณแม่ตั้งครรภ์เสี่ยงสูง เช่น ครรภ์แฝด ก็มีความเป็นไปได้ที่คุณหมอจะแนะนำให้งดการเดินทางด้วยเครื่องบินค่ะ

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าครรภ์ของคุณแม่จะมีความเสี่ยงหรือไม่ ก่อนที่จะเดินทางด้วยเครื่องบินก็ควรปรึกษาคุณหมอสูติฯ ประจำตัวก่อนเพื่อความปลอดภัยก่อนเดินทางนะคะ 

ขอใบรับรองแพทย์อย่างไร เมื่อแม่ตั้งครรภ์ต้องขึ้นเครื่องบิน

ใบรับรองแพทย์สำหรับแม่ตั้งครรภ์ขึ้นเครื่องบิน หรือใบ Fit to Fly นั้น สามารถขอได้จากคุณหมอสูติฯ ที่คุณแม่ฝากครรภ์ด้วยได้เลยค่ะ โดยแจ้งให้แพทย์ทราบรายละเอียดการเดินทางและระยะเวลาของเที่ยวบินนั้นๆ ใบรับรองแพทย์ควรเป็นภาษาอังกฤษ และทางที่ดีควรมีอายุไม่เกิน 7 วันก่อนวันเดินทาง ซึ่งแต่ละสายการบินอาจจะมีข้อกำหนดเรื่องใบ Fit to Fly สำหรับคนท้องต่างกันออกไป บางสายการบินยอมรับใบรับรองแพทย์ที่มีออกไม่เกิน 30 วันก่อนวันเดินทาง บางสายการบินยอมรับใบรับรองแพทย์ที่ออกไม่เกิน 7 ก่อนวันเดินทาง ดังนั้นคุณแม่ควรตรวจสอบเงื่อนไขของแต่ละสายการบินก่อนการเดินทางให้ดีค่ะ

คนท้องขึ้นเครื่อง ควรดูแลตัวเองอย่างไร 

คนท้องขึ้นเครื่องบิน แค่คิดก็ไม่ค่อยสบายใจแล้วใช่มั้ยคะ ไหนจะความกังวลที่มีต่อสุขภาพลูกในครรภ์ ไหนจะความไม่สบายตัวต่างๆ เมื่อต้องอยู่ในพื้นที่จำกัด แต่เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ตั้งครรภ์และลูกน้อย มาทำตามคำแนะนำง่ายๆ จาก Enfa กันค่ะ

  • เตรียมเอกสารให้พร้อม และเตรียม Emergency Contact สำหรับกรณีฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นใบรับรองแพทย์ที่ระบุชื่อแพทย์ประจำตัว อายุครรภ์ และกำหนดคลอดของคุณแม่ บุคคลที่ติดต่อได้เมื่อมีครรภ์ของคุณแม่มีปัญหา สิ่งเหล่านี้จะมีประโยชน์มากค่ะหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินในต่างประเทศ
  • รัดเข็มขัดนิรภัยตลอดการเดินทาง โดยอาจจัดสายเข็มขัดโดยเว้นกึ่งกลางท้อง ป้องกันไม่ให้ครรภ์เกิดการกระทบกระเทือนเมื่อเครื่องบินตกหลุมอากาศ
  • เลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบายและอบอุ่น
  • จิบน้ำบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มและอาหารอื่นๆ ที่ทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายท้อง เช่น น้ำอัดลมหรือถั่ว
  • พยายามขยับตัวบ่อยๆ เพื่อลดโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งความเสี่ยงจะสูงขึ้นเมื่อคุณแม่ต้องบินในเที่ยวบินที่ยาวเกิน 4 ชั่วโมง ทางที่ดีคุณแม่ควรเลือกที่นั่งที่ติดกับทางเดิน ที่มีพื้นที่เพียงพอให้เหยียดขาและทำกายบริหารเบาๆ ได้

อนาคตที่ดีที่สุดของลูกน้อย เริ่มต้นด้วยโภชนาการผ่านคุณแม่

รู้ไหมคะว่า 1,000 วันแรกของลูกน้อยสำคัญอย่างมากต่ออนาคตของเค้า เพราะเป็นช่วงเวลาที่สมองของลูกเติบโตถึง 80% และ 1,000 วันแรกนี้ก็เริ่มตั้งแต่วันที่คุณแม่ตั้งครรภ์ชีวิตน้อยๆ ไปจนถึงวัย 2 ขวบของเค้านั่นเอง 

สมองของลูกเริ่มพัฒนาตั้งแต่ในระหว่างตั้งครรภ์ โภชนาการที่คณแม่ได้รับจะถูกส่งต่อไปยังตัวเล็กที่อยู่ในครรภ์ ซึ่งในระหว่างนี้ คุณแม่และทารกน้อยต้องการสารอาหารหลากหลายชนิดที่ช่วยให้สุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยสมบูรณ์ที่สุดตลอดการตั้งครรภ์ไปจนถึงหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็น

  • ดีเอชเอ (DHA) คือกรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 เป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง และจอประสาทตา โดย WHO แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ และแม่ให้นมบุตรรับประทาน DHA ในปริมาณ 200 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของสมองลูก
  • โคลีน (Choline) ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทส่วนกลาง และ Cognitive Function ของทารก โดยปริมาณที่แนะนำคือ 450 มิลลิกรัมต่อวัน 
  • โฟเลต (Folate) หรือกรดโฟลิก (Folic Acid) ช่วยป้องกันการสร้างหลอดประสาทไม่สมบูรณ์ซึ่งอาจทำให้ทารกพิการ และป้องกันภาวะซีดหรือโลหิตจางในคุณแม่ตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำคือ 0.6 มิลลิกรัมต่อวัน
  • แคลเซียม (Calcium) เพื่อการเจริญของระบบกระดูกของทารก โดยปริมาณแคลเซียมที่คนท้องควรได้รับคือ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เหล็ก (Iron) เพื่อการพัฒนาของตัวอ่อนและรก รวมถึงการเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดงของคุณแม่ โดยคุณแม่ควรได้รับธาตุเหล็กในระหว่างการตั้งครรภ์ในปริมาณ 15-30 มิลลิกรัมต่อวันเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง

และยังรวมถึงสารอาหารอื่นๆ อีกมากมายที่คุณแม่อาจจะไม่ได้รับประทานอย่างครบถ้วนจากมื้ออาหารปกติ การรับประทานนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์จึงเป็นทางเลือกที่ดีอย่างยิ่งในการเสริมสารอาหารให้กับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ และอย่าลืมเลือกนมที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ด้วยนะคะ

Enfamama TAP No. 1

อ้างอิง

บทความที่แนะนำ

ความดันโลหิตสูง-ต่ำของคนท้อง
back-pain-during-pregnancy
ข้อห้ามคนท้อง 1 3 เดือน
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner